ระบบงานซ่อม และการบำรุงรักษาโดยทั่วไป (Maintenance System)

ระบบจัดการงานซ่อมบำรุง CMMS แอพซ่อมบำรุง โปรแกรมซ่อมบำรุง ซ่อมโรงงาน ซ่อมเครื่องจักร แผน PM Computerized Maintenance Management System

ในโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานผลิตต่างๆ ในส่วนของงานซ่อมและการบำรุงรักษา ถือเป็นส่วนสำคัญมากๆต่อระบบ การผลิต (Production) เรียกได้ว่าไม่สามารถแยกหน่วยงานซ่อมออกจากหน่วยงานผลิตได้เลยครับ

ยกตัวอย่าง เช่น หากฝ่ายผลิตในโรงงาน ขาดการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ดีแล้ว เครื่องจักรต่างๆในโรงงานอาจจะเสียบ่อยๆ หรืออาจจะพังขนาดที่ว่า ไม่สามารถเดินเครื่องจักรต่อได้

ถ้าเป็นแบบนั้นแล้ว การผลิตจะติดขัดเนื่องจาก เครื่องจักรเสีย และไม่สามรถใช้งานต่อได้ ส่งผลให้ไม่สามารถผลิต “ผลิตภัณฑ์” (Product) ให้กับโรงงานได้ ทำให้โรงงานสูญเสียผลประโยชน์มากมายมหาศาล ทั้งในเรื่องของต้นทุนในการซ่อม (Maintenance Cost) และการสูญเสียโอกาสในในการผลิต (Lost of Production Opportunity)

งานซ่อม และงานบำรุงรักษา คืออะไร?

คือ “การพยายามรักษาสภาพของเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ให้มีสภาพที่พร้อมจะใช้งานอยู่ตลอดเวลา”

โดยปกติถ้าพูดถึงงานซ่อม หลักการคือ การถอด การรื้อ เปลี่ยนอะไหล่ด้านใน แล้วประกอบกลับมาใช้ให้เหมือนเดิม และการบำรุงรักษาก็คือการไปทำกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับเครื่องจักร ตามรอบ และแผนที่กำหนด เพื่อยืดอายุการใช้งาน ความมั่นใจ และประสิทธิภาพในเครื่องจักร เช่น การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนจาระบี เป็นต้น

โดยจุดมุ่งหมายของงานซ่อม และบำรุงรักษา คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นควรจะน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการให้เครื่องจักรสามารถใช้งานตลอดเวลาเมื่อฝ่ายผลิตต้องการ และใช้งานด้วยความมั่นใจที่สุด หรือถ้าพูดในเชิงทฤษฎีคือ Down time = 0 และ อีกเหตุผลหลักๆอีกข้อหนึ่งคือ ในแง่ความปลอดภัย เป็นหลักนะครับ ซึ่งขณะใช้งาน ผู้ใช้งานเครื่องจักรจะต้องไม่ได้รับอันตรายใดๆซึ่งเกิดจากการพังเสียหายของเครื่องจักร และอุปกรณ์ครับ

ประเภทต่างๆของงานบำรุงรักษา

ความจริงแล้ว งานบำรุงรักษาสามารถแบ่งได้มากมายหลายชนิดมากๆเลยครับ แต่เราขอมาพูดถึงประเภทหลักๆ เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆคือ

01. Reactive Maintenance

Reactive maintenance หรือ “การซ่อมบำรุงเชิงรับ” เป็นประเภทงานซ่อมในแบบเชิงรับซึ่งความหมายของงานซ่อมชนิดนี้จริงๆ ก็สมชื่อเลยนะครับ คือ การรอรับมือกับเครื่องจักรที่พังเข้ามาในทุกๆวัน

Reactive maintenance หรือ “การซ่อมบำรุงเชิงรับ” รับมือกับเครื่องจักรที่พังในทุกๆวัน

โดยหลักการของงานซ่อมบำรุงประเภทนี้คือใช้งานเครื่องจักรจนเครื่องจักรพัง (Run to fail) แล้วหลังจากนั้นค่อยซ่อมกลับมาให้ใช้ได้ใหม่

ดังนั้นช่างซ่อมในโรงงานก็คอยรับมือกับเครื่องจักรพังในทุกๆวัน ทางทีมซ่อมก็จะมีหน้าที่เข้าไปแก้ไขปัญหานั้นให้เสร็จสิ้นเพื่อที่จะทำให้การผลิตสามารถเดินไปต่อได้ครับ

โดยประเภทงานซ่อมที่เข้าไปแก้ไขเครื่องจักรที่พังอยู่ ให้กลับมาใช้งานได้ เราจะเรียกว่า CM หรือ Corrective Maintenance นะครับ หรือบางที่จะใช้คำว่า BM (ไม่เป็นที่นิยมเรียกแล้ว) หรือ Break down maintenance ครับ

ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องจักรเสียหายอยู่แล้ว (ฺBreak down) ถ้าเป็นแบบนี้ทางทีมซ่อมต้องรีบหยิบประแจเข้าไปแก้ไขให้เร็วที่สุด ซึ่งในโรงงานหากงานประเภทนี้เยอะๆนะครับ วันหนึ่งวันแทบไม่ต้องทำอะไรเลยนั่งซ่อมเครื่องจักรกันอย่างเดียว

งานซ่อมแบบนี้ทุกโรงงานไม่ค่อยชอบแน่นอนครับ เพราะว่า จะได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งค่าซ่อม และโอกาสที่เสียไปสำหรับการผลิตสินค้าต่างๆครับ

แต่ก็สามารถลดได้หากมีแผนงานซ่อมอีกสองแบบหลังที่ดี หรือการบริหารเชิงวิศวกรรมที่ดี

02. Preventive Maintenance

Preventive Maintenance หรือ การบำรุงรักษาเชิงป้อง โดยความหมายคือ เป็นการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน โดยจะเข้าไปทำกิจกรรมงานซ่อมต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องจักรพัง โดยที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้ครับ

โดยขอเล่าเป็นประวัติ timeline นะครับเพื่อความเข้าใจ ในยุคโรงงานแรกๆเนี่ย โรงงานก็จะเป็นแบบแรกคือ Reactive maintenance โดยจะเดินเครื่องจักรไปเรื่อยๆจนมันพัง พอเครื่องจักรพังเสร็จก็รีบไปซ่อม พอซ่อมเสร็จก็กลับไปใช้ และวนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ ครับ

แต่ว่า เพื่อนๆรู้มั้ยครับ “เวลาเราปล่อยเครื่องจักรพังเลยเนี่ย ค่าซ่อมมันจะแพงกว่าที่เรารีบซ่อมก่อนที่มันจะพัง” และเรื่องประสิทธิภาพเวลาเราซ่อมก่อนที่มันจะพังเนี่ยประสิทธิภาพก็จะดีกว่า เพราะว่า ชิ้นส่วนด้านในเครื่องจักรที่สำคัญยังไม่พังเสียหายมากครับเวลาเรารีบเข้าไปซ่อมก่อน

ดังนั้นโรงงานจึงวางแผนซ่อม และบำรุง ก่อนที่เครื่องจักรตัวนั้นจะพัง เพราะต้นทุนงานบำรุงรักษา ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของตัวเครื่องจักรในโรงงานจะดีกว่า โดยจะกำหนดเวลาที่เหมาะสมเข้าไป บำรุงรักษา และซ่อม

ยกตัวอย่างเช่นมีปั้ม 1 ตัว เราอาจจะกำหนดแผน การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุก 6 เดือน และถอดออกมาซ่อม (Overhaul) ทุกๆ 4 ปีเป็นต้นครับ

03. Proactive Maintenance

Proactive maintenance หรือ การบำรุงเชิงรุก เรียกได้ว่าเป็นที่สุดในการกำหนดกลยุทธ์ในการซ่อม และบำรุงรักษา (บนสุดของยอดพีระมิดงานซ่อม) ซึ่งจะเป็นการผสมผสานงานซ่อมทั้งในแบบ Reactive maintenance และ Preventive maintenance โดยใช้ศาสตร์ในการคาดการณ์ Predictive Maintenance และ Condition base monitoring มากำหนดช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการเข้าไปซ่อม เพื่อลดต้นทุนงานซ่อมให้มากที่สุดครับ

ขอยกตัวอย่างอย่างง่ายจะหัวข้อเมื่อกี้นะครับ ที่เราจะตัดสินใจซ่อมปั้มทุก 4 ปี คำถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไวเกินไป หรือช้าเกินไป ซึ่งล้วนแล้วแต่กระทบต่อต้นทุนผลิตของโรงงานทั้งนั้น ดังนั้น Proactive maintenance จะเป็นคำตอบสำหรับโรงงานที่จะลดต้นทุนในงานซ่อม อย่างเหมาะสมที่สุด (Cost Optimization)

เมื่อเพิ่มแผนการดูแลเครื่องจักร อย่างเหมาะสมต้นทุนในงานซ่อมจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

โดย Proactive maintenance จะเข้าไปจัดการถึงต้นตอของปัญหาเครื่องจักรจริงๆ (Root cause of machine failure) เพราะในหลายๆโรงงานจะมีเครื่องจักรบางตัวพังบ่อยๆ ปีนึงหลายๆครั้ง หรือที่เราเรียกว่า Bad actor ซึ่งการเสียหายบ่อยๆ อาจจะเกิดตั้งแต่การทำ engineering และการออกแบบไม่เหมาะสมตั้งแต่แรกทำให้ซ่อมเท่าไหร่ก็ไม่หาย เป็นต้นครับ

หรือการเข้าไปวัดคุณภาพของเครื่องจักร ณ เวลานั้นจริงๆ ว่าถึงเวลาสมควรแล้วรึยังที่ต้องซ้อม หรือที่เรียกว่า CBM หรือ Condition Base Monitoring เช่นงานวัด Vibration monitoring เป็นต้นครับ

ซึ่งรวมไปถึงการเก็บข้อมูลต่างๆ ในงานซ่อม ไม่ว่าจะเป็นอายุใช้งานเครื่องจักร เวลางานซ่อม ค่าซ่อม ต่างๆ เพื่อมาใช้วิเคราะห์เชิงสถิติ ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบ CMMS (Computerized Maintenance Management System) เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ และวิเคราะห์ปัญหางานซ่อมโดยองค์รวมครับผม

ระบบจัดการ CMMS ที่คอยจัดการ บริหาร และวิเคราะห์งานซ่อมและการบำรุงรักษา

ดังนั้นเพื่อนๆจะเห็นได้ว่า การบริหาร และจัดการงานซ่อมจะส่งผลกระทบโดยตรงกับการผลิต และต้นทุนของโรงงานโดยตรงนะครับ

================================================================

และสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณโปรแกรม Factorium โปรแกรมบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงบนสมาร์ทโฟน สำหรับโรงงานยุค 4.0

ถ้าสนใจใช้งานซอฟแวร์ซ่อมบำรุงฟรี สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งนี้เลยครับ

>> http://bit.ly/ArticleCMMS <<

================================================================

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ Factorium แชร์ นะครับ

Website: https://www.factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/386654832130754/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw

Cr. บทความจากนายช่างมาแชร์

ไม่มีความเห็นที่จะแสดง