การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โลกและเศรษฐกิจที่ผันผวนมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมาย โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรม ปี 2567 และสภาอุตสาหกรรมภาค 5 ภาค เพื่อนำเสนอมุมมองแนวโน้มอุตสาหกรรรมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
ผลการประเมินแนวโน้มจาก 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 5 ภูมิภาค ในปี 2567 พบว่าแนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นมีทั้งหมด 22 กลุ่มอุตสาหกรรม, กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะทรงตัวมีทั้งหมด 11 กลุ่มอุตสาหกรรม, และกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะหดตัวลงมีทั้งหมด 13 กลุ่มอุตสาหกรรม
ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา และแนวโน้มอุตสาหกรรม 5 ภูมิภาค โดยอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกคาดว่าจะขยายตัวได้ ส่วนอุตสาหกรรมในภูมิภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คาดว่าจะทรงตัว ในขณะที่อุตสาหกรรมในภูมิภาคกลางคาดว่าจะหดตัวลง ซึ่งอุตสาหกรรมในแต่ภูมิภาคยังมีทิศทางที่ทรงตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
แนวโน้มกลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2567 ที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น
- กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทําความเย็น
- กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสําอาง
- กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์
- กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล
- กลุ่มอุตสาหกรรมต่อเรือซ่อมเรือและก่อสร้างงานเหล็ก
- กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
- กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์
- กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า
- กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
- กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก
- กลุ่มอุตสาหกรรมยา
- กลุ่มอุตสาหกรรมยาง
- กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
- กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ
- กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า
- กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- กลุ่มอุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้
- กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
- กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
โดยมีอีก 13 กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะหดตัวลงในปี 2567 คือ
- กลุ่มอุตสาหกรรมก๊าซ
- กลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจก
- กลุ่มอุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน
- กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก
- กลุ่มอุตสาหกรรมน้ําตาล
- กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร
- กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- กลุ่มอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง
- กลุ่มอุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์
- กลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์
ปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะส่งเสริมอุตสาหกรรม
ได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว หากไทยสามารถบรรลุความตกลงการค้า FTA ได้ภายในปี 2567 เช่น ไทย-ศรีลังกา, ไทย-EFTA และไทย-UAE รวมถึงการเร่งเจรจา FTA ไทย-EU และไทย-GCC ให้สําเร็จโดยเร็วจะช่วยเพิ่มแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างมาก
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม คือ
ทิศทางค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาหนี้ของ EGAT, ปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-กลุ่มฮามาส ยืดเยื้อ กระทบต่อราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น, ต้นทุนทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดการ ปล่อยสินเชื่อ, ได้รับผลกระทบจากสินค้าที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาตีตลาดลูกค้าในกลุ่มอาเซียน กระทบต่อ การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
แนวโน้มอุตสาหกรรมใน 5 ภูมิภาคในปี 2567
นอกจากนี้ ส.อ.ท. ยังประเมินแนวโน้มอุตสาหกรรมใน 5 ภูมิภาคในปี 2567 โดยอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกคาดว่าจะขยายตัวได้ ส่วนอุตสาหกรรมในภูมิภาคเหนือ , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, และภาคใต้จะทรงตัว ในขณะที่อุตสาหกรรมในภูมิภาคกลางจะหดตัวลง ซึ่งอุตสาหกรรมในแต่ภูมิภาคส่วนใหญ่ยังมีทิศทางที่ทรงตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
- แนวโน้มอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 เนื่องจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และผลจากการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของภาครัฐ
- แนวโน้มอุตสาหกรรมในภูมิภาคเหนือในปี 2567 คาดว่าจะทรงตัวประมาณร้อยละ 0.5 – 1 เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวตามมาตรการวีซ่าฟรีให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ
- แนวโน้มอุตสาหกรรมในภูมิภาคใต้ในปี 2567 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากแนวโน้มการค้าชายแดนยัง มีโอกาสเติบโตจากฐานต่ําในปีที่ผ่านมา
- แนวโน้มอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2567 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจาก แนวโน้มการค้าชายแดนยังมีโอกาสเติบโตจากฐานต่ําในปีที่ผ่านมา
- แนวโน้มอุตสาหกรรมในภูมิภาคกลางในปี 2567 คาดว่าจะหดตัวประมาณร้อยละ -10 (YoY) เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศอาจชะลอตัวจากปัญหาค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนจากทั้งปัญหาความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) สงครามในรัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-กลุ่มฮามาส รวมถึง สถานการณ์การเมือง โลก โดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐฯ, ไต้หวัน, และรัสเซีย ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้
อีกทั้ง สงคราม การค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ยังยืดเยื้อและอาจรุนแรงขึ้น และยังมีผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งทําให้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยธรรมชาติมากขึ้น ผลผลิตทางการเกษตรอาจลดลง ความมั่นคงทางอาหารอาจมีความสําคัญมากขึ้น และโอกาสเกิดเชื้อโรคใหม่ๆ ที่แพร่ระบาดได้ทั้งพืชและ สิ่งมีชีวิต ความท้าทายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยยังต้องติดตามและจับตามองอย่างใกล้ชิด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ฝ่ายเศรษฐกิจและวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ซึ่งจากการเติบโตและหดตัวของอุตสาหกรรมในประเทศไทยนี้เอง FACTORIUM CMMS จึงมีความเต็มใจอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกลระดับโลก ปรับเปลี่ยนการทำงานที่แสนยาก ให้เป็นการทำได้ง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ที่ไม่ว่าคุณจะอยู่มุมไหนของโลกก็สามารถเรียกดูข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Dashboard ได้อย่าง Real time นอกจากนี้เรายังมีความคาดตั้งใจจริงที่จะช่วย “เปลี่ยน” ให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ยุค 4.0 ได้อย่างแท้จริง