Mizusumashi แมงมุมน้ำระบบลีนสำหรับโรงงาน

แอปซ่อมบำรุง CMMS

Mizusumashi ระบบลีน ในโรงงาน ระบบซ่อมบำรุงและระบบการผลิตนั้นมีความจำเป็นอย่างมากเพราะในสายงานนี้ค่อนข้างที่จะมีความซับซ้อนในเนื้องานเป็นอย่างมาก

ระบบลีน (Lean)ในโรงงานที่จำเป็นต้องมี

สำหรับภาคอุตสาหกรรม หรือโรงงานนั้น มีระบบการผลิตและระบบการซ่อมบำรุงที่ค่อนข้างซับซ้อนจึงจำเป็นที่จะต้องมีแนวคิด หรือ ระบบที่นำมาปรับใช้ในโรงงานของตนเองเพื่อให้ทำงานได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น ซึ่งถ้าหากโรงงานใช้ระบบที่ยุ่งยาก และมีการบริหารได้ไม่ดีพอก็อาจจะส่งผลเสียทำให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตซึ่งจะทำให้เสียเวลาและมีต้นทุนที่สูง ซึ่งทางโรงงานส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้ ระบบลีนในโรงงานของตนเอง วันนี้ทาง Factorium ของเราจะพาทุกท่านเหล่าคนโรงงานและทุกภาคอุตสาหกรรมการผลิต มารู้จักกับระบบ “Mizusumashi” ระบบลีนในโรงงาน ที่ทุกโรงงานควรมี

ภาพ Mizusumashi ระบบลีนในโรงงาน

Mizusumashi คืออะไร?

Mizusumashi แปลว่า แมงมุมน้ำ ในภาษาญี่ปุ่น (แมงกะพุ้งน้ำ) : Pond–Skaters Water Stiders โดยระบบนี้นั้นจัดอยู่ใน ระบบลีนที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการคิดค้นขึ้นมาโดย TOYOTA ในระบบนี้จะเป็นระบบลีนที่เข้ามาช่วย โรงงานให้มีการผลิตที่รวดเร็วขึ้นขจัดปัญหาด้านการใช้เวลาที่มากจนเกินความจำเป็น อยู่ในระบบการผลิตแบบระบบลีน หรือ ระบบ TPS (TOYOTA Production Systems) ที่ถือว่าทุกโรงงาน หรืออาจจะทุกภาคอุตาหกรรมการผลิตนั้นจะต้องนำระบบนี้เข้าไปใช้ในกระบวนการผลิต

ภาพ Mizusumashi ตามความหมายของโรงงาน

ทำไม”Mizusumashi” นี้จึงมาจากแมงมุมน้ำ

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมระบบลีน Mizusumashi นี้จึงเป็นแมงมุมน้ำแล้วระบบลีนนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับระบบลีนในโรงาน จากภาพจะเห็นได้ว่าลักษณะของแมงมุมน้ำนั้นสามารถเคลื่อนที่ระหว่างอากาศและบนผิวน้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายถึง คนที่สามารถทำงานได้ระหว่างผิวน้ำและอากาศ หากดูในโรงงานของเรา ก็มีหน่วยงานที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิต และกระบวนการจัดส่งที่สามารถไปได้ทุกตรอกซอกซอยได้อย่างรวดเร็ว จึงเรียกคนที่ทำงานส่วนนี้ว่า Mizusumashi นั่นเอง ซึ่งพนักกงานที่อยู่ในส่วนงาน Mizusumashi นี้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการผลิตและจัดส่ง โดยจะทำหน้าที่ในการเติมวัตถุดิบเข้าสายการผลิต โดยมีหลักการคือเจิมน้อยๆ บ่อยๆ ช่วยให้การผลิตมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว Mizusumashi อาศัยการเติมวัตถุดิบครั้งละน้อยๆ แต่ถี่ๆ ซึ่งจะช่วยให้การผลิตมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งมีองค์ประกอบ ทั้งหมด 3 ส่วน

มีองค์ประกอบของ Mizusumashi 3 ส่วน

1. Line-side packaging
2. Mizusumashi Device
3. Route and timetable

1.Line-side packaging หรือ กล่องที่ใช้หมุนเวียนในสายการผลิต
วัตถุดิบส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องใส่กล่องเพื่อความสะดวกในการจัดส่ง เนื่องจากจำเป็นต้องส่งด้วยความถี่สูงและปริมาณต่ำจึงไม่เหมาะที่จะใส่กล่องขนาดใหญ่เพราะจะทำให้ระดับสต็อกเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง

ภาพ ระบบลีน Mizusumashi องค์ประกอบที่ 1.Line-side packaging

ดังนั้น จึงควรใช้กล่องขนาดเล็กโดยกำหนดให้มีปริมาณต่อกล่องเท่ากับจำนวนสินค้าที่จะขายจริง จะได้ไม่เหลือเศษค้างในกล่อง และสามารถส่งกล่องเปล่ากลับไปยังกระบวนการก่อนหน้าได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลารอ

2. Mizusumashi Device
เครื่องมือของMizusumashi ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่รถ forklift มันคือรถลากที่สามารถพ่วงต่อและลากรถเข็นที่เต็มไปด้วยกล่องขนาดเล็ก คล้ายๆ กับรถไฟที่มีการพ่วงต่อหลายๆ ตู้เข้าด้วยกัน

ภาพ ระบบลีน Mizusumashi องค์ประกอบที่ 2. Mizusumashi Device

โดยสาเหตุที่ไม่ใช้รถ forklift เพราะรถ Forklift ทำหน้าที่คล้ายกับรถแท็กซี่ที่ไปได้แค่ทีละกลุ่ม ต่างจากรถลากที่เหมือนรถไฟที่สามารถรวมกันไปได้ หมายถึงรวมกันหลายชิ้นส่วน หลาย part no และนอกจากนั้นการใช้รถ Forklift ยังจำเป็นต้องขนส่งในปริมาณมาก ๆ จึงไม่เหมาะกับการผลิตในรูปแบบลีนที่เน้นการส่งแบบน้อยๆ แต่ถี่ๆ

และสุดท้ายคือ
3. Route and timetable เส้นทางและตารางเวลา
สร้างเส้นทางสำหรับ Mizusumashi โดยเริ่มจากการเติมวัตถุดิบเข้าสายการผลิต และเอากล่องเปล่ากลับมา ซึ่งควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีกล่องสองกล่องตาม 2 Box Principle หรือไม่

ภาพ ระบบลีน Mizusumashi องค์ประกอบที่ 3. Route and timetable

เพื่อป้องกันไม่ให้สายการผลิตหยุด นอกจากนั้น ต้องดูด้วยว่าเส้นทางของเรามีแค่เพียงวงรอบเดียวหรือไม่ หากมีมากกว่านั้นจำเป็นต้องทำเป็นตารางเวลาคล้ายกับตารางเวลาเดินรถของรถไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้สายการผลิตหยุด

จุดประสงค์ของระบบลีนแมงมุมน้ำ Mizusumashi คือการจัดการงานเติมสินค้า หรือ การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อให้บุคลากรฝ่ายผลิตสามารถมุ่งเน้นไปที่งานที่เพิ่มมูลค่าซึ่งสร้างผลิตภัณฑ์ สิ่งที่ลำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตนั้นคือการบริหารสต็อก ให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในกระบวนการผลิตนั้นถ้าวัตถุดิบมีไม่เพียงพอก็จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในการผลิตสินค้า

Fatorium CMMS ผู้ช่วยโรงงานในระบบลีน

ภาพ แอปพลิเคชั่นซ่อมบำรุง Factorium CMMS

แอปพลิเคชันซ่อมบำรุงในโรงงาน Factorium CMMS ซึ่งแอปพลิเคชันซ่อมบำรุงนี้สามารถนำมาปรับใช้ในระบบลีนได้ในโรงงาน ซึ่งทางแอปพลิเคชันของเรามีฟังก์ชั่นที่ครอบคลุมสำหรับงานซ่อมบำรุง ที่เอื้ออำนวยงานซ่อมบำรุงในโรงงาน และภาคอุตสาหกรรม ยกตัวอย่าง เช่น ฟังก์ชั่นสำหรับการตรวจเชคสต็อกอะไหล่ ที่ทำให้เรารู้ว่าในคลังสต็อกของโรงงานนั้นเหลืออยู่ที่เท่าไหร่เพื่อให้ทางโรงงานวางแผนการจัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดความสูญเปล่าทางด้านระยะเวลา และนอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นอีกมากมายที่เกี่ยวกับงานซ่อมบำรุงในโรงงานและภาคอุตสาหกรรมหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ CMMS ที่ทาง Factorium ในงานซ่อมบำรุงสามารถติดต่อสอบถามและดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นเพื่อทดลองใช้ฟรีไม่มีข้อจำกัดได้เลย แล้วพบกันใหม่ในบทความถัดไปนะครับ

สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ได้เลย

Factorium CMMS Application ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงของคนรุ่นใหม่

คลิก!เพื่อทดลองใช้งานฟรี 3 เดือน

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw