KYT หรือ “อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์” เป็นหนึ่งในเป้าหมายของโรงงานอุตสาหกรรมโดยต้องการปลูกฝังจิตสำนักของผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายและหาวิธีป้องกัน หลังจากนั้นวิเคราะห์สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดเพื่อหาวิธีการแก้ไข ซึ่งการทำให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็น Zero Accident ไม่ใช่แค่ความพร้อมในการปฏิบัติงานเท่านั้นแต่สภาพแวดล้อมภายในโรงงานก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพื่อป้องกันสุขภาพร่างกายของพนักงาน ดังนั้นโรงงานจึงต้องวางระบบและสร้างการเรียนรู้ให้กับพนักงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงหลักการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยที่พนักงานควรต้องปฏิบัติตาม
กิจกรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เป็นกิจกรรมที่ฝึกการคาดการณ์อันตรายล่วงหน้า ภายใต้แนวความคิดที่ว่า ช่วยกันทำอย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยเฉพาะการชี้นิ้ว และพูดย้ำ มีการ ฝึกอบรมทางด้านความรู้ และเทคนิค ความไวของประสาทสัมผัส ด้านอันตราย รวมไปถึงการมีสมาธิ และความกระตือ รือร้น สร้างความสามัคคี ความพร้อมเป็นหนึ่ง
KYT ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เป็นการเตือนสติที่ก่อนปฏิบัติงานที่เกิดจากการผิดพลาดของคน เพราะในการทำงานอาจเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ทุกวินาที ทุกนาที ทุกชั่วโมง ไม่ได้กำหนดว่าจะเกิดกับใคร เกิดที่ไหน ผลเสียหาย การสูญเสียเป็นอย่างไร ไม่ทราบได้
KYT คืออะไร
ภาพที่ 1 : ความหมายของKYT
KYT คือ วิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการจัดการอันตรายเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ภาพที่ 2 : ความหมายของตัวอักษรย่อ
KYTเป็นเครื่องมือหรือการวิเคราะห์ความปลอดภัยที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น ที่นิยมและยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ลดเรื่องอุบัติเหตุเป็นอย่างมาก โดยคำว่า K Y T เป็นตัวอักษรย่อมาจากภาษาญี่ปุ่น มีความหมายดังนี้
K (Kiken) = อันตราย
Y (Yoshi) = คาดการณ์
T (Training) = การฝึกอบรม
ลักษณะพิเศษของ KYT
เป็นการนำเสนอของคนงานให้ระดับบริหารได้พิจารณาอนุมัติ ทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดนั้น ได้รับการจัดการตั้งแต่แรกทันที สามารถแก้ไขได้ทันการณ์ พัฒนาการสร้างจิตสำนึก ต่อมาได้การพัฒนาการมาเป็น KYT โดยการฝึกฝนเป็นธรรมชาติ ให้ติดเป็นนิสัย ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ดีกว่าเดิม ด้วยในการพัฒนาบุคคลที่เข้าร่วมให้มีความสามารถทราบถึงปัญหาที่อยู่รอบตัวหรือเพิ่มความสามารถบุคคลที่ได้เข้ามาทำงานนั้น โดยมองเห็นว่า อะไรที่จะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ทำให้ตัวบุคคลนั้น คาดการณ์ได้อัตราความเสี่ยงมีมากน้อยเพียงใด ทำให้สามารถประเมินด้วยตัวเองได้ ในการเข้าไปทำงานทำให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ ว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว อาจทำให้อันตรายขึ้นมาได้ มิใช่มองสิ่งต่าง ๆ แค่ผ่านไป โดยไม่คิดถึงอันตรายที่เกิดขึ้น สรุปก็คือถ้ามองเห็นสิ่งที่เป็นอันตรายแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง แล้วเรียบเรียงการแก้ไข โดยมิได้ละเลย เรียกว่าให้มีจิตสำนึกระวังภัยอยู่ตลอดเวลาและสามารถสื่อสารให้เพื่อนร่วมงานรับทราบข่าวสารไปด้วย ตลอดให้ชักจูงให้เพื่อนร่วมงานมีความกระตือรืนร้น ในการทำกิจกรรมในการป้องกันความปลอดภัยในการทำงาน
ความสำคัญของมือชี้ – ปากย้ำ
ภาพที่ 3 : ความสำคัญของมือชี้ – ปากย้ำ
1. อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ เป็นคำมั่นสัญญา หรือคำปฏิญาณตนของผู้ปฏิบัติงานก่อนลงมือปฏิบัติงานทุกครั้ง
2. ปลูกฝังจิตสำนึก ในด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติงานความด้วยระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น
3. คิด พิจารณาก่อนที่จะทำงานทุกครั้ง ว่าถ้าเกิดอันตรายขึ้นจะสามารถป้องกันได้อย่างไร
4. เตือนตนเอง ก่อนลงมือปฏิบัติงานทุกอย่างต้องพร้อม ทั้งในด้านของอุปกรณ์และความปลอดภัยบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน จึงจะเริ่มทำงานได้
เงื่อนไขของ KYT
ภาพที่ 4 : เงื่อนไขของการจัดทำKYT
1. ทุกคนต้องพูดมาจากความจริงใจ
2. ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทั้ง 2 เงื่อนนี้ ทำให้เกิดความคิดในหลายๆ ด้าน อย่าปิดบัง หรือขัดขวางแนวคิดของผู้อื่น ทำให้บุคคลนั้น กระด่าง ไม่กล้าออกความคิดในครั้งต่อไป
KYT 4 ขั้นตอน
วิธีปฏิบัติคือ ใช้ Check sheet ในการวิเคราะห์หาอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในงานนั้น การนำไปใช้ ใช้กับงานที่มีอันตราย การวิเคราะห์ใช้เวลา 10 นาที โดยพนักงานกลุ่มย่อย ต้องระดมความคิด ห้ามติ ความคิดคนอื่น
ภาพที่ 5 : KYT 4 ขั้นตอน
การทำมือชี้ – ปากย้ำ 4 ขั้นตอน เชิงปฏิบัติการ
ขั้นที่ 1 ค้นหาอันตราย พร้อมหาสาเหตุ (มีเหตุและมีผล) ต้องหาผลของอุบัติเหตุก่อน ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ และหาสาเหตุที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 2 เรียงลำดับความสำคัญของอันตรายแต่ละอย่าง จะดูได้จาก การบาดเจ็บ ระยะเวลาหยุดงาน
ขั้นที่ 3 เลือกมาตรการป้องกันและแก้ไข เราจะร่วมกันออกความคิด หามาตรการป้องกัน เพื่อแก้ไขปัญหา จุดอันตรายหลัก ซึ่งอาจเสนอมาตรการสามารถปฏิบัติได้
ขั้นที่ 4 เลือกมาตรการแก้ไขป้องกันที่ดีที่สุด
วิธีการทำ มือชี้ – ปากย้ำ
ภาพที่ 6 : วิธีการทำKYT มือชี้ – ปากย้ำ
ก่อนการทำมือชี้ – ปากย้ำ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องยืนล้อมรอบกันเป็นวงกลม จะกลายเป็นรูปเลขศูนย์ สื่อถึงอุบัติเหตุเป็นศูนย์ (รูปแบบขึ้นอยู่กับสถานประกอบการณ์นั้นๆ)
1. ยืนตรง เอามือเท้าสะเอว ทำมือขวาหลวมๆ ไว้ข้างตัว
2. ยื่นแขนขวาไปข้างหน้า พร้อมชี้นิ้วพูดสโลแกนความปลอดภัยในการทำงาน
3. ยกมือขึ้นมาบริเวณข้างหู
4. ชี้นิ้วไปที่งาน หรือสิ่งที่เป็นอันตราย พูดว่า “โอเค” พูดพร้อมกันทั้งสามครั้ง
ทำเป็นประโยคสั้น ๆ เพื่อจำได้ง่าย หรือ ทำเป็น สโลแกน เพื่อจำได้ง่าย
ประโยชน์ของ KYT
ภาพที่ 7 : ประโยชน์ของการทำKYT
1. ฝึกให้ผู้ปฏิบัติงานรู้จักอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน และสามารถคาดการณ์เหตุการณ์อันตรายที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้
2. ปลูกฝังจิตสำนึกในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ด้วยการค้นหาอันตรายต่างๆ
3. ช่วยค้นหาอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน หรือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ
4. เตือนสติพนักงานก่อนลงมือปฏิบัติงาน กระตุ้นให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
5. ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการค้นหาอันตราย และกำหนดวิธีการป้องกันอันตรายจากการทำงาน
6. ทำให้เกิดความสามัคคีในการดำเนินกิจกรรม สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน
ในส่วนของกิจกรรมมือชี้ – ปากย้ำ ถือเป็นกิจกรรมที่น่านำมาเป็นแบบอย่าง เนื่องจากเป็นการปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงาน จากการปฏิญาณตนและย้ำเตือนถึงความปลอดภัย มาตรการป้องกันอันตราย และเน้นย้ำการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดการทำงาน ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ดี และทำกันมาเป็นเวลานาน
การศึกษาเรื่องนี้ จะทำให้เรามีความรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของ Kiken Yoshi Training อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ เราจะสามารถป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความปลอดภัยของตัวเองหรือคนรอบข้าง ตามหลัก Kiken Yoshi Training เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุอย่างแท้จริง อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อม เราสามารถลดความเสี่ยงลงได้ พร้อมที่มาลองใช้ JorPor Plus ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงานหรือยัง ? ทดลองใช้กดปุ่มคลิกด้านล่างได้เลยค่ะ
Website: https://factorium.tech/jorporplus/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8