สวัสดีครับเพื่อนๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมหนึ่งโรงงาน การซ่อมบำรุงรักษาให้มีประสิทธิภาพดี จะถือเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตของโรงงานนั้น เพราะซึ่งหากขาดงานซ่อมและการบำรุงรักษาที่ดีแล้ว เครื่องจักรในโรงงานอาจจะมีการพังเสียหายทุกๆวันเลยนะครับ
ซึ่งในการกำหนดกลยุทธ์ในการซ่อมบำรุง (Maintenance Strategy) ในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Reactive maintenance, Preventive maintenance หรือจะเป็นแบบ Proactive maintenance ตลอดจนมีการควบคุม และระบบบริหารการจัดการงานซ่อมและการบำรุงรักษาต่างๆในงานซ่อมบำรุงที่ดีนั้น
อะไรคือตัวบ่งชี้จริงๆว่า “งานซ่อมบำรุงนั้นมีคุณภาพที่ดี” ??
คำตอบนั้นคือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพ (KPI; Key Performance Index) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับในการกับดูแลองค์กรให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา (organization compliance)
อะไรคือ ดัชนีชี้วัดคุณภาพของงานซ่อม (Maintenance KPI’s)
โดยนิยาม และหน้าที่โดยทั่วๆไปของ ดัชนีชี้วัดคุณภาพ หรือ KPI (Key Performance Index) เปรียบเสมือน อุปกรณ์การวัดตัวหนึ่ง ที่จะบ่งบอก “ประสิทธิภาพ” ของคน , หน่วงงานหรือองค์กร, งานโครงการ หรือจนกระทั้งประสิทธิภาพของบริษัท
ในทำนองเดียวกัน สำหรับการนำเครื่องมือตัวนี้ มาใช้ในงานซ่อมบำรุงรักษา ก็จะเป็นเครื่องมือที่บอกประสิทธิภาพของงานซ่อมบำรุง ว่า งานซ่อมของเรามีประสิทธิภาพต่อโรงงาน ว่า ดี หรือแย่ แค่ไหน?
โดยอยากให้เพื่อนๆนึกภาพตามนะครับ หากเรามีการซ่อม การดูแลรักษา และเครื่องจักรที่ดี จากนั้นเครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล ไม่มีการเสียหาย (Break down)เลยในระหว่างที่เดินเครื่องจักร เพื่อผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมาหยุดซ่อมเครื่องจักรเลย
โดยงานแจ้งซ่อมที่แจ้งให้ทำ (Maintenance Order) ที่แจ้งเข้ามา ทีมซ่อมก็สามารถทำได้อย่างถูกต้องครบถ้วน สมบรูณ์ และมีความรวดเร็วตอบสนองความต้องการของโรงงานได้อย่างครบถ้วน
ตลอดจนการจัดการ และบริหารงานซ่อม และบำรุงรักษาที่ดี มีโปรแกรมการจัดการบริหารงานซ่อมบำรุง และการเก็บข้อมูลทั้งหมดด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ CMMS (Computerized Maintenance Management System) ที่มีประสิทธิภาพสูง
ตัวแปรอะไรบ้าง……ที่สามารถบ่งบอกว่า “โรงงานของเรามีงานซ่อมและการบำรุงรักษาที่ดี ?”
กุญแจสำคัญ 5 ชิ้นสำหรับ KPI ในงานซ่อมและการบำรุงรักษา
ดังนั้นจากคำพูดด้านบนที่ได้กล่าวมาแล้ว ตัวแปรสำคัญที่มีผลกระทบต่องานซ่อมบำรุงจะมี 5 ตัวแปรสำคัญๆคือ
- การพังของเครื่องจักรแบบไม่พึงประสงค์ (Efficiency & Downtime)
- การบริหารจัดการประเภทของใบงานซ่อม (Maintenance work order management)
- การตอบสนองของทีมซ่อม (Maintenance responsible ability)
- ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานเครื่องจักร (Asset life cycle & performance)
- ค่าใช้จ่ายในงานซ่อมและการบำรุงรักษา (Maintenance cost and budget)
การพังของเครื่องจักรแบบไม่พึงประสงค์ (Efficiency & Downtime)
ในตัวแปรแรก ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดของโรงงานเลยครับ ซึ่งจะบ่งชี้ว่า การพังของเครื่องจักรมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเวลาเราใช้งานเครื่องจักรอยู่นั้นหากอยู่ดีพังขึ้นมา แล้วเครื่องจักรผลิตต่อไม่ได้ แล้วทีมซ่อมต้องไปซ่อมกลับมา เวลาที่สูญเสียไปนั้น เราจะเรียกว่า “Down time” ครับ
70% ในโรงงานอุตสาหกรรมยังอาจจะไม่ตระหนักเรื่อง การทำกลยุทธในการกำหนดแผนงานซ่อม และบำรุงรักษา (rack of maintenance strategy) ทำให้โรงงานสูญเสียเงิน และโอกาสในการผลิตสูงมาก (แต่ถ้าหากมีการบำรุงรักษาที่ดีอาจจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในโรงงานได้ถึง 30% เลยทีเดียว)
ลองคิดดูง่ายๆนะครับ สมมุติว่า เรามีโรงงานผลิตสินค้าอยู่โรงงานหนึ่ง ขายสินค้าได้กำไรชิ้นละ 300 บาท และใน 1 ชม เครื่องจักรตัวนี้สามารถผลิตสินค้าได้ 60 ชิ้น แสดงว่าใน 1 ชม เครื่องจักรตัวนี้สร้างกำไรให้บริษัท เป็นจำนวนเงิน 300 x 60 = 18,000 บาท/ชม
วันดีคืนดี เครื่องจักรเสียหาย ต้องหยุดซ่อมเป็นเวลา 6 ชม (downtime = 6 ชม) แสดงว่า โรงงานสูญเสียกำไรจากการ downtime ทั้งสิ้น 18,000 x 6 = 96,000 บาท
ซึ่งสมมุติว่าเครื่องจักรตัวนี้แค่สายพานขาด สายพานเส้นละ 1,000 บาท
เห็นไหมครับว่าโรงงานสูญเสียกำไรค่อนข้างมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่สูญเสียไปจะไม่ใช่ค่าซ่อมซะด้วย (เข้าข่ายเสียน้อยเสียมาก เสียมากเสียง่าย นะครับเนี่ย)
โดย DOWNTIME = (จำนวนเวลาที่เครื่องจักรหยุด / ช่วงเวลาที่เราทำการวัด) x 100 %
ซึ่ง downtime จะเป็นค่าที่บอกเปอร์เซ็นว่า ตลอดที่เราเดินเครื่องจักรมา มีการหยุดซ่อมโดยที่ไม่พึงประสงค์
โดยค่าทั่วๆไป โดยมาตราฐานจะกำหนดประมาณ 10% หรือน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้นะครับผม
การจัดการใบงานซ่อม (Maintenance work order management)
ในหัวข้อนี้จะเป็นการพยายามบริหารงานซ่อมบำรุงรักษา ในแต่ละประเภท เช่น PM (Preventive Maintenance), CM (Corrective Maintenance) หรือแบบอื่นๆ
โดยนัยสำคัญของหัวข้อนี้คือ งานซ่อมประเภท CM (Corrective Maintenance หรือการเข้าไปซ่อมโดยที่เครื่องจักรเกิดความผิดปกติขึ้นมาแล้ว) จะต้องน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
โดยค่านี้จะไปสัมพันธ์กับจำนวนแผนงานซ่อมที่เราเข้าไปบำรุงรักษาอุปกรณ์ หรือการวางแผนเข้าไปซ่อมก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความผิดปกติ หรือ PM (Preventive Maintenance)
โดยจะกำหนดสัดส่วน PM/CM จะอยู่ที่ประมาณ 2.5* (แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับโรงงานอุตสาหกรรมว่าเป็นประเภทไหนด้วยนะครับ)
*แปลว่าจะมีงาน PM มากกว่า CM 2.5 เท่า
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องวางแผนงาน PM และ PdM (Predictive Maintenance) ให้เหมาะสมกับเครื่อลจักรนั้นๆครับ
การตอบสนองของทีมซ่อม (Maintenance responsible ability)
การตอบสนองที่ดีของทีมงานซ่อมสามารถลดระยะเวลา downtime ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการนับเวลางานซ่อมบำรุง หรือ Repairing Time จะนับตั้งแต่เมื่อเครื่องจักรพัง
หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอน การออกใบแจ้งซ่อม (Maintenance notification) → วางแผน และเตรียมของสำหรับงานซ่อม (spare parts and planning) → เข้าไปทำการซ่อม (Repairing and corrective action) → เดินเครื่องจักรกลับมาเป็นปกติ (Start-up and operation)
โดยขั้นตอนในแต่ละ step เช่น กระบวนการในการวางแผนงาน กระบวนการบริหารจัดเก็บคงคลัง (warehouse & stock management) กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจน ความสามารถของช่างซ่อมของเรา
โดยเวลาที่ใช้จะมาก หรือจะน้อย จะสามารถบ่งบอกประสิทธิภาพในการตอบสนองของทีมงานซ่อม และการบำรุงรักษานะครับ
ตัวแปรที่วัดจะเป็นค่า MTBF (Mean Time Between Failure), MTBR (Mean Time Between Repair), MTTR (Mean Time To Repair), MTTD (Mean Time To Discovery) นะครับ ซึ่งอนาคตเราจะมากล่าวถึงในบทความตอนถัดๆไปกันนะครับ
ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานเครื่องจักร (Asset life cycle & performance)
ในการวัดประสิทธิภาพ รวมถึงอายุการใช้งานเครื่องจักร ทางโรงงานจะต้องมีการลงทะเบียน รวมถึงรายละเอียดของเครื่องจักรนั้นๆให้ครบถ้วน เช่น ชนิดของเครื่องจักร รุ่น คุณสมบัติและกำลังการผลิตต่างๆ รวมไปถึงการลงทะเบียนอะไหล่สำหรับงานซ่อมของเครื่องจักรตัวนั้นๆ ให้ชัดเจน และครบถ้วน
เพื่อที่จะสามารถนำมาวิเคราะห์ถึงอายุการใช้งานของแต่ละช่วงเวลา ลักษณะการเสียหาย (failure mode) หรือ การให้ความสำคัญต่อเครื่องจักรในโรงงานนั้นๆมากน้อยแค่ไหน โดยประสิทธิภาพการวัดเครื่องจักรจะมีหลายตัวแปรที่วัด เช่น ค่าของ ค่าความพร้อมในการเดินเครื่องจักร (Availability) ดัชนีการใช้พลังงาน (EI; Energy index) หรือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นต้นครับ
ค่าใช้จ่ายในงานซ่อมและการบำรุงรักษา (Maintenance cost and budget)
ในส่วนของงานซ่อมและการบำรุงรักษา บางโรงงานที่มีสเกลขนาดใหญ่ จะมีงบในการใช้จ่ายสำหรับงานซ่อมบำรุงสูงมาก (อาจจะ 100 ล้านบาท++ ก็เป็นไปได้ครับ) ดังนั้นในการควบคุมค่าใช้จ่ายในงานซ่อมแต่ละครั้ง หากมีประวัติงานซ่อมที่ดี เราก็สามารถทำนายล่วงหน้าได้ หรือประเมินค่าบริการงานซ่อม และค่าบริการได้ครับ
โดยการตั้งตัวแปร ที่ใช้ในการบ่งบอกประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ ทำเป็นในลักษณะของการใช้งบประมาณให้พอดีกับที่ตั้งไว้ เช่น เช่น “การใช้งบดำเนินการเทียบกับงบที่ได้ตั้งไว้” (Budget usage utilization), โดยอาจจะแยกเป็นหมวหมู่ต่อไป เช่น ค่า Service, ค่า spare-parts และ ค่า man-power ต่างๆครับ เพื่อดูลักษณะการใช้ และบริหารงบประมาน ว่าดำเนินการถูกต้องไว้ตาม กลยุทธที่วางเอาไว้ครับ
จบไปสำหรับการตั้ง KPI ในหน่วยงานซ่อมและการบำรุงรักษาแล้วนะครับ แต่ว่าในการนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะโรงงาน หรือธุรกิจนั้นๆนะครับ แต่โดยหลักการรวมๆก็จะ 5 ตัวแปรสำคัญหลักๆ นะครับ
และสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณโปรแกรม Factorium โปรแกรมบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงบนสมาร์ทโฟน สำหรับโรงงานยุค 4.0
ถ้าสนใจใช้งานซอฟแวร์สำหรับการบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงรักษาได้ฟรี สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งนี้เลยครับ
>>>>> http://bit.ly/ArticleCMMS <<<<<
================================================================
แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ Factorium แชร์ นะครับ
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/386654832130754/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw
Cr. บทความจากนายช่างมาแชร์