Bearing แบริ่ง นับว่าเป็นอปกรณ์หรือเสาหลักของเครื่องจักร หรือ อุปรณ์ ซึ่งถ้าหากขาดตัว แบร์ริ่งไปแล้วก็อาจจะทำให้ไม่สามารถใช้งานเครื่องจักรได้
Bearing หรือ ตลับลูกปืน คือ อุปกรณ์ที่ใช้รองรับการเคลื่อนที่ของเพลา ให้ทำงานแม่นยำในแนวรัศมี และแนวแกน ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนัก และถ่ายเทแรงที่เกิดขึ้นจากแกนหมุนหรืออุปกรณ์ที่มีการหมุนไปสู่ลูกเหล็กที่บรรจุอยู่ภายใน อีกทั้งทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส ส่งผลให้เพลาหมุนได้คล่องตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของ Bearing
ตัวแบริ่ง นั้นมีความสำคัญมากในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนของ มอร์เตอร์(Motor) เกียร์ หรือจะอยู่ในส่วนของปั๊มก็แล้วแต่ ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องมีแบร์ริ่งเป็นส่วนประกอบและคงไม่ดีถ้าตัวแบร์ริ่งส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องจักรในโรงงานนั้นเกิดความเสียหาย ดังนั้นการที่จะช่วยทำให้ตัวแบร์ริ่งนั้นมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นควรหมั่นตรวจเช็ค อาการเสื่อมสภาพของแบร์ริ่งด้วย วันนี้ทาง Factorium มีบทความที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตัวอุปกรณ์ ที่สำคัณนี้จะเกิดการ Breakdown และส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรตัวอื่นๆด้วย
ก่อนอื่นถ้าหากว่าเราจะทำการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ใดๆก็แล้วแต่เราจำเป็นที่จะต้องรู้ถึง โครงสร้าง และส่วนประกอบของอุปกรณ์ชิ้นนั้นด้วย
ส่วนประกอบของ แบริ่ง
- แหวนวงนอก (Outer ring) ทำหน้าที่ประคองเม็ดลูกปืนภายใน
- เม็ดลูกกลิ้ง (Ball or Roller ) ทำหน้าที่รับน้ำหนัก และถ่ายเทแรงที่เกิดขึ้นจากแกนหมุน
- ตัวกั้น หรือ รัง (Separator or Retainer) ทำหน้าที่กำหนดระยะห่างระหว่างเม็ดลูกกลิ้งให้มีระยะห่างที่เท่ากัน และไม่ให้เม็ดลูกกลิ้งสัมผัสกันเอง
- แหวนวงใน (Inner ring) ทำหน้าที่ป้องกันเม็ดลูกกลิ้งไม่ให้สัมผัสกับเพลาโดยตรง
- แผ่นป้องกันสิ่งแปลกปลอม (Seal or Shield) ใช้สำหรับป้องกันสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปภายในตลับลูกปืน
4 สัญญาณเตือนอาการเสียของแบริ่ง
อาการเสียของแบริ่ง
อาการเสียของแบริ่ง นั้นมีอยู่ 4 ช่วงด้วยกัน พฤติกรรมอาการเสียของแบร์ริ่งโดยแบร์ริ่งจะเป็นรอยเล็กๆ ซึ่งจะทำให้ยังไม่ได้ยินเสียงซึ่งก็จะทำให้หลายคนนิ่งนอนในเพราะว่ายังไม่ได้ยินเสียงของมัน
ช่วงที่ 2 แบร์ริ่งเริ่มมีรอยมากขึ้นก็จะทำให้เริ่มได้ยินเสียงเล็กๆ หลายคนอาจจะมองผ่านหรือ ไม่ได้เอะใจในเสียงที่เกิดขึ้น อาจจะคิดว่าเป็นเสียงอื่นๆ
ช่วงที่ 3 แบร์ริ่งเริ่มเกิดการสึกหรอ ในช่วงนี้เริ่มมีเสียงดังชัดเจนและมีแรงสั่นสะเทือน และเริ่มมีความร้อนซึ่งเป็นช่วงที่ค่อนข้างจะวิกฤต ซึ่งถ้าชะล่าใจจนเกิดไปก็จะมาในช่วงที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้าย
ช่วงที่ 4 แบร์ริ่งเกิดการสึกหรออย่างรุนแรงเป็นช่วงที่ แบร์ริ่งอยู่ในขั้นวิกฤตอย่างหนัก และเกิดการ Breakdown ขึ้นในที่สุดนั่นเอง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเสีย
1 อยู่ที่อายุการใช้งานของ แบร์ริ่ง โดยเฉลี่ยแล้วแบร์ริ่งนั้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 4ปี ถ้าหากใช้แบร์ริ่งเกินอายุการใช้งานก็อาจจะทำให้แบร์ริ่งเกิดแาการเสียได้
2 Motor มีอายุการใช้งานอยู่ที่ปีกว่าๆ ซึ่งเป็นมอร์เตอร์ซ่อมนั้นไม่อัดจารบีทุกๆ 3 เดือน ฉะนั้นแล้วการอัดจารบีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แล้วถ้าหากเราอัดจารบีผิดประเภทก็อาจจะเกิดการสึกหรอได้เช่นเดียวกัน เพราะจารบีแต่ละประเภทนั้นมีสารเคมีที่อยู่ในจารบี มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าหากเราเอาจารบี high temp มาอัดมอร์เตอร์ธรรมดาจารบีนี้ทำให้ไม่เคลือบเม็ดลูกปืน จารบีชนิดนี้จะทำการเคลือแค่ด้านนอก ทำให้ด้านในไม่มีจารบีเหลืออยู่เลย ใช่ไปสักพักก็จะเกิดการไหม้ที่จารบี ที่ตลับลูกปืนนั้นเกิดความร้อน
การซ่อมบำรุง หรือการ Maintenance นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการที่จะช่วยยืดอายุของเครื่องจักร ในแบริ่งเองควรที่จะทำการ Predictive maintenance นั่นก็คือการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์หรือ การพยากรณ์นั่นเอง โดยการซ่อมบำรุงวิธีนี้นั่นก็คือการที่เราต้องทำการเก็บข้อมูลหาสถิติดูว่า อุปรณ์ของเรานั้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่เท่าไหร่ และส่วนที่ช่วยในการตรวจเช็คแบริ่งว่ามีอาการเสียหรือเปล่านั่นก็คือการใช้งานของเครื่องมือวัดที่เรียกว่า Acoustic ที่ช่วยวัดว่าแบริ่งมีการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่ผ่านการวัดด้วยเสียง
ทุกวันนี้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็มีการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วยในกระบวนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรกันมากขึ้น CMMS เองก็ถือว่าเป็นผู้ช่วยที่สำคัญในงานซ่อมบำรุงในยุค Factory 4.0
ผู้ช่วยงานซ่อมบำรุง Factorium CMMS
โปรแกรม CMMS (computerized maintenance management system) หรือ E-Maintenance คือ งานระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงแบบออนไลน์ที่นำระบบซอฟต์แวร์มาพัฒนาเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องจักร/เครื่องมือ อุปกรณ์การใช้งานต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือจัดการ ควบคุม วัดผล และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบโดย E-Maintenanceนี้เหมาะสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม ท่าศยานอากาศ ฯลฯ โปรแกรมซ่อมบำรุง Factorium CMMS นี้ได้พัฒนาระบบ E-Maintenance และ CMMS ซึ่งเราได้ออกแบบเพื่อเป็นแอปพลิเคชันการแจ้งซ่อม ในงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร งานซ่อมแซมอาคาร สำนักงาน และมีโปรแกรมบริหารงานซ่อมบำรุง งานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM (Preventive Maintenance) ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยได้นำหลักการของ TPM (Total Productive Maintenance) เข้ามาใช้ในการเพิ่ม OEE (Overall Equipment Effectivness) หรือเพิ่มประสิทธิผลให้การทำงานของเครื่องจักรมีประสิทธิภาพในการผลิต Factoriumเราเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้มากขึ้นถึง 20% พร้อมกับฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้กับงานของคุณ โดยมีฟังก์ชันการแจ้งเตือนแบบ realtime เรามีจุม่งเน้นในการพัฒนาเพื่อให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมได้มีแรงขับเคลื่อนและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw