การพังของเครื่องจักร ในปี 2567 เป็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลายแห่ง โดยเฉพาะในด้านการผลิต ความเสียหายจากการพังของเครื่องจักรไม่เพียงแต่ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงัก ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของโรงงานและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการพังของเครื่องจักรในปี 2567 สามารถแบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ได้ดังนี้:
การพังของเครื่องจักร ในอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่
- อัตราการพังของเครื่องจักร: 13%
เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ท้าทายและการทำงานหนัก เครื่องจักรในอุตสาหกรรมนี้จึงมีโอกาสพังสูง
อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี
- อัตราการพังของเครื่องจักร: 11%
เครื่องจักรในอุตสาหกรรมนี้มักเผชิญกับสารเคมีและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป
- อัตราการพังของเครื่องจักร: 10%
อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปมีอัตราการพังที่สูง เนื่องจากการใช้งานเครื่องจักรที่ต่อเนื่องและไม่มีการหยุดพักบำรุงรักษาอย่างเพียงพอ
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- อัตราการพังของเครื่องจักร: 9%
อุตสาหกรรมนี้มีความต้องการในการผลิตสูง ทำให้เครื่องจักรต้องทำงานต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมยานยนต์
- อัตราการพังของเครื่องจักร: 8%
อุตสาหกรรมยานยนต์มีการใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติที่ช่วยลดอัตราการพังลง แต่ยังมีปัญหาจากการตั้งค่าเครื่องจักรที่ไม่ถูกต้อง
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
- อัตราการพังของเครื่องจักร: 7%
อุตสาหกรรมนี้มักมีการบำรุงรักษาที่เข้มงวด ทำให้อัตราการพังของเครื่องจักรอยู่ในระดับน้อยกว่าในทุกๆอุตสาหกรรม
สาเหตุการพังของเครื่องจักรในปี 2567 คือ
การสึกหรอของชิ้นส่วน เพราะ การใช้งานเครื่องจักรเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมทำให้ชิ้นส่วนบางส่วนสึกหรอจนเครื่องจักรพัง รวมถึงโรงงานบางแห่งอาจละเลยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ทำให้เครื่องจักรมีโอกาสพังอย่างกะทันหันโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า
นอกจากนี้หากระบบไฟฟ้าผิดพลาดหรือการควบคุมเครื่องจักรที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การตั้งค่าความเร็วหรือแรงดันที่ไม่เหมาะสม ก็ทำให้เครื่องจักรทำงานผิดปกติและเกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามการใช้งานเครื่องจักรในอัตราที่เกินกว่าความสามารถที่เครื่องจักรถูกออกแบบมา ทำให้เครื่องจักรเสียหายได้เร็วขึ้น
สงสัยไหมคะว่าทำไม? การพังของเครื่องจักร ในอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่จึงพังมากที่สุด
การพังของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่มีอัตราสูงที่สุดเนื่องจากปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อความทนทานและประสิทธิภาพของเครื่องจักรในระยะยาว
โดยอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น อุณหภูมิที่สูง ความชื้น การกัดกร่อน และฝุ่นละออง ทำให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้การสึกหรอและพังเกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งเครื่องจักรในอุตสาหกรรมนี้ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องและหนักหน่วง เช่น การขุดเจาะ การขนส่งวัตถุดิบที่มีน้ำหนักมาก ส่งผลให้ชิ้นส่วนเครื่องจักรเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว
และยังมีการบำรุงรักษาที่ซับซ้อน ทำให้การเข้าถึงเครื่องจักรบางประเภทในเหมืองหรือพื้นที่ห่างไกลเป็นไปได้ยาก ทำให้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันไม่สามารถทำได้บ่อยนัก ส่งผลให้เครื่องจักรพังเนื่องจากขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้การขนส่งอะไหล่ไปยังพื้นที่ห่างไกลเป็นไปได้ยากและใช้เวลานาน ทำให้การซ่อมแซมเครื่องจักรล่าช้าและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ส่งผลให้เครื่องจักรเสี่ยงต่อการพังมากขึ้น ทำให้ชิ้นส่วนภายในเกิดความเสียหายและพังได้ง่าย
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมพลังงานและเหมืองแร่จึงมีแนวโน้มพังมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการใช้เทคโนโลยีเช่น CMMS จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการลดความเสี่ยงของการพังและยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
แนวทางป้องกัน การพังของเครื่องจักร
การพังของเครื่องจักรเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกอุตสาหกรรม ส่งผลให้กระบวนการผลิตหยุดชะงัก ต้นทุนการซ่อมแซมสูงขึ้น และอาจกระทบต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานในภาพรวม เพื่อป้องกันปัญหานี้ การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือการตรวจสอบและซ่อมแซมเครื่องจักรก่อนที่จะเกิดปัญหาหรือความเสียหายร้ายแรง ข้อดีของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือ:
- ลดความเสี่ยงที่เครื่องจักรจะพังอย่างกะทันหัน
- ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
- ลดต้นทุนการซ่อมแซมใหญ่ในระยะยาว
ควรมีการกำหนดรอบเวลาในการตรวจเช็คและบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างชัดเจน เช่น การตรวจสภาพการทำงานของเครื่องจักรทุก 3 เดือน หรือการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีโอกาสสึกหรอเมื่อครบกำหนด
2. การใช้ระบบการจัดการบำรุงรักษาด้วยระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ (CMMS) มาใช้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการเครื่องจักรเป็นระบบมากขึ้น โดย CMMS จะช่วยในการ:
- บันทึกข้อมูลการบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
- แจ้งเตือนเวลาที่ต้องบำรุงรักษาตามรอบ
- วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจจับแนวโน้มปัญหา
เช่น Factorium CMMS ที่สามารถช่วยลดข้อผิดพลาดในการบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเครื่องจักร และช่วยวางแผนงานซ่อมบำรุงได้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมการแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาต้อง PM เครื่องจักร
3. การตรวจสอบการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรสามารถช่วยในการตรวจจับความผิดปกติของชิ้นส่วนภายใน เช่น แบริ่งหรือมอเตอร์ หากพบการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ การแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการพังของเครื่องจักร
4. การฝึกอบรมพนักงาน การใช้งานเครื่องจักรที่ถูกต้องและการดูแลบำรุงรักษาเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญ การฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในการดูแลรักษาเครื่องจักรจะช่วยลดโอกาสที่เครื่องจักรจะพังได้อย่างมาก เช่น การสอนวิธีการตรวจเช็คสภาพเบื้องต้น การใช้งานเครื่องจักรอย่างเหมาะสม และการสังเกตสัญญาณเตือนที่แสดงถึงปัญหา
5.การใช้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพและถูกต้องตามมาตรฐาน เพราะ การเลือกใช้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานของผู้ผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันไม่ให้เครื่องจักรพัง ชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้เครื่องจักรทำงานผิดปกติหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร
6. การจัดการสต็อกอะไหล่สำรอง ควรมีการจัดการสต็อกอะไหล่สำรองสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน เมื่อมีการพังของเครื่องจักร พนักงานจะสามารถทำการเปลี่ยนอะไหล่ได้ทันที ลดเวลาหยุดการทำงานของเครื่องจักรและช่วยให้กระบวนการผลิตไม่สะดุด
ซึ่งใน Factorium CMMS ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ สามารถช่วยให้องค์กรของคุณสต็อกอะไหล่ได้อย่างมีคุณภาพ เพราะระบบสามารถตรวจสอบและติดตามสถานะอะไหล่ได้แบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนเมื่ออะไหล่ใกล้หมดสต็อก ลดโอกาสในการขาดแคลนอะไหล่ และช่วยวางแผนการสั่งซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้งานซ่อมบำรุงไม่สะดุด และเครื่องจักรทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
สรุปคือ.. การป้องกันไม่ให้เครื่องจักรพังเป็นสิ่งที่ต้องการการวางแผน การดูแลรักษา และการจัดการอย่างเป็นระบบ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การใช้ CMMS การฝึกอบรมพนักงาน และการจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นส่วนสำคัญที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการพังของเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปิดใจ ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์จาก Factorium CMMS
เพราะเราพัฒนาร่วมกับวิศวะกร 300+ บริษัทเพื่อช่วยแก้ไขปัญหางานซ่อมบำรุงได้ ”ครบ” ทุกอุตสาหกรรม จัดการงานซ่อมบำรุงได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้เรายังเราเป็น User Friendly เป็นมิตรกับทุกคน ใครก็ใช้ได้ แจ้งซ่อมจากมือถือจบใน 4 ขั้นตอน ”แจ้ง อุนมัติ แจก รับ”พร้อมแดชบอร์ดสรุปข้อมูล ที่ช่วยวางแผนงาน PM ได้เจ๋งขึ้น
โดยเรายังได้รับรับการันตีมาตรฐานจาก ISO 29110 อย่างเป็นทางการ ในการรับรองคุณภาพการบริหารงานหรือผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่การันตีได้ว่าคุณจะได้รับการบริการจากผู้พัฒนาที่มีความรู้ และมอบความสะดวกนการติดตามการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้อย่างเรียลไทม์
โดยคุณสามารถทดลองใช้งานระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ เพียงแค่กดค้นหา FACTORIUM CMMS ผ่านทาง IOS และ Android หรือกดที่ Link https://free.systemstone.com/?lang=th&event=FacebookPost&eventDetail=industrydown เพื่อใช้งานได้ทันทีเลยค่ะ
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw
Tiktok: https://www.tiktok.com/@factorium.tech?
Line Official: https://lin.ee/rQFGAKQ