แท้จริงแล้ว….. สีหมวกเซฟตี้ แต่ละสีบอกอะไรกันแน่ ?

แอป จป.

สีหมวกเซฟตี้ ในโรงงานอุตสาหกรรม

ภาพ สีหมวกเซฟตี้

หมวกเซฟตี้ ในโรงงาน

หมวกนิรภัย หรือ หมวกเซฟตี้(Safety Helmet) คืออะไร? ในโรงงานนั้นอาจจะเห็นกันมากมาย ซึ่งหมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล สำหรับสวมใส่ศีรษะ ช่วยปกป้องศีรษะจากการกระแทกพื้นจากการลื่นล้ม หรือป้องกันวัตถุจากที่สูงตกลงมากระทบศีรษะ คุณสมบัติพิเศษของหมวกนิรภัย คือ มีความหนาแน่น ทนทานต่อการกระแทก การเจาะทะลุ และกันไฟฟ้า ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้ เหมาะสำหรับพนักงานที่ทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงอันตรายจากสิ่งของหรือวัสดุต่าง ๆ ที่จะตกใส่ศีรษะ เช่น งานขนย้าย และติดตั้ง, งานก่อสร้าง และงานไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องมีการสวมใส่หมวกนิรภัยขณะปฎิบัติงานทุกครั้ง เพื่อป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แม้กระทั่งการจัดสรรผู้รับเหมาเข้ามาทำงานก็ต้องทำอย่างเป็นระบบและเตรียมพร้อมช่นกัน เดิมนั้นทำได้ค่อนข้างยาก และมีความล่าช้าอยู่พอสมควร แต่ปัจจุบัน FACTORIUM ได้คิดค้นและพัฒนา “ระบบจัดการผู้รับเหมา” ระบบที่จะช่วยให้ผู้ว่าจ้างสามารถบริหารงานได้อย่างเป็นระบบ 

ไม่ว่าจะมีงานที่ต้องดูแลผู้รับเหมามากแค่ไหนก็สามารถจัดการได้ง่าย ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกผู้รับเหมาและการอบรมเข้าพื้นที่ การสร้างใบอนุญาตเข้าทำงาน (Work Permit) การอนุมัติงานจากผู้ว่าจ้าง (Owner) การคัดกรองเข้าทำงาน ณ จุดตรวจ รปภ. จนถึงการประเมินผู้เหมาในทุกช่วงระหว่างทำงาน

ซึ่งระบบจัดการผู้รับเหมาก็ยังมีระบบสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย หรือ BBS ระบบที่จะช่วยองค์กรสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย และเพิ่มแนวทางในการลดการบาดเจ็บ ลดความเสี่ยง สร้างวัฒนธรรมเชิงรุกในการป้องกันอุบัติเหตุ 

และสร้างค่านิยมของบุคคล ทัศนคติ ความเชื่อ ด้านความปลอดภัย เพื่อลดการสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อันเป็นประโยชน์ต่อองค์กรให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างราบรื่น ไม่เกิดปัญหาความผิดพลาดในพื้นที่

ส่วนประกอบของหมวกนิรภัย

หมวกนิรภัยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำคัญ ดังนี้

  1. เปลือกหมวก ทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทำจากพลาสติก ไฟเบอร์กลาส หรืออะลูมิเนียม สามารถป้องกันการกระแทก จากทุกทิศทางในบริเวณศีรษะ สามารถปรับให้พอดีกับขนาดศรีษะได้
  2. รองในหมวก เป็นส่วนที่ทำให้หมวก กระจายแรงกระแทกออกไปโดยรอบหมวก
  3. สายคาดศีรษะ มีคุณสมบัติเหนียวนิ่ม ช่วยเพิ่มความกระชับขณะสวมใส่ สามารถปรับได้ตามขนาดศีรษะ
  4. สายรัดคาง สามารถปรับระดับได้ ช่วยป้องกันไม่ให้หมวกหล่น ขณะสวมใส่ หรือขณะก้มปฎิบัติงาน
  5. แถบซับเหงื่อ สามารถดูดซับเหงื่อ เพื่อป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตาขณะปฏิบัติงาน

ประเภทงานที่ต้องใช้หมวกนิรภัย

  1. หมวกนิรภัยสำหรับการใช้งานทั่วไป ทำด้วยวัสดุพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส นิยมนำมาใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานติดตั้งท่อ พนักงานขนส่งสินค้า
  2. หมวกนิรภัยสำหรับใช้กันไฟฟ้าแรงสูง ทำด้วยวัสดุพลาสติก และไฟเบอร์กลาส เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า เช่น งานช่างไฟฟ้า ช่างเดินสายไฟ
  3. หมวกนิรภัยสำหรับงานที่ต้องทำในบริเวณที่มีความร้อน ทำด้วยวัสดุจากโลหะ ไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ เหมาะสำหรับงานขุดเจาะน้ำมัน หรือช่างเชื่อม
  4. หมวกนิรภัยที่สามารถทนความร้อนสูง ทำด้วยวัสดุพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส มีคุณสมบัติพิเศษสามารถทนไฟ ต้านทานการลุกไหม้ เหมาะใช้งานดับเพลิง และงานเหมือง

ถึงแม้เราจะมีระบบเซฟตี้ หรือระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีแล้วนั่นยังไม่เพียงพอค่ะ ยังต้องมีการจัดการระบบผู้รับเหมาให้ดีขึ้น เป็นระบบขึ้นยิ่งขึ้นด้วย “ระบบจัดการผู้รับเหมา” จาก FACTORIUM ที่จะช่วยอำนวยทุกความสะดวกให้กับผู้รับเหมาได้ทำงานง่ายขึ้นในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกผู้รับเหมาและการอบรมเข้าพื้นที่ การสร้างใบอนุญาตเข้าทำงาน (Work Permit) จนถึงการประเมินผู้เหมาในทุกช่วงระหว่างทำงาน 

ที่จะช่วยคุณบันทึกลงระบบออนไลน์ หมดปัญหาเรื่องกระดาษหาย รวมถึงการใช้กระดาษในแต่ละวันที่อาจใช้งานเป็นจำนวนมาก เสียทั้งเวลา เสียทั้งทรัพยากร แต่ “ระบบจัดการผู้รับเหมา” เอาอยู่ทุกงาน ลดกระดาษเสีย ลดงานหาย และลดเวลาในการทำงานของ จป. ให้ง่ายขึ้น

การดูแลรักษาหมวกนิรภัย

  1. หลังการใช้งานควรทำความสะอาดทั้งตัวหมวก และอุปกรณ์ โดยใช้น้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรือทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณแถบซับเหงื่อ
  2. เก็บหมวกนิรภัยในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่วางไว้กลางแดด หรือที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้วัสดุพลาสติกเสื่อมสภาพเร็ว และทำให้หมวกขาดความแข็งแรง
  3. ไม่ควรนำหมวกนิรภัยที่มีรอยแตกร้าวมาใช้งาน เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันลดลง
  4. ไม่โยนหมวกนิรภัยจากที่สูง เพราะอาจทำให้ตกกระแทกพื้น และหมวกแตกได้
  5. ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารละลายทำความสะอาดหมวกนิรภัย เพราะจะทำให้วัสดุภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

การเลือกใช้หมวกนิรภัย

วิธีการเลือกใช้อุปกรณ์หมวกนิรภัย ควรพิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้

  1. เลือกใช้หมวกนิรภัยให้เหมาะกับลักษณะงาน
  2. หมวกนิรภัยต้องได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่น่าเชื่อถือ
  3. เลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดพอดีกับผู้สวมใส่ และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติงาน
  4. หมวกนิรภัยต้องมีสีสันที่เด่นชัด มีน้ำหนักเบา หาซื้อได้ง่ายในราคาที่เหมาะสม
  5. วิธีการใช้งานหมวกนิรภัยต้องง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
  6. ควรมีการเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ หากมีรอยร้าวจากการได้รับการกระแทกมาแล้ว หรือการสัมผัสกับอากาศที่เป็นพิษ

สีหมวกเซฟตี้ แต่ละสีมีความหมายอะไรบ้าง?

หมวกเซฟตี้มีสีสันมากมายหลากหลายเต็มไปหมด แต่ละสีมีความหมายยังไงบ้าง ผลิตขึ้นมาแค่ความสวยงามอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วสีสันของหมวกนิรภัยที่แตกต่างกันออกไป สามารถบอกถึงตำแหน่ง หน้าที่ ดังนี้

เช่นเดียวกับ “ระบบจัดการผู้รับเหมา” ที่ช่วยจัดสรร และจำแนกความสำคัญของงานตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น ทั้งการคัดเลือกผู้รับเหมา การอบรมเข้าพื้นที่ ที่ไม่ต้องใช้เวลานานอีกต่อไป แต่สามารถสอบและรับผลออนไลน์ได้ทันที สะดวกต่อผู้รับเหมา และผู้ว่าจ้าง โดยการคัดกรองเข้าทำงาน ณ จุดตรวจรปภ. ก็ทำได้อย่างรวดเร็วไม่คอยคิวหรือต่อแถวยาวๆอีกต่อไป

ทั้งนี้ความรู้เรื่องสีหมวกที่ถูกต้องของพนักงาน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ หากเกิดพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย สามารถใช้ระบบสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย หรือ BBS ช่วยลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานได้ด้วย

ภาพ สีหมวกเซฟตี้

สีขาว
เป็นสีที่ใช้สำหรับ หัวหน้างาน วิศวกร ผู้บริหาร ซึ่งในสีนี้เป็นสีหมวกสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งในการทำงานค่อนข้างสูง หรือในบางโรงงานนั้น อาจจะนิยมใช้สำหรับผู้เยี่ยมชม (Visitor) ที่เข้ามาเยี่ยมชมในโรงงานนั่นเอง ซึ่งในส่วนของผู้เยี่ยมชมนั้นก็จะมีสติ๊กเกอร์แปะไว้ว่า “Visitor”

สีเหลือง

เป็นสีที่ใช้สำหรับพนักงานระดับปฏิบัติการ หรือ พนักงานทั่วไป ที่จะพบบ่อยคือ พนักงานธุรการ(เสมียน) ก็จะเป็นการทำงานที่ต้องใช้การประสานงานเป็นหลักสีก็จะมีความโดดเด่นส่วนใหญ่จึงมักจะเลือกใช้สีเหลืองสำหรับผู้ปฏบัติงานทางด้านนี้

สีน้ำเงิน

เป็นสีที่ใช้สำหรับ ช่างไฟฟ้า ช่างไม้ หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่นๆ

สีแดง

เป็นสีที่ใช้สำหรับพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความร้อน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานดับเพลิง ช่างเชื่อม หรือบุคคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความร้อน ประกายไฟต่างๆ

ภาพ สีหมวกเซฟตี้

สีเขียว

สีนี้เป็นสีที่ทางจิตวิทยาและคนส่วนใหญ่นั้นให้ความรู้สึกถึงความปลอดภัยดังนั้นสีหมวกเซฟตี้ที่เป็นสีเขียวนี้จึงเปรียบได้กับบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านของความปลอดกัย นั่นก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป.

สีน้ำตาล

สีหมวกเซฟตี้สีน้ำตาล ซึ่งในบางโรงงานอาจจะไม่ได้ใช่สีนี้ซึ่งสีหมวกที่เป็นสีนี้นั้นบางโรงงานก็อาจจะใช้สำหรับช่างเชื่อมหรืองานที่เกี่ยวกับความร้อน

สีเทา

สีหมวกเซฟตี้สีเทา จะสังเกตได้ว่าเป็นสีที่แตกต่างจากหมวกเซฟตี้อื่นๆที่เป็นสีสัน ซึ่งสีนี้ในบางโรงงานมักจะนิยมใช้สำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชมโรงงานเท่านั้นเพื่อให้มีความแตกต่างจากสีหมวกของผู้บริหารนั่นเอง

ภาคอุตสาหกรรมถ้าหากขาดระบบบริหารงานซ่อมบำรุงอาคาร ที่มีประสิทธิภาพไปก็จะทำให้ การดำเนินการรักษานั้นหยุดชะงักลง และสิ่งที่ตามต่อมาเชื่อได้ว่าผลกระทบนั้นจะแผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง ดังนั้นการมีระบบซ่อมบำรุงอาคารที่ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่จะมาช่วยให้ลดภาระงานส่งผลทำให้องค์กรสามารถมีเวลาที่จะบริหารงานส่วนอื่น  ๆ ซึ่งการมีเวลาในการบริหารส่วนอื่น ๆ เพิ่มนี้ก็จะสามารถทำให้องค์กรมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น เพราะงานในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีหลายส่วนที่อาจจะใช้เวลาในการบริหารที่นาน จะดีกว่าหรือไม่ถ้ามีสิ่งที่เข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นประหยัดเวลา และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

คลิก!เพื่อทดลองใช้งานฟรี 3 เดือน

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw