การตรวจสอบสุขภาพรถยนต์เป็นการป้องกันความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในการเดินทางกลับบ้าน หรือภูมิลำเนาได้ โดยช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ลดความเสี่ยงจากปัญหาทางเทคนิคหรือความเสียหายของรถยนต์ได้ นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมรถยนต์ยังช่วยให้คุณมั่นใจในสภาพพร้อมของรถ ก่อนเกิดปัญหาใหญ่ระหว่างทางทำให้หมดสนุก และเสียเงินซ่อมแซมรถจนเซ็งเป็ดกันแน่!
ตรวจสอบกันให้ดี ใช้งานมาทั้งปี สภาพรถยนต์เรามีอาการเสียเหล่านี้ไหม ?
- อาการที่ 1 – อาการรถสตาร์ทติดยาก อาการเสียแบบทั่วไปของรถที่ทุกคนมักเจอ หากรถมีอายุประมาณ 2-3 ปี อาจเกิดจากการที่แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพ หรือระบบจ่ายเชื้อเพลิงมีปัญหา หากลองสตาร์ทรถหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่สามารถขับขี่ได้ ควรพารถไปยังศูนย์บริการเพื่อให้ช่างตรวจสอบและวินิจฉัยปัญหาที่แท้จริง การตรวจเช็คจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงและปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงที
- อาการที่ 2 – ช่วงล่างแข็งกระด้าง หากมีเสียงคร่ำครวญจากช่วงล่าง ควรเริ่มจากการตรวจสอบว่ามีน้ำมันหยดลงมาที่พื้นหรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณโช๊ครั่ว รวมทั้งตรวจเช็คสภาพยางด้วยว่ามีความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลงหรือไม่
- อาการที่ 3 – เครื่องสั่นจนดับ อาจเกิดจากปัญหาในระบบจ่ายเชื้อเพลิงที่ทำงานได่ไม่เต็มที่ รวมถึงหากผู้ขับขี่รถไปเรื่อยๆแล้วมีอาการสั่นหงึ่กหงั่กจนเครื่องดับ ลองเร่งเครื่องแล้วก็ยังไม่ดีขึ้นสักที ลักษณะแบบนี้ควรนำรถยนต์เข้าศูนย์เพื่อตรวจเช็คสภาพรถยน์และเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทาง
- อาการที่ 4 – ควันสีขาว อาการไม่สู้ดีของเครื่องยนต์ เกิดการเผาไหม้ที่ผิดพลาด ทำให้น้ำมันเครื่องเล็ดลอดเข้าไปในห้องเผาไหม้ที่มักเกิดจากการเสื่อมสภาพ และชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เกิดความเสียหาย แม้รถจะยังใช้งานได้อยู่เป็นปกติ แต่ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องยนต์จนเสียหายได้ในทันที
- อาการที่ 5 – รถยนต์มีกลิ่นเหม็นไหม้ สัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์และระบบการทำงานของรถ หากได้กลิ่นควรหยุดขับรถทันที ฝืนขับต่อไปอาจเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ โดยกลิ่นไหม้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผ้าเบรกไหม้ สายพานไหม้ ท่อไอเสียแตก ระบบไฟฟ้าภายในรถขัดข้อง ควรหยุดรถทันทีและไม่ควรขับต่อ เพราะอาจมีความเสียหายที่รุนแรงเกิดขึ้นกับรถยนต์
- อาการที่ 6 – มีเสียงดังแปลกกว่าปกติ ขั้นตอนนี้ต้องลองฟังดูว่าได้ยินเสียงมาจากส่วนไหนของรถยนต์ ทั้งเสียงผ้าเบรคและสายพานรถ หากดังแปลกจากปกติที่เคยเป็น อาจกำลังเกิดการเสื่อมสภาพตามการใช้งานอยู่ก็เป็นได้ เช่น เสียงผ้าเบรคหรือสายพาน
5 จุดอันตรายของรถยนต์ที่ควรตรวจสอบกับศูนย์บริการรถยนต์ก่อนขับรถทางไกล
- จุดที่ 1 ตรวจเช็คแบตเตอรี่ – แบตเตอรี่มีหน้าที่ป้อนกระแสไฟให้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ให้กับรถยนต์ เพราะอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 40,000 กิโลเมตร โดยประมาณ ขึ้นอยู่ที่การใช้งานของแต่ละบุคคล ซึ่งการตรวจสอบและดูแลแบตเตอรี่ควรนำรถยนต์เข้าไปเช็คสภาพแบตเตอรี่ทุกๆ 10,000 กิโลเมตร และควรเปลี่ยนทุกๆ 18 เดือน เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อรถยนต์ของเราค่ะ
- จุดที่ 2 ล้อและยางรถยนต์ – เป็นอีกจุดที่สำคัญมากๆ เพราะอุบัติเหตุส่วนหนึ่งบนท้องถนน เกิดจากยางระเบิดขณะขับขี่ ปัจจัยจากการสึกหรอขึ้นอยู่กับ ภูมิอากาศ สภาพถนน สไตล์กับขับขี่ของผู้ใช้รถ โดยตัวชี้วัดที่ชัดเจนสุดคือาการสึกหรอและความลึกของดอกยางรถยนต์
- จุดที่ 3 เช็คช่วงล่าง – โช๊ค ไม่ดี ขับขี่ไม่นิ่มนวล ควรตรวจเช็คคราบน้ำมันบริเวณแกนโช๊คว่ามีน้ำมันหยดและรั่วหรือไม่ หากมีให้รีบนำเข้าศูนย์ตรวจสอบสภาพรถยนต์ เพราะโช๊คมีผลต่อการทรงตัวของรถขณะขับขี่ เพราะอายุการใช้งานของโช๊คจะอยู่ที่ 80,000 กิโลเมตรโดยประมาณ และควรตรวจสอบทุกๆ 20,000 กิโลเมตร
ทุกๆการแจ้งเตือน 20,000 กิโลเมตร ผู้ให้บริการสามารถใช้โปรแกรมระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ FACTORIUM CMMS ร่วมกับการทำงานได้ เพราะมีระบบจัดการสต็อคอะไหล่กรณีที่ต้องมีการเปลี่ยนซ่อม และแจ้งเตือนทุกๆการซ่อมผ่านมือถือให้กับผู้ใช้บริการอย่างทันท่วงที
- จุดที่ 4 เช็คระบบเบรค – ปกติเบรคจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 48,000 – 56,000 กิโลเมตร แตกต่างกันไปตามลักษณะรถยนต์และการใช้งานของผู้ขับขี่
- จุดที่ 5 น้ำมันเครื่อง – หากพบว่าน้ำมันเครื่องเป็นสีดำ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทันที เพราะอาจส่งผลต่อการหล่อลื่นและระบายความร้อนของเครื่องยนต์ได้
แล้วรถยนต์ไฟฟ้าต้องเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไกลอย่างไรบ้าง?
เพราะการเตรียมความพร้อมให้กับรถยนต์ EV ก่อนการเดินทางอาจต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะมีแตกต่างจากรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทั่วไป เช่น
- การชาร์จแบตเตอรี่: จำเป็นต้องตรวจสอบระดับแบตเตอรี่และชาร์จให้เต็มก่อนการเดินทาง เช็คสถานะแบตเตอรี่ว่าอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานหรือไม่
- ระยะทางที่สามารถขับได้: คำนวณหาระยะทางที่สามารถขับได้ของแบตเตอรี่ในโหมดปกติและโหมดเซฟ พร้อมการตรวจสอบว่าพอดีกับระยะทางที่คุณต้องการเดินทางหรือไม่
- ระบบนำทาง: ตรวจสอบระบบนำทางหรือแอปพลิเคชันที่สามารถช่วยในการคำนวณเส้นทางและสถานีชาร์จได้ เพราะบางพื้นที่อาจยังไม่มีสถานีชาร์จรองรับ และเทศกาลก็ยิ่งมีผู้ใช้งานตามสถานีชาร์จเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
- สถานที่ชาร์จ: ค้นหาสถานีชาร์จที่อยู่ตามเส้นทางการเดินทางของคุณ เช็คความพร้อมของสถานีชาร์จและประเภทของชาร์จที่สามารถใช้ได้กับรถของคุณ
- เตรียมพกสายชาร์จฉุกเฉิน: เพราะบางสถานีสายชาร์จอาจไม่รองรับหรือมีอาการชำรุดและเสียหายจนไม่สามารถใช้งานกับรถของคุณได้
- ยางรถยนต์: แม้จะเป็นรถไฟฟ้า แต่ยางรถยนต์ต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำก่อนเสื่อมสภาพ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ใช้งาน
ศูนย์ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ช่วยเตรียมความพร้อมให้รถยนต์ได้อย่างไร ?
ประเทศไทยเรานั้นมีอุตสาหกรรมการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ให้บริการอยู่มากมายหลายบริษัท และส่วนใหญ่ได้รับรองมาตรฐานจากองค์กรความปลอดภัยที่เชื่อถือได้
โดยในช่วงนี้การท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ความประสงค์ในการตรวจสอบก็เพิ่มขึ้น ศูนย์บริการตรวจเช็ครถยนต์ยิ่งต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับรถยนต์ที่จะหลั่งไหลเข้ามาตรวจเช็คสภาพเป็นจำนวนมาก
ดีกว่าไหม ? หากมีตัวช่วยและเพื่อนคู่คิดในการทำงานที่ช่วยลดความผิดพลาดในเรื่องการตรวจสอบเครื่องยนต์ หรือแจ้งเตือนการซ่อมในระยะเวลาที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้รถยนต์ ด้วยแอปซ่อมบำรุง FACTORIUM CMMS ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ หรือ eMaintenance ที่สามารถทำงานผ่านมือถือ พร้อมฟังก์ชันครบครัน
ให้การตรวจสอบสุขภาพรถยนต์ทำได้ง่ายขึ้น ไวขึ้นด้วย ด้วยระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ FACTORIUM CMMS ที่แจ้งเตือนทันที! เมื่อถึงเวลาต้องซ่อมตามอายุการใช้งาน แม้คุณจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็ตาม รับรองได้ว่าทั้งคุณและองค์กรที่ตรวจสอบรถยนต์จะไม่พลาดการตรวจสอบสุขภาพรถทุกระยะ
อย่างไรก็ตามการดูแลรักษารถยนต์ที่ใช้งานอยู่ทุกวันเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ มีการเสื่อมสภาพตามเวลา เพราะฉะนั้นการตรวจสอบและบำรุงรักษารถอย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรรักษาความปลอดภัยในการขับขี่และเคารพกฎจราจร รวมถึงควรคาดเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้การเดินทางไปเที่ยวปีใหม่เต็มไปด้วยความสุขและปลอดภัยตลอดทั้งทริปค่ะ
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw