ในโลกของการผลิต ศัตรูที่แท้จริงของความสำเร็จคือ OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness (ประสิทธิผลของเครื่องจักรทั้งหมด) ซึ่งเป็นตัววัดความสามารถในการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆในการผลิต
เมื่อ OEE ตกต่ำ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิต ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ผลิตต้องจัดการอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต แต่ละองค์กรควร “รู้เขา รู้เรา” ต้องรู้จักรศัตรูของเราก่อนว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งศัตรูตัวสำคัญของสายโรงงาน สายอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักจะเป็นความสูญเสีย หรือ Losses สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรือเป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่คงที่ตามเป้าหมาย เป็นเหตุที่สร้างความสูญเสียให้กับองค์กร ในปัจจุบัน องค์กรมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องของคนและเครื่องจักร เพื่อให้การลงทุนที่ทำไปมีค่าและผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากขึ้น
ในวันนี้เราจะพูดถึง OEE หรือ Overall Equipment Effectiveness ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ที่ช่วยให้เรารู้ว่าเครื่องจักรสามารถทำงานได้เต็มกำลังหรือไม่ โดยช่วยประเมินประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรในการผลิตอย่างแม่นยำได้
หาก OEE มีค่าอยู่ที่ 100% นั่นแสดงว่าโรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิผลในการผลิตที่ดีมาก ไม่มีข้อผิดพลาดทั้งในแง่มุมความพร้อมใช้งาน ความเร็วในการผลิต และคุณภาพของสินค้า หมายความว่าเครื่องจักรทำงานได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดชะงัก มีความเร็วในการผลิตที่สูง และสินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพที่ดีในระดับที่สูงมาก
แล้ว OEE มี 3 ส่วนประกอบหลักอะไรบ้าง?
โดยการคำนวณ OEE จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ Availability Performance Quality เดี๋ยวเรามาดูพร้อมกันว่า 3 ส่วนประกอบนี้คืออะไร
- Availability (ความพร้อมใช้งาน): วัดจากเวลาที่เครื่องจักรพร้อมทำงานเทียบกับเวลาที่ควรจะพร้อมทำงาน ซึ่งคำนวณจากเวลาที่เครื่องจักรไม่มีการหยุดหย่อน เช่น เวลาที่ใช้งานได้เต็มที่ต่อเวลาทั้งหมดที่เครื่องจักรที่พร้อมใช้งาน ตามแผนในการผลิตของหน่วยการผลิตของแต่ละองค์กรที่ได้มีข้อกำหนดไว้
- Performance (ประสิทธิภาพในการทำงาน): วัดประสิทธิภาพของเครื่องจักรเมื่อทำงานเทียบกับประสิทธิภาพที่สูงสุดที่เครื่องจักรสามารถทำได้ จะคำนวณจากความเร็วหรืออัตราการผลิตที่ได้เทียบกับความเร็วหรืออัตราการผลิตสูงสุดที่เครื่องจักรสามารถทำได้
- Quality (คุณภาพ): วัดคุณภาพของผลผลิตที่ได้เทียบกับคุณภาพที่คาดหวัง คำนวณจากผลผลิตที่มีคุณภาพดีเทียบกับผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตออกมา
ซึ่งส่วนประกอบ 3 อย่างนี้ก็จะมีปัจจัยแยกย่อยลงไป เพื่อให้การคำนวณตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมากที่สุด
จะทำอย่างไร หากต้องการ เริ่มต้นปีด้วย OEE ที่ดีกว่าเดิม
การต้อนรับต้นปีด้วย OEE ที่ดีควรเริ่มต้นด้วยการทบทวนข้อมูล OEE จากปีที่ผ่านมา เพื่อทำการวิเคราะห์และสรุปข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาหรือความสามารถในการปรับปรุง จากนั้นกำหนดเป้าหมายและแผนการปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการปรับปรุง OEE ในปีถัดไป ให้มีเป้าหมายชัดเจนและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้ทีมเข้าใจและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังควรให้ความสำคัญกับการติดตามและวัดผลการปฏิบัติด้วย
โดยการตรวจสอบ OEE ในระยะเวลาที่กำหนดและทำการปรับปรุงตามความต้องการเป็นประจำ เพื่อให้โรงงานมีความสามารถในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่องได้ รวมถึงการตรวจสอบและปรับปรุง OEE เป็นการทำให้โรงงานมีการเติบโตและปรับตัวต่อสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น ดังนั้นการวางแผนและดำเนินการต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำในการต้อนรับต้นปีด้วย OEE ที่ดี สู่การพัฒนาและความสำเร็จของโรงงานต่อไปได้ดีขึ้น
การใช้ OEE ในโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ตามแนวโน้มที่โรงงานหลายแห่งเห็นความสำคัญในการวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือเพื่อตรวจวัดและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในปี 2024 ยุคดิจิทัลยังคงอยู่ อุตสาหกรรมที่ใช้ OEE จำเป็นต้องปรับตัว
- การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ OEE เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำนายและการปรับปรุงกระบวนการผลิต
- การสร้างแพลตฟอร์มหรือระบบที่ทำให้ข้อมูล OEE สามารถแบ่งปันได้ระหว่างฝ่ายต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้สามารถปรับปรุงได้รวดเร็วขึ้น
- การใช้เทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง เช่น Cloud Computing เพื่อเข้าถึงข้อมูล OEE และการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- การฝึกอบรมทีมงานให้มีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี OEE เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้เต็มประสิทธิภาพ
- การใช้ข้อมูล OEE ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเสียในการผลิต
- การใช้ข้อมูล OEE เพื่อทำนายและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะมีผลกระทบต่อการผลิตอย่างจริงจัง
การปรับตัวในยุคดิจิทัลนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
หาตัวช่วยสามารถส่งเสริมให้ OEE มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในยุคดิจิทัลได้
เปิดใจให้ FACTORIUM CMMS หรือระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับองค์กรและโรงงานอุตสาหกรรม ช่วยในการป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง ระบบนี้จะช่วยเก็บบันทึกประวัติการเสื่อมสภาพ ประวัติการเสีย หรืออาการเสียที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้สามารถทำนายและระบุปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ดังนี้
- การวางแผนและการตรวจสอบการบำรุงรักษา: ช่วยให้การวางแผนงานซ่อมบำรุงเป็นไปตามระยะเวลาที่เหมาะสม และช่วยในการตรวจสอบและบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่ม OEE ด้วยการลดเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงานและมีความพร้อมใช้งานมากขึ้น
- การทำความเข้าใจข้อมูลเชิงลึก: สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และพัฒนาการปรับปรุงในการดำเนินการเพื่อลดความสูญเสียในการผลิต
- การติดตามและวิเคราะห์ปัญหา: ช่วยในการติดตามและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิต เพื่อแก้ไขให้ทันท่วงทีและลดความผิดพลาดในการทำงาน
- การเสริมสร้างความรู้และการฝึกอบรม: สามารถจัดการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดูแลรักษาเครื่องจักรให้ทีมงานมีความเข้าใจและความชำนาญในการใช้งานอุปกรณ์อย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้ OEE มีการปรับปรุงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อก้าวผ่านสาเหตุที่ทำให้ค่า OEE มีประสิทธิภาพลดลง
สาเหตุหลักที่ทำให้ค่า OEE ลดลงส่วนใหญ่อาจเกิดจากสภาพของเครื่องจักรที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเหตุผลให้ต้องหยุดการผลิตเพื่อทำการซ่อมแซมเครื่องจักรให้ใช้งานได้ การหยุดการผลิตที่ไม่ได้รับการวางแผนนี้อาจส่งผลให้ค่า OEE ขององฟค์กรหรือโรงงานอุตสาหกรรมลดลงอย่างแน่นอน เพราะการหยุดการผลิตนั้นมักเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานอย่างมากในโรงงานและส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม ทั้งยังส่งผลให้ลูกค้าหรือผู้ซื้อสินค้ารอคอยและมีความไม่พอใจในการส่งมอบสินค้าด้วย
ประโยชน์ของระบบ OEE ในโรงงาน
ในอดีตการความสามารถในการผลิตในโรงงาน มีการหาวิธีการกันหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อมูลจากฝ่ายต่างๆรวมกัน แต่ไม่มีตัวไหนที่สามารถบ่งบอกในเชิงองค์รวมเพื่อนำเพิ่มผลผลิตได้จริง
แต่ FACTORIUM CMMS ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ สามารถช่วยให้องค์กร และโรงงาอุตสาหกรรม จัดเก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างครบถ้วนด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว และยังสามารถวิเคราะห์ วางแผนงาน เพื่อให้คุณลดอาการ Breakdown ของเครื่องจักร และเพิ่มค่า OEE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร หรือการใช้ OEE เป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งที่ทำให้รู้ประสิทธิผลของเครื่องจักร ดังนี้
- แยกประเภทการสูญเสีย: OEE ช่วยในการแยกประเภทของการสูญเสียที่เกิดขึ้น เช่น การหยุดทำงานที่ไม่คาดคิด, การสูญเสียในการระบายวัสดุ, หรือการสูญเสียในการตั้งค่าเครื่องจักร ซึ่งช่วยให้ทราบถึงสาเหตุและพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุง
- ลดความสูญเสีย: โดยการทราบข้อมูลจาก OEE ช่วยในการดำเนินการลดความสูญเสียของเครื่องจักรที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและเป็นระบบ โดยการปรับปรุงกระบวนการหรือการดำเนินการเพื่อลดการหยุดทำงานที่ไม่จำเป็นหรือการปรับปรุงคุณภาพของการผลิตในทันทีที่มีปัญหาเกิดขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในทันที
OEE อาจมีข้อระวังในการใช้งานบางอย่าง แต่ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ FACTORIUM CMMS จะช่วยแก้ไขปัญหานั้นได้ดีเยี่ยม!
เพราะการทำ OEE ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน แม่นยำ ทุกการคำนวณในโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีการจดบันทึกที่ครบถ้วน ถูกต้อง หากขาดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งจะทำให้ข้อมูลในการคำนวณน้อยออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เกิดผลเสียในระยะยาว แน่นอนว่า FACTRIUM CMMS ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์จะยิ่งช่วยให้คุณลดความสูญเสียทางการผลิตลงได้ เพราะสามารถจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้การทำงานของเครื่องจักรในการผลิต พร้อมการแจ้งเตือนแบบ Realtime
“สร้างโอกาส เพิ่มความได้เปรียบ” ทุกการทำงานด้วย Real-Time OEE วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตในการแข่งขันด้วย FACTORIUM CMMS ทำให้ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรเพื่อให้สร้างผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนี้
1. จัดเก็บทุกข้อมูลงาน การสนทนาอยู่ถาวร โปรแกรม FACTORIUM CMMS แอปซ่อมบำรุงออนไลน์ สามารถคุยแชทในใบงานซ่อมได้ ข้อมูลครบไม่หาย ย้อนเจอทุกบทสนทนา หมดปัญหา 7 วันเปิดหาไฟล์งานไม่ได้
2. อัปเกรดทันสมัย โปรแกรม FACTORIUM CMMS อัปเกรดโปรแกรมทุกเดือนจาก Data ผู้ใช้จริงเพื่อพัฒนาการใช้งานที่ไร้ขีดจำกัด
3. แจ้งเตือนทันใจ! หมดปัญหาลืมงาน หมดปัญหาเครื่องจักรมีปัญหาแจ้งซ่อมไม่ทัน อยู่มุมไหนของโลกก็ทันทุกงานซ่อม ด้วยการแจ้งเตือนแบบ Realtime ผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่อง
เดียวเท่านั้น
FACTORIUM CMMS ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมเพราะ ?
เพราะต้องมีการซ่อมบำรุงรักษาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเครื่องจักรในแต่ละโรงงานมีมูลค่าค่อนข้างมาก หากเครื่องจักรขัดข้องหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ผลผลิตที่ได้ก็จะลดลง กำไรที่ควรจะได้ก็ลดลง FACTORIUM CMMS จึงเหมาะสมกับทุกโรงงานอุตสาหกรรมอย่างที่สุด
และยิ่งในยุค 4.0 ที่ทุกอุตสาหกรรมต่างแข่งขันกันนั้น ทุกการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ยิ่งต้องลดความสูญเสียให้กลายเป็น “Zero Breakdown” ได้ง่ายๆ เพียงแค่คุณลองเปิดใจ หาตัวช่วย พร้อม Package ราคาเหมาะที่สมต่อการใช้งาน
1 เดือนสุดท้ายของปี หากพี่ๆสนใจใช้งาน ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์จาก FACTORIUM CMMS สามารถสมัครการใช้งานได้ที่ : >>>คลิก<<<<หลังจากนั้นรบกวนพี่ๆ กดเลือกที่บทความออนไลน์นะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนพัฒนาฝีมือที่ดีต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw