น็อตหลวม ปัญหาซ้ำซาก เรื่องที่ง่ายๆแต่ควรขันให้ถูกวิธี

แอปซ่อมบำรุง CMMS

น็อตหลวม เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกจริงๆ ใช่ไหมล่ะครับ น็อต (Nut) อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆที่ถ้าไม่มีแล้วก็จะทำให้การประกอบเครื่องมือนั้นไม่สมบูรณ์ขึ้นมาทันที น็อตนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เช่น รถยนต์ ถ้าขากน็อต1 ตัวการประกอบนั้นก็จะเกิดความไม่สมบูรณ์ และในการขาดน็อตนี้ก็จะทำให้ชิ้นงานที่จะประกอบขึ้นมาขาดความมั่นคง เพราไม่มีตัวยึดวัสดุให้แน่น ดังนั้น น็อต จึงมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งถ้าหากน็อตนั้นหลวมหรือไม่แน่นก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต วันนี้ทาง Factorium CMMS ขอพอทุกคนไปดูวิธีการขันน็อตให้ถูกวิธี ถึงจะเป็นเรื่องที่ง่ายแต่ถ้าหากเราขันไม่ถูกต้องก็จะเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดน็อตของเราก็จะหลวมและไม่แน่นนั่นเองครับ

ภาพ น็อตหลวม น็อตคลายตัว

ทฤษฎีของ การขันน็อต

น็อตคลายตัว นับว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งเปรียบได้กับการเป็นโรคเรื้อรังที่ขันเท่าไหร่ก็ไม่แน่นสักทีเมื่อทำการ ขันน็อตให้แน่นจนมั่นใจแล้วก็ยังหลวม และไม่แน่นจริงๆสักที ก่อนที่เราจะทำการขันน็อตให้แน่นนั้นเราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการขันน็อตกันก่อนดีกว่าครับ รู้หรือไม่การขันน็อตก็มีทฤษฎีเหมือนกันนะไม่ใช่แค่การหมุนๆเพียงอย่างเดียว

แรงบิด

การขันทอร์คก็คือ การขันหัวน็อต (Stud bolt nut) หรือโบล์ท (Machine bolt) บนชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ด้วยแรงบิดที่เหมาะสม ด้วยประแจทอร์คที่มีการตั้งค่าทอร์ค หรือแรงบิดไว้ โดยความสัมพันธ์ หรือสูตรของเค้าคือ

ภาพ สูตรของแรงบิด

น็อตหลวม ขันถูกวิธี ถ้าขันถูกแล้วแน่นขึ้นแน่นอน

การขันน็อต นั้นมีผลต่อการใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง เช่นในโรงงานอุตสาหกรรมในแผนกซ่อมบำรุง Maintenance นั้นจำเป็นที่จะต้องสำรวจการใช้งานของเครื่องจักรนั้นอยู่เป็นประจำในส่วนของน็อตเองนั้นก็มีความจำเป็นเช่นกันเพราะถ้าหากการสำรวจก่อนงานซ่อมบำรุง หรือ มีการ Checklist เพื่อสำรวจความเรียบร้อยก่อนและหลัง การซ่อมบำรุงเครื่องจักร หากเจ้าน็อตอุปกรณ์หลักตัวเล็กจิ๋วของเรานั้นคลายตัวหรือเกิดการที่ น็อตหลวม นั้นก็จะทำให้วัสดุที่ยึดกับตัวน็อตนั้นเกิดความไม่มั่นคงและอาจจะเกิดการชำรุดได้

ภาพ สาเหตุของน็อตคลายตัว

สาเหตุหลักของน็อตหลวม หรือ น็อคคลายตัว

การที่น็อตคลายตัว หรือ น็อตหลวมนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อย่างเช่นการที่น็อตที่ทำการขันกับวัสดุนั้นเกิดการกระแทกกับเหล็กนั้นตกลงพื้นก็จะทำให้น็อตนั้นขยับและเกิดการคลายตัวออกไปจนทำให้น็อตนั้นหลวมก็จะทำให้น็อตนั้นหลุดหายได้ เช่น น็อตที่ประกอบในรถยนต์นั้น เมื่อมีการสตาร์ทก็จะมีแรงสั่นสะเทือนที่แรงก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้น็อตที่ประกอบในรถนั้นคลายตัว ช่างซ่อมก็จะทำการขันให้แน่นขึ้นโดยจะต้องขันถูกวิธี สำหรับอุปกรณ์ในการขันน็อตก็จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ขอแหวนน็อต ซึ้งแหวนน็อตที่นิยมใช้คือแหวนอีแปะ และ แหวนสปริง

แก้ได้โดย แหวนอีแปะ VS แหวนสปริง
ภาพ แหวนอีแปะ VS แหวนสปริง

แหวนอีแปะ
เป็นแหวนรองน็อต ที่เราเห็นเป็นอย่างดีมีสักษณะเป็นแหวนที่เกลี้ยงผิวเรียบส่วนใหญ่มักจะชิ้นโดนนำไปรองหัวน็อดและนำหัวน็อตที่ปิดท้ายขันให้แน่น แต่อยากจะบอกว่าการที่จะขันน็อตด้วยแหวนอีแปะนี้ จะทำให้น็อตนั้นไม่แน่นและคลายตัวได้ข้อดี

ข้อดี

  • สำหรับคนที่ต้องการรักษาพื้นผิวของหัวน็อต และพื้นผิวของวัสดุที่ยึดนั้นไม่มีรอย

ข้อเสีย

  • เป็นตัวล็อกแต่ล็อกได้ไม่แน่นพอ เลยเป็นเหตุผลทำให้น็อตคลายตัวและหลุดในที่สุด

แหวนสปริง
เป็นแหวนรองหัวน็อต ที่บางคนอาจจะไม่ค่อยได้ใช้หรือไม่ค่อยคุ้นตากันมากนัก เพราะช่างบางคนอาจจะตัดขั้นตอนในการขันน็อตด้วยแหวสปริงนี้ออกไปเหลือแค่แหวนอีแปะเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญกับแหวนชนิดนี้คือทำให้น็อตนั้นแน่นมากขึ้น

ข้อดี

  • เป็นแหวนที่มีคุณสมบัติในการยึดหรือน็อตได้ดี ลักษณะของแหวนเป็นสปริงนี้เพื่อทำให้น็อตนั้นไม่คลายย้อนกลับ

ข้อเสีย

  • ส่วนข้อเสีของแหวนสปริงนี้ไม่ได้ป้องกันร่องรอยบนพื้นผิวของหัวน็อตและหระหว่างวัสดุที่ยึดติด
ใช้คู่กันแน่นกว่าเยอะ
ภาพ ใช้แหวนอีแปะกับแหวนสปริง

แหวนทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถใช้ร่วมกันได้ ซึ่งก็จะทำให้การขันน็อตนั้นแน่นเพิ่มมากขึ้นและจะทำให้หัวน็อตไม่เป็นรอยอีกด้วยสำหรับขั้นตอนและวิธีการขันมีดังนี้

Step ที่ 1 : ใส่แหวนสปริงเป็นอันดับแรก เพราแหวนสปริงนั้นเป็นตัวหลักที่จะทำให้ตัวน็อตนั้นไม่คลายตัว เนื่องจากเกลียวที่ตัวแหวนสปริงนั้นเป็นการที่มีลักษณะตรงข้ามกับเกลียวของน็อตซึ่งจัทำให้หัวของน็อนนั้นอยู่แน่น

Step ที่ 2 : ใส่แหวนอีแปะลงไปต่อจากแหวนสปริง เนื่องจากที่แหวนอีแปะนี้มีลักษณะเรียบเพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุระหว่างชิ้นงานนั้นเกิดรอยจึงอยู่ต่อจากแหวนสปริงนั้นเอง

Step ที่ 3 : เมื่อใส่วัสดุระหว่างชิ้นงานไปแล้วเพื่อให้เป็นความมั่นใจว่า น็อตนั้นจะแน่นก็ให้ใส่แหวนอีแปะต่อจากวัสดุชิ้นงานอีกรอบ

Step ที่ 4 : ถึงขึ้นตอนการปิดงานขันน็อตแล้ว ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ให้เราใส่น็อตตัวสุดท้ายลงไปแลขันให้แน่นก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนของการขันน็อตแล้วล่ะครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับวิธีการขันน็อตง่ายๆ ถ้าเราขันได้ไม่ถูกวิธีก็จะทำให้ น็อตของเรา นั้นเกิดการหลวมและเกิดการคลายตัวได้เมื่อรู้วิธีการขันน็อตแล้วหวังว่าต่อจากนี้เพื่อนๆ ก็คงที่จะขันน็อตนั้นให้ถูกวิธีการมากขึ้นนะครับ ซึ่งบางโรงงาน หรือ ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่การที่จะซ่อมเครื่องจักรนั้นฝ่าย Maintenance หรือ แผนกซ่อมบำรุงก็จะรับหน้าที่เป็นหัวเรือหลักในการหาสาเหตุ หาวิธีการแก้ไขปัญหาซึ่งการ checklist นี้ก็เพื่อทำให้โรงงานและงานซ่อมบำรุงนั้นลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

Checklist ง่ายๆ ป้องกันความผิดพลาดในการซ่อมด้วย Factorium CMMS

FACTORIUM

ภาคอุตสาหกรรมถ้าหากขาดระบบบริหารงานซ่อมบำรุงอาคาร ที่มีประสิทธิภาพไปก็จะทำให้ การดำเนินการรักษานั้นหยุดชะงักลง และสิ่งที่ตามต่อมาเชื่อได้ว่าผลกระทบนั้นจะแผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง ดังนั้นการมีระบบซ่อมบำรุงอาคารที่ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่จะมาช่วยให้ลดภาระงานส่งผลทำให้องค์กรสามารถมีเวลาที่จะบริหารงานส่วนอื่น  ๆ ซึ่งการมีเวลาในการบริหารส่วนอื่น ๆ เพิ่มนี้ก็จะสามารถทำให้องค์กรมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น เพราะงานในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีหลายส่วนที่อาจจะใช้เวลาในการบริหารที่นาน จะดีกว่าหรือไม่ถ้ามีสิ่งที่เข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นประหยัดเวลา และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw