หลอดไฟในโรงงาน ความสว่างมาตรฐานที่กำหนดในโรงงาน

แอปซ่อมบำรุง CMMS

หลอดไฟในโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องมีในโรงงานเพราะถ้าหาก ขาดอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปแล้วนั้นก็เหมือนกับการที่ขาดอุปกรณ์สำคัญในการทำงานและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างนอกจากนี้
หลอดไฟในโรงงาน มีมาตรฐานกำหนดความสว่างในการทำงานแต่ละส่วนในโรงงานอีกด้วย ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามมาไขข้อสงสัยพร้อมกันเกี่ยวกับหลอดไฟที่เป็นแสงสว่างที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ว่าหลอดไฟนั้นสำคัญอย่างไรในโรงงานและทำไมถึงต้องทำตามกฎมาตรฐานโรงงาน

ภาพ หลอดไฟในโรงงานความสว่างที่กำหนดไว้

หลอดไฟ นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะถ้าหากขาดแสงสว่างไปนั่นก็อาจจะส่งผลให้การใช้ชีวิต หรือ แม้กระทั่งการทำงานนั้นก็อาจจะได้รับผลกระทบได้ ในปัจจุบันโคมไฟ และหลอดไฟ นั้นมีส่วนในการนำมาใช้งานภายในโรงงาน โกดัง และคลังสินค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในแผนกซ่อมบำรุงของโรงงานนั้นก็อาจจะมีส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ความสว่างมากเช่นกัน ดังนั้นทาง factorium ขอพาทุกท่านไปดูกับประเภทของหลอดไฟก่อนเลยนะครับ

ประเภทของหลอดไฟ

     หลอดไฟที่เราเห็นกันในโรงงาน หรือ ทางถ้าให้ว่ากันแบบรวบรัดตัดความ คุณรู้จักหลอดไฟไว้แค่ 3 ชนิด คือ

ภาพ ประเภทของหลอดไฟ

     1. หลอดไฟแอลอีดี (LED) ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีอายุการใช้งานเฉลี่ยสูง 20,000 ชั่วโมง อีกทั้งยังไม่กระพริบเมื่อเปิดไฟ ไม่มีรังสียูวีและอินฟราเรด ความร้อนต่ำ ที่สำคัญคือใช้พลังงานน้อย ทำให้กินไฟน้อย ประหยัดค่าไฟได้มากกว่าหลอดไส้ถึง 15-75 เปอร์เซ็นต์ แต่ข้อเสียคือราคาที่สูงกว่าหลอดไส้ปกติ

     2. หลอดไส้ (Incandescent) หรือพูดง่ายๆ คือหลอดไฟรุ่นเก่าที่ใช้กันมายาวนานเกือบร้อยปี หน้าตาก็เหมือนกับหลอดไฟแอลอีดีนี่แหละ แต่ภายในหลอดเป็นไส้ที่ทำจากทังสเตนซึ่งให้ความร้อนสูง แต่ประสิทธิภาพในการส่องสว่างต่ำ จึงทำให้กินไฟมาก อีกทั้งอายุการใช้งานก็น้อยเพียง 750 ชั่วโมง คนจึงเริ่มหันไปใช้หลอดแอลอีดีแทน ข้อดีอย่างเดียวของหลอดไฟประเภทนี้คือราคาถูกที่สุด ดังนั้นถ้าเป็นหลอดไฟในห้องที่คุณไม่ได้ใช้งานบ่อย เช่นห้องเก็บของ ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน

     3. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือที่เรียกติดปากว่าหลอดไฟนีออน ตัวหลอดทำด้วยแก้วทรงยาวบรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ผิวด้านในฉาบด้วยสารเรืองแสง หลอดประเภทนี้ต้องใช้ต่อร่วมกับบัลลัสต์และสตาร์ตเตอร์ มีอายุการใช้งานที่นานกว่าหลอดไส้คือราว 10,000 ชั่วโมง

ความสว่าง

     หลายคนเข้าใจผิดว่าจำนวนวัตต์เป็นค่าของความสว่าง จริงๆ ไม่ผิดแต่ก็ไม่ถูกนัก เพราะจำนวนวัตต์ (Watt) เป็นกำลังในการกินไฟนั่นเอง แต่พอมาในสมัยที่มีหลอดไฟแอลอีดี ก็จะงงกว่าเดิมเพราะค่ากินไฟของแอลอีดีกับหลอดไส้นั้นต่างกัน ดังนั้นขอให้คุณหาคำว่า Lumen (lm) ที่ปรากฏอยู่บนกล่องหลอดไฟ ซึ่งเป็นค่าความสว่าง ยิ่งตัวเลขลูเมนสูง ความสว่างก็มากขึ้น และหากดูตัวเลขวัตต์ประกอบไปด้วยก็ยิ่งดี ค่าลูเมนสูงแต่วัตต์น้อย ก็หมายถึงให้ความสว่างมากแต่กินไฟน้อย นั่นคือดีที่สุด แต่ทั้งนี้ก็อย่าดึงดันเลือกสว่างที่สุดไว้ก่อน เพราะหากสว่างไปก็ทำให้คุณแสบตาได้ ควรดูว่าห้องที่คุณจะใช้นั้นต้องการความสว่างมากน้อยแค่ไหน ขนาดของพื้นที่นั้นเป็นสิ่งสำคัญ

ภาพ ความสว่างของหลอดไฟ

“ลูเมน(lumen)” คือ หน่วยวัดความสว่างของหลอดไฟ โดยการเอาแหล่งกำเนิดแสงไว้ที่ศูนย์กลางของทรงกลม ซึ่งมีรัศมีเท่ากับ 1 ฟุต หรือ 1 ลูเมนต่อตารางฟุต ใน 1 ตารางฟุต จะมีเส้นแสงมาตก 1 เส้น หรือ 1 ลูเมน ก็คือที่พื้นที่ผิวโดยรอบขนาด 12.57 ตารางฟุต ก็จะมีเส้นแสง มาตก 12.57 ลูเมนส์ จะได้ว่า 1 cd = 12.57 lm

โดยหลอด T8 ของ infinite สามารถไห้ความสว่างได้ถึง 2100 ลูเมน และสามารถประหยัดไฟได้มากกว่า
ซึ่งหลอดฟลูโอเรสเซนท์โดยทั่วไปจะสว่างเพียง 1600 ลูเมนเท่านั้น โดยการใช้หลอดไฟ LED จะให้ค่าความสว่างที่สูงกว่า และที่สำคัญประหยัดกว่า

แต่สำหรับงานที่คุณภาพสูงขึ้นมาหน่อยสำหรับองค์กร โรงงาน โกดัง ราชการหรือธุรกิจ ส่วนใหญ่จะขยับไปเป็นใช้ หลอด T8 18w 2100lm เป็นขั้นต่ำครับอย่างดีขึ้นมาหน่อยก็ หลอด T8 16w 2100lm (efficiency 131lm/w) ซึ่งถือว่าดีและใช้กันได้ทั่วไปสว่างพอเพียง หรือขยับขึ้นมาหน่อยที่นิยมคือ หลอด T8 18w 2500lm (efficiency 138lm/w) ถ้าวางเทียบกับหลอดทั่วไปนี่เห็นชัดเลยครับว่าสว่างกว่า

“ลูเมน(lumen)” จึงเป็น 1 ในปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อหลอดไฟ LED / โคมไฟ LED แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงการใช้งานของแต่ละแบบ ว่าจะใช้หลอดไฟ LED / โคมไฟ LED ที่มีค่า ลูเมน(lumen) เท่าไหร่ ?

รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการติดตั้งหลอดไฟด้วย สำหรับในพื้นที่ ที่จำกัด ไม่สามารถเพิ่มจำนวนโคมได้ แต่แสงสว่างนั้นไม่เพียงพอ สิ่งที่จะแก้ปัญหาได้คือใช้หลอดไฟที่มีความสว่างสูงเพื่อที่จะทำให้ความสว่างภายในห้องนั้นเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆได้อย่างไม่ติดขัด ในการเลือกซื้อหลอดไฟที่มีความสว่างสูงๆนั้นควรต้องคำนึงถึงเรื่องคุณภาพด้วย หลอดไฟบางยี่ห้อนั้น เขียนกำกับไว้ที่ข้างกล่องว่ามีความสว่างสูงถึง 3600 ลูเมนต์ แต่พอมาติดจริงแล้วกลับไม่ค่อยสว่างเท่าที่ควร เมื่อทำการวัดค่าแสงแล้วกลับได้น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด เหตุผลเป็นเพราะคุณภาพของสินค้านั้นไม่ตรงกับที่แจ้งไว้ ในการเลือกซื้อหลอดไฟ LED จึงต้องเลือกสินค้าที่มีคุณภาพผ่านมาตรฐานของรัฐบาล

ค่าความสว่างมาตรฐานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการกำหนดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน และความละเอียดการใช้สายตามากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น 

งานละเอียดเล็กน้อย

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง สามารถมองเห็นได้และมีความแตกต่างของสีชัดเจน กำหนดค่าความสว่าง 300~400 ลักซ์ (lux) เช่น

  • งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง
  • งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และล้างจาน
  • งานผสมและตกแต่งขนมปัง
  • งานทอผ้าดิบ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีปานกลาง กำหนดค่าความสว่าง 400~500 ลักซ์ (lux) เช่น

  • งานประจำในสำนักงาน เช่น งานพิมพ์ งานเขียน งานบันทึกข้อมมูล
  • งานออกแบบและเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • งานประกอบรถยนต์และตัวถัง
  • งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก
  • การทำงานไม้ละเอียดบนโต๊ะหรือที่เครื่องจักร

ค่าความสว่างมาตรฐานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการกำหนดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน และความละเอียดการใช้สายตามากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น 

งานละเอียดเล็กน้อย

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง สามารถมองเห็นได้และมีความแตกต่างของสีชัดเจน กำหนดค่าความสว่าง 300~400 ลักซ์ (lux) เช่น

  • งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง
  • งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และล้างจาน
  • งานผสมและตกแต่งขนมปัง
  • งานทอผ้าดิบ

งานที่ชิ้นงานมีขนาดปานกลางหรือเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน และมีความแตกต่างของสีปานกลาง กำหนดค่าความสว่าง 400~500 ลักซ์ (lux) เช่น

  • งานประจำในสำนักงาน เช่น งานพิมพ์ งานเขียน งานบันทึกข้อมมูล
  • งานออกแบบและเขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • งานประกอบรถยนต์และตัวถัง
  • งานตรวจสอบแผ่นเหล็ก
  • การทำงานไม้ละเอียดบนโต๊ะหรือที่เครื่องจักร

อุณหภูมิสี

     ข้อสำคัญของหลอดไฟนั่นก็คือ อุณหภูมิสีของหลอดไฟ (Color Temperature) ซึ่งมีหน่วยเรียกเป็นเคลวิน (Kelvin) หรือตัวย่อคือ K โดยอุณหภูมิสีของหลอดไฟ โดยแบ่งออกเป็นสามแบบคือ

ภาพ อุณหภูมิแสงของหลอดไฟ

     – Warm White ให้แสงสีเหลืองจนถึงเหลืองอมขาว มีค่าเคลวินประมาณ 2700 – 3500k เหมาะกับการสร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ผ่อนคลาย นิยมใช้ในห้องนั่งเล่นตอนกลางคืนหรือไฟประดับหัวเตียงนอน ไม่เหมาะกับการติดหน้ากระจกในห้องน้ำหรือห้องแต่งตัว เพราะจะทำให้คุณแต่งหน้าผิดเพี้ยนได้

     – Cool White ให้แสงสีขาวในโทนเย็น มีค่าเคลวินประมาณ 4000-4200k ส่วนใหญ่นิยมใช้กับร้านค้าหรือป้ายโฆษณามากกว่าเพราะจะช่วยขับสีสันของสินค้าให้ออกมาดูสวยงามสดใสเกินจริง ไม่แนะนำให้ใช้ในบ้านเพราะทุกสิ่งที่คุณเห็นจะออกมาแข็งทื่อ ดูขาวเกินจริง

     – Daylight ให้แสงสีขาวอมฟ้า มีค่าเคลวินอยู่ที่ 6000-6500k มีความใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติในตอนกลางวัน ถือเป็นค่าสีมาตรฐานที่คนนิยมใช้มากที่สุด เพราะให้ความสว่างสมจริง มองเห็นสิ่งต่างๆ แบบไม่หลอกตา

     เพื่อความมั่นใจ ขอให้คุณตรวจค่าเคลวินหรือค่า k ที่ข้างกล่องหลอดไฟทุกครั้งก่อนซื้อ เพราะแต่ละยี่ห้อให้ค่าเคลวินไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นประเภทเดียวกันก็ตาม เช่นหลอดไฟ Warm White ของบางยี่ห้ออาจจะให้แสงที่เหลืองมากถึง 2200k ก็มี นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีหลอดไฟหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาโดยปรับเปลี่ยนค่าสีได้เองภายในหลอดเดียว ก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ชอบความหลากหลาย

ปัจจัยนอกเหนือจากแสงสว่างที่สำคัญ และ Factorium CMMS โปรแกรมซ่อมบำรุง จำเป็นต้องมีในโรงงาน

เช่นกันกับแสงสว่างนั้น ทางภาคอุตสาหกรรมถ้าหากขาดระบบบริหารงานซ่อมบำรุงอาคาร ที่มีประสิทธิภาพไปก็จะทำให้ การดำเนินการรักษานั้นหยุดชะงักลง และสิ่งที่ตามต่อมาเชื่อได้ว่าผลกระทบนั้นจะแผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง ดังนั้นการมีระบบซ่อมบำรุงอาคารที่ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่จะมาช่วยให้ลดภาระงานส่งผลทำให้องค์กรสามารถมีเวลาที่จะบริหารงานส่วนอื่น  ๆ ซึ่งการมีเวลาในการบริหารส่วนอื่น ๆ เพิ่มนี้ก็จะสามารถทำให้องค์กรมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น เพราะงานในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีหลายส่วนที่อาจจะใช้เวลาในการบริหารที่นาน จะดีกว่าหรือไม่ถ้ามีสิ่งที่เข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นประหยัดเวลา และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

คลิก!เพื่อทดลองใช้งานฟรี 3 เดือน

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw