คู่มือการจัดเก็บ “สารเคมี” ให้ปลอดภัย

สารเคมีอันตรายแต่ละชนิดถูกรวบรวมมาเป็นคู่มือสารเคมี” ที่หมายถึง สารเคมีที่อาจก่ออันตรายต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม  โดยทั่วไปสารเคมีเหล่านี้จะถูกจัดประเภทตามอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง ทรัพย์สิน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำสารเคมีอันตรายมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวนหลากหลายชนิด หากการใช้งานและเก็บรักษาสารเคมีอันตรายไม่ได้มาตรฐานที่เหมาะสม อาจจะก่อให้เกิดอันตรายและผลกระทบตามมาได้

กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายให้มีสภาพและคุณลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ยังมีกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องฉบับอื่น ๆ ที่มีการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติในการเก็บรักษาสารเคมีอันตรายเพื่อความปลอดภัยไว้ด้วย

“สารเดี่ยว (Substance)” หมายความว่า ธาตุหรือสารประกอบที่มีอยู่ในสถานะธรรมชาติ หรือเกิดจากกระบวนการผลิตต่างๆ ทั้งนี้ รวมถึงสารเติมแต่งที่จำเป็นในการรักษาความเสถียรของสารเดี่ยวหรือสารเจือปนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แต่ไม่รวมถึงสารตัวทำละลายที่สามารถแยกออกมาจากสารเดี่ยวได้ โดยไม่มีผลต่อความเสถียรของสารเดี่ยว หรือไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสารเดี่ยว

สารผสม (Mixture)” หมายความว่า สารผสมหรือสารละลายที่ประกอบด้วยสารเดี่ยว สองชนิดหรือมากกว่าที่ไม่ทำปฏิกิริยากัน

การจัดเก็บ หมายความว่า การจัดเก็บสารเคมีอันตรายแต่ไม่หมายความรวมถึงการเก็บเตรียมเพื่อใช้งานในการประกอบกิจการโรงงาน

การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร หมายความว่า การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคารโรงงานที่จัดไว้เพื่อจัดเก็บสารเคมีอันตรายเป็นการเฉพาะ หรือการจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคารโรงงานที่จัดเก็บในห้องจัดเก็บสารเคมีอันตราย โดยอ้างอิงจากกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 

สารไวไฟ
(Flammable Chemical)

ภาพที่ 1 : การจัดเก็บ สารเคมี ไวไฟ

      ปกติการลุกไหม้เกิดขึ้นระหว่างออกซิเจนและเชื้อเพลิงในรูปที่เป็นไอ หรือละอองเล็กๆ ดังนั้น สารที่ระเหยได้ง่ายมีความดันไอสูงจะติดไฟได้ง่าย ละอองหรือฝุ่นของ สารเคมี ที่ไวไฟก็สามารถลุกติดไฟได้ง่ายพอๆ กับสารที่เป็นก๊าซหรือไอ สารที่ลุกติดไฟได้ง่ายในสภาพอุณหภูมิและความดันปกติ จะถือว่าเป็นสารไวไฟ ตัวอย่างของสารเหล่านี้ ได้แก่ ผงละเอียดของโลหะไฮโดรของโบรอน ฟอสฟอรัส ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 30 องศา  และก๊าซไวไฟต่างๆ

1. การเก็บในที่เย็นอากาศถ่ายเทได้ และอยู่ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ เช่น ความร้อน ประกายไฟหรือเปลวไฟ

2. เก็บไว้ในภาชนะที่ปลอดภัย หรือตู้เก็บสารไวไฟซึ่งตรวจสอบดูแล้วว่าปลอดภัย ภาชนะที่เก็บต้องมีฝาปิดแน่นไม่ให้อากาศเข้าได้

3. เก็บแยกจากสารพวก oxidizers สารที่ลุกติดไฟเองได้ สารที่ระเบิดได้และสารที่ทำปฏิกิริยากับอากาศหรือความชื้นและให้ความร้อนออกมาเป็นจำนวนมาก

4. มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามจุดไม้ขีดไฟ

5. พื้นที่นั้นควรต่อสายไฟลงในดินเพื่อลดไฟฟ้าสถิตย์ที่อาจเกิดขึ้นได้

สารระเบิดได้
(Explosive Chemicals)

ภาพที่ 2 : การจัดเก็บ สารเคมี ระเบิดได้

คือ สารซึ่งที่อุณหภูมิหนึ่งๆจะเกิดการ decompose อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนหรือเกิดปฏิกิริยารุนแรง จะให้ก๊าซออกมาจำนวนมาก รวมทั้งความร้อนด้วย ซึ่งทำให้อากาศรอบๆ ตัวเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้เกิดการระเบิดขึ้นได้สิ่งที่มีผลต่อสารที่ระเบิดได้ คือ ความร้อนหรือเย็นจัดๆ อากาศแห้ง หรือขึ้นในการเก็บ ความไม่ระมัดระวังในการ handle ระยะเวลาในการเก็บ ระยะเวลาที่เอาออกมาจากภาชนะเริ่มแรกก่อนใช้

สารเป็นพิษ
(Toxic Chemicals)

ภาพที่ 3 : การจัดเก็บ สารเคมีเป็นพิษ

สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสีด้วย วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ

1. ภาชนะที่ใช้จัดเก็บสารเคมีประเภทนี้ ควรเป็นภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด อากาศเข้าไปไม่ได้ และตั้งให้ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ

2. ควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งภาชนะที่บรรจุสารเคมี และบริเวณโดยรอบ

3. สำหรับสารที่ไวต่อแสง ควรเก็บในบรรจุภัณฑ์สีชา ในพื้นที่แห้ง เย็น และมืด

สารกัดกร่อน
(Corroslve Chemicals)

ภาพที่ 4 : การจัดเก็บสารกัดกร่อน

   สารกัดกร่อนจะรวมถึง กรด acid anhydride และ ด่าง สารพวกนี้มักจะทำลายภาชนะที่บรรจุและออกมายังบรรยากาศภายนอกได้ บางตัวระเหยได้บางตัวทำปฏิกิริยารุนแรงกับความชื้น

1. เก็บในที่เย็น แต่ต้องสูงกว่าจุดเยือกแข็ง

2. ต้องใช้ถุงมือ สวมแว่นตา ฯลฯ เมื่อใช้สารพวกนี้

3. ต้องเก็บกรดแยกห่างจากโลหะที่ไวในการทำปฏิกิริยา เช่น sodium, potassium และ magnesium เป็นต้น

4. ด่างต้องแยกเก็บจากกรดและสารอื่นๆ ที่ไวต่อการทำปฏิกิริยา

สารที่เข้ากันไม่ได้
(Incompatible Chemicals)

ภาพที่ 5 : การจัดเก็บสารที่เข้ากันไม่ได้

 สารที่เข้ากันไม่ได้ คือ สารที่เมื่อมาใกล้กันจะทำปฏิกิริยากันอย่างรุนแรง เกิดการระเบิด เกิดความร้อนหรือให้ก๊าซพิษออกมาได้ สารพวกนี้จะต้องเก็บแยกต่างหากห่างจากกันมากที่สุด เช่น การเก็บสารที่ไวต่อน้ำ

1. ต้องเก็บในที่อากาศเย็นและแห้ง ห่างไกลจากน้ำ

2. เตรียมเครื่องดับเพลิง class D ไว้ในกรณีเกิดไฟไหม้ oxidizers

3. เก็บห่างจากเชื้อเพลิง และวัสดุติดไฟได้

4. เก็บห่างจาก reducing agents เช่น zinc, alkaline metal หรือ formic acid

อันตรายจากพิษของสาร
(toxic hazards)

 สารเป็นพิษ (toxic chemicals) คือ สารซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดๆ ซึ่งทั้งนี้จะรวมถึงสารกัมมันตรังสี (radioactive) ด้วยการเก็บ

1. ภาชนะต้องปิดฝาสนิท อากาศเข้าไม่ได้

2. ห่างจากแหล่งจุดติดไฟ

3. ต้องมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งภาชนะที่เก็บและบริเวณที่เก็บสารนั้นๆ

4. สารที่ไวต่อแสง ต้องเก็บไว้ในขวดสีชา ในสถานที่เย็น แห้งและมืด

การจัดเก็บสารเคมี

1. เก็บห่างจากอาคารอื่นๆ

2. มีการล๊อกอย่างแน่นหนา

3. ไม่ควรเก็บในที่มีเชื้อเพลิง หรือสารที่ติดไฟได้ง่าย

4. ต้องห่างเปลวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต

5. ไม่ควรมีชนวนระเบิด (detonators), เครื่องมือและสารอื่นๆอยู่ด้วย

6. ไม่ควรซ้อนกันเกิน 6 ฟุต

7. ต้องเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง

8. ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปในที่เก็บสารได้

ลักษณะสถานที่เก็บสารเคมี

1. สถานที่เก็บสารเคมีที่ดี ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่มีประชาชนอยู่หนาแน่น ห่างไกลจากแหล่งน้ำดื่ม ห่างไกลจากบริเวณที่น้ำท่วมถึง และห่างไกลจากแหล่งอันตรายอื่นๆ ที่อาจเกิดจาก ภายนอกโกดัง

 2. สถานที่ตั้งโกดัง ควรมีเส้นทางที่สะดวกแก่การขนส่ง และการจัดการ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ

 3. มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ เช่น ระบบจ่ายไฟฉุกเฉิน ระบบดับเพลิงระบบระบายน้ำ ป้องกันการไหลของน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะพร้อมระบบบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากน้ำที่เกิดจากการดับเพลิง ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบ

 4. อาณาเขตบริเวณโดยรอบที่ตั้งต้องมีกำแพงหรือรั้วกั้นที่อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงและสามารถบำรุงรักษาให้ดีอยู่เสมอได้ง่าย

 5. มีพื้นที่ว่างบริเวณแนวกำแพงหรือรั้ว สำหรับแยกเก็บสารเคมีที่หก รั่วไหลและเพื่อให้การปฏิบัติงานในการบรรเทาอันตรายจากสารเคมีที่หกรั่วไหลได้

6. มียามรักษาการณ์ตรวจตราในเวลากลางคืนและจัดหาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยไว้ เช่น ไฟสำหรับส่องรอบบริเวณ แปลงสิ่งปลูกสร้าง

 7. แปลนสิ่งปลูกสร้างต้องออกแบบให้สามารถแยกเก็บสารที่เข้ากันไม่ได้ โดยการใช้อาคารแยกจากกัน การใช้ผนังกันไฟ หรือการป้องกันอื่นๆ เช่น ออกแบบให้มีพื้นที่ว่างเพียงพอที่สามารถเคลื่อนย้าย ขนถ่ายสารเคมีได้อย่างปลอดภัย

8. อาคารเก็บสารเคมีแต่ละหลังต้องมีระยะห่างระหว่างกัน

9. ทำเลที่ตั้งและอาคาร มีการป้องกันผู้บุกรุกโดยทำรั้วกั้น มีประตูเข้า-ออก พร้อมมาตรการป้องกันการลอบวางเพลิง

การออกแบบอาคารเก็บสารเคมี

  แผนผังอาคารต้องออกแบบให้สอดคล้องกับชนิดของสารเคมีที่จะเก็บ ซึ่งมีการตระเตรียมในเรื่องทางออกฉุกเฉินอย่างเพียงพอ เนื้อที่และพื้นที่ของอาคารเก็บสารเคมีต้องถูกจำกัด โดยแบ่งออกเป็นห้องๆ หรือเป็นสัดส่วน เพื่อเก็บสารอันตรายคนละประเภทและสารอันตรายประเภทที่ไม่สามารถเก็บรวมกันได้อาคารต้องปิดมิดชิด และปิดล็อคได้ วัสดุก่อสร้างอาคารเป็นชนิดไม่ไวไฟ และโครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเหล็ก ถ้าเป็นโครงสร้างเหล็กต้องหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน

      ผนังอาคาร

 1.ผนังด้านนอกต้องสร้างอย่างแข็งแรง และควรปิดด้วยเหล็กหรือแผ่นโลหะ เพื่อป้องกันไฟที่เกิดจากภายนอกอาคาร

 2. ผนังด้านใน ออกแบบให้เป็นกำแพงกันไฟทนไฟได้นาน 60 นาที และมีความสูงขึ้นไปเหนือหลังคา 1 เมตร หรือวิธีการอื่นๆที่สามารถป้องกันการลุลามของไฟได้

 3. วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนของอาคารเป็นชนิดที่ไม่ติดไฟ เช่น เส้นใยโลหะ หรือใยแก้ว

 4. วัสดุที่เหมาะสมต่อการทนไฟ และมีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทาน คือ คอนกรีต อิฐ หรืออิฐบล็อก คอนกรีตเสริมเหล็ก ควรมีความหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร หรือ 6 นิ้ว และกำแพงต้องหนาอย่างน้อย 23 เซนติเมตร หรือ 9 นิ้ว จึงสามารถทนไฟ ถ้าเป็นอิฐกลวงไม่เหมาะสมที่จะใช้คอนกรีตธรรมดา ต้องมีความหนาอย่างน้อย 30 เซนติเมตร หรือ 12 นิ้ว เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและทนทาน เพื่อให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรงต้องมีเสาคอนกรีตเสริมเหล็กในผนังกันไฟ ผนังกันไฟผนังกันไฟ ควรเป็นอิสระจากโครงสร้างอื่นๆเพื่อป้องกันการพังทลาย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ การเดินท่อประปา ท่อร้อยสาย และการวางสายไฟผนังกันไฟ ต้องวางอยู่ในทรายเพื่อป้องกันไฟพื้น

5. พื้นอาคารต้องไม่ดูดซับของเหลว

6. พื้นอาคารต้องเรียบ ไม่ลื่น ไม่มีรอยแตกร้าว ทำความสะอาดได้ง่าย

7. พื้นอาคารต้องออกแบบให้สามารถเก็บกักสารเคมีที่หกรั่วไหล และน้ำจากการดับเพลิงได้ โดยวิธีการทำขอบธรณีประตูหรือขอบกั้นโดยรอบ

   หลังคา

1. หลังคาต้องกันฝนได้ และออกแบบให้มีการระบายควันและความร้อนได้ ในขณะเกิดเพลิงไหม้

2. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหลังคาไม่จำเป็นต้องใช้ชนิดป้องกันไฟพิเศษ แต่ก็ไม่ควรใช้ไม้ เพราะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของไฟ โครงสร้างที่รองรับหลังคาต้องทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟ ใช้ไม้เนื้อแข็งได้ เมื่อวัสดุที่ใช้มุงหลังคาไม่ไวไฟ เพราะคานไม้ให้ความแข็งแกร่งโครงสร้างนานกว่าคานเหล็กเมื่อเกิดเพลิงไหม้

3. วัสดุที่ใช้มุงหลังคาอาจเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและยุบตัวได้ง่ายเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพื่อช่วยการระบายควันและความร้อนออกไปได้ แต่ถ้าหลังคาสร้างแข็งแรงต้องจัดให้มีช่องระบายอากาศ เพื่อให้มีการระบายควันและความร้อนอย่างน้อย 2% ของพื้นที่หลังคา

4. ช่องระบายอากาศต้องเปิดไว้ถาวรและสามารถเปิดด้วยมือ หรือเปิดได้เองเมื่อเกิดเพลิงไหม้ การระบายควันและความร้อนจะช่วยทำให้สามารถมองเห็นต้นตอของเพลิงและช่วยชะลอการลุกลามของไฟ

 ประตูกันไฟ

 ประตูกันไฟ จะประกอบด้วย

1. ข้อลูกโซ่ชนิดหลอมละลายได้ ติดตั้งไว้เหนือของประตูด้านบน ความร้อนหรือเปลวไฟที่โหมลุกจากบริเวณที่เก็บสารเคมี จะส่งผ่านไปตามกำแพงกระตุ้นให้ข้อลูกโซ่ทำงาน

2. ตุ้มถ่วง มีสายเคเบิ้ลที่ร้อยผ่านตุ้มน้ำหนักและห้ามยึดตุ้มถ่วงให้อยู่กับที่ รางเลื่อน

3. ทางออกฉุกเฉินต้องทนไฟได้เช่นเดียวกับประตูกันไฟด้านในของประตูกันไฟ ต้องมีคุณสมบัติทนไฟเหมือนผนังอาคารและสามารถปิดได้โดยอัตโนมัติ เช่น มีข้อลูกโซ่ชนิดหลอมละลายได้ ซึ่งจะถูกกระตุ้นโดยอัตโนมัติจากระบบตรวจจับควันไฟและประตูจะปิดอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ข้อควรระวัง ต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อให้ปิดประตูได้ ห้ามมีสิ่งกีดขวาง

ทางออกฉุกเฉิน

1. ต้องจัดให้มีทางออกฉุกเฉิน นอกเหนือจากทางเข้า-ออกปกติ การวางแผนสำหรับทางออกฉุกเฉิน ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงภาวะฉุกเฉินทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่มีผู้ใดติดอยู่ในอาคารเก็บสารอันตราย

2. ทำเครื่องหมายทางออกฉุกเฉินให้เห็นชัดเจนโดยยึดหลักความปลอดภัย

3. ทางออกฉุกเฉินต้องเปิดออกได้ง่ายในความมืดหรือเทื่อเมื่อมีควันหนาทึบ

4. ทางออกฉุกเฉิน สำหรับการหนีไฟจากบริเวณต่างๆ ต้องมีอย่างน้อย 2 ทิศทางการระบายอากาศ

5. ต้องมีการระบายอากาศที่ดีโดยคำนึงถึงชนิดของสารเคมีที่เก็บ และสภาพการทำงานที่น่าพึงพอใจและปลอดภัย

6. การระบายอากาศอย่างเพียงพอ จะเกิดขึ้นเมื่อช่องระบายอากาศอยู่ในตำแหน่งบนหลังคา หรือผนังอาคารในส่วนที่ต่ำลงมาจากหลังคา และบริเวณใกล้พื้น

การระบายน้ำ

ภาพที่ 6 : การระบายน้ำ

     ท่อระบายน้ำแบบเปิดไม่เหมาะสำหรับการเก็บสารเคมีที่เป็นสารพิษ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสารเคมีที่หกรั่วไหล และน้ำจากการดับเพลิงไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ท่อระบายน้ำจากน้ำฝนต้องอยู่นอกอาคาร ท่อระบายน้ำในอาคารต้องเป็นชนิดที่ไม่ติดไฟ

แสงสว่างและอุปกรณ์ไฟฟ้า

1. อาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีการทำงานในเวลากลางวันและแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งดวงไฟ หลักการนี้เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติ เพราะลดค่าใช้จ่าย ลดการบำรุงรักษา และลดความจำเป็นที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพิเศษ แต่ถ้าสภาพการทำงานที่แสงสว่างจากธรรมชาติไม่เพียงพอ ต้องปรับปรุงสภาพแสงสว่างโดยอาจติดตั้งแผงหลังคาโปร่งใส

2. ในบริเวณซึ่งต้องการแสงสว่างและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด รวมทั้งสายไฟต้องติดตั้งให้ได้มาตรฐานและได้รับการบำรุงรักษาจากช่างไฟฟ้าผู้มีคุณวุฒิควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งไฟฟ้าแบบชั่วคราว แต่ถ้ามีความจำเป็นอาจติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

3. อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น การใช้รถโฟล์คลิฟท์ขนถ่ายสินค้าหรืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการวางอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้าบริเวณที่มีน้ำหรือพื้นที่เปียก

4. อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องต่อสายดิน และจัดเตรียมไว้อย่างเหมาะสมเมื่อมีการใช้ไฟเกินหรือเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในอาคารเก็บสารที่ไวไฟ หรืออาจเกิดระเบิดได้ เช่น การเก็บสารตัวทำละลายชนิดวาบไฟต่ำ หรือสารที่มีคุณสมบัติเป็นฝุ่นละเอียดที่สามารถระเบิดได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้อุปกรณีไฟฟ้าและรถโฟล์คลิฟท์ชนิดที่ป้องกันการระเบิดได้

5. ในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีระบบระบายอากาศที่มีการถ่ายเทอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

6. บริเวณที่มีการใช้อุปกรณ์ชาร์จประจุแบตเตอรี่ ควรแยกออกจากอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายและจัดให้มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ยกเว้นแต่จะมีมาตรการป้องกันเป็นการพิเศษ

ความร้อน

1. โดยทั่วไปอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายต้องมีอากาศไม่ร้อน แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องรักษาสภาพบริเวณที่เก็บให้ร้อน เพื่อป้องกันสารแข็งตัวนั้น การใช้ระบบความร้อนต้องเป็นแบบไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง และเป็นวิธีที่ปลอดภัย เช่น ไอน้ำ น้ำร้อน อากาศร้อน และแหล่งให้ความร้อนนั้นต้องอยู่ภายนอกอาคารที่เก็บสารอันตราย เครื่องทำน้ำร้อนหรือท่อไอน้ำ ต้องติดตั้งในบริเวณที่ไม่ทำให้ความร้อนสัมผัสโดยตรงกับสารเคมีและวัตถุอันตราย

2. ไม่ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อนจากไฟฟ้า หรือแก๊สหรือความร้อนจากการเผาไหม้ของน้ำมัน

3. การติดตั้งฉนวนกันความร้อน วัสดุที่ใช้เป็นฉนวนต้องไม่ติดไฟ เช่น ใยหิน หรือใยแก้ว

ระบบป้องกันฟ้าผ่า

ภาพที่ 7 : ระบบป้องกันฟ้าผ่า

 ทุกอาคารที่เก็บสารเคมีประเภทไวไฟ ต้องติดตั้งสายล่อไฟ หรืออาจยกเว้นถ้าโกดังดังกล่าวอยู่ภายในรัศมีครอบคลุมจากสายล่อฟ้าของอาคารอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้

การเก็บ สารเคมี และวัตถุอันตราย
“ภายนอกอาคาร”

ภาพที่ 8 : การเก็บสารเคมี และวัตถุอันตราย“ภายนอกอาคาร”

          การเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายนอกอาคาร ต้องมีการจัดเตรียมเขื่อนป้องกันเช่นเดียวกับการเก็บสารเคมีในอาคาร และต้องมีหลังคาป้องกันแสงแดดและฝนด้วย

1. บริเวณโดยรอบต้องไม่มีสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัย เช่น ไม่มีหญ้าขึ้นรก ไม่มีวัสดุติดไฟได้ ไม่มีแหล่งประกายความร้อน

2. ต้องไม่เป็นที่จอดยานพาหนะหรือเส้นทางจราจร

3. พื้นที่ต้องแข็งแรงและรับน้ำหนักสารเคมีและวัตถุอันตรายได้
    – ไม่ลื่น
    – ทนต่อการกัดกร่อน
    – ทนน้ำ

4. มีรางระบายลงสู่บ่อกักเก็บหรือเขื่อนไม่ให้ไหลออกสู่ภายนอก

5. สารเคมีและวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวไวไฟสูง แก๊ส หรือคลอรีนเหลว ควรให้เก็บนอกอาคาร

การเก็บ สารเคมี และวัตถุอันตราย
“ภายในอาคาร”

ภาพที่ 9 : การเก็บ สารเคมี และวัตถุอันตราย “ภายในอาคาร”

1. จัดเก็บตามประเภทโดยพิจารณาจากเอกสารข้อมูลความปลอดภัย

2. ยึดหลัก เข้าก่อน-ออกก่อน (First In – First Out) เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสื่อมสภาพ หรือการถูกทำลายของสารเคมี

3. ต้องตรวจสอบคุณลักษณะทั้งปริมาณและคุณภาพ ภาชนะบรรจุและหีบห่อต้องอยู่ในสภาพที่ดี

4. จัดทำแผนผังกำหนดตำแหน่ง ประเภทกลุ่มสารเคมี พร้อมตำแหน่งอุปกรณ์ฉุกเฉิน อุปกรณ์ผจญเพลิง และเส้นทางหนีไฟ

5. ต้องมีพื้นที่ว่างโดยรอบผนังอาคารกับกองสารเคมี เพื่อตรวจและจัดการกรณีเกิดเพลิงไหม้หรือหกรั่วไหล

มาตรการป้องกันอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน

ภาพที่ 10 : มาตรการป้องกันอันตราย

1. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และ มาตรฐานกำหนด ทั้งนี้ให้เหมาะสมกับชนิด และประเภทของงานที่ปฏิบัติ

2. จัดให้มีชุดทำงานเฉพาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และที่เก็บชุดทำงานที่ใช้แล้วดังกล่าวให้เหมาะสมกับสารเคมีอันตรายประเภทนั้น

3. มีมาตรการควบคุมและดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน

4. จัดให้มีการดูแลรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้พร้อมใช้

5. จัดให้มีที่ล้างมือและล้างหน้า ไม่น้อยกว่า 1 ที่ต่อผู้ปฏิบัติงาน 15 คน และให้เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนที่เกิน 7 คนให้ถือเป็น 15 คน โดยสามารถเข้าถึงได้ง่าย

6. จัดให้มีห้องอาบน้ำเพื่อใช้ชำระร่างกายไม่น้อยกว่า 1 ห้องต่อผู้ปฏิบัติงาน 15 คน และให้เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนของผู้ปฏิบัติงาน ส่วนที่เกิน 7 คนให้ถือเป็น 15 คน ทั้งนี้จะต้องจัดของใช้ที่จำเป็นสำหรับการชำระล้าง สารเคมีอันตรายออกจากร่างกายให้เพียงพอและใช้ได้ตลอดเวลา

7. จัดให้มีอุปกรณ์ฉุกเฉินสำหรับทำความสะอาดร่างกายไว้ในบริเวณที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อาทิเช่น ที่อาบน้ำฉุกเฉิน หรือฝักบัวชำระ (Safety Shower) ที่ล้างตาฉุกเฉิน (Eye Bath)

เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมมีการใช้สารเคมีอันตรายจำนวนมาก และไม่เพียงแต่จะใช้ประโยชน์ในการผลิต แต่ยังเป็นผลเสียหากอุตสาหกรรมนั้นไม่มีการเก็บสารเคมีอันตรายอย่างมิดชิด หรือมีการตรวจสอบอุณหภูมิพื้นที่จัดเก็บสารเคมี ก็อาจส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมมีการเกิดสารเคมีรั่วไหล และไม่สามารถที่จะควบคุมไว้ทัน เมื่อสารเคมีพบเจอกับฉนวนจึงทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้โดยทันที

และไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม แต่ยังส่งผลกระทบไปยังสิ่งแวดล้อมโดยรอบ แหล่งชุมชน ไปจนผู้คนที่พักอาศัย ได้รับสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นก่อนที่จะจัดเก็บสารเคมีอันตราย ควรที่จะให้หัวหน้างาน หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) ประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะมีการจัดเก็บหรือปฎิบัติงานกับสารเคมีชนิดนั้นๆ โดยทาง JorPor Plus มีตัวช่วยที่จะให้หัวหน้างาน หรือจป. ทำการประเมินความเสี่ยงทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติงาน ด้วยระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) จาก JorPor Plus เพื่อสร้างความปลอดภัยไปด้วยกัน ทาง JorPor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
[email protected]
061-546961

Website: https://factorium.tech/jorporplus/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8