Petroleum (ปิโตรเลียม) – อุตสาหกรรมพลังงานในชีวิตประจำวัน

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ Petroleum เพื่ออุตสาหกรรมในชีวิตประจำวัน ระบบจัดการงานซ่อมบำรุง CMMS แอพซ่อมบำรุง โปรแกรมซ่อมบำรุง ซ่อมโรงงาน ซ่อมเครื่องจักร แผน PM Computerized Maintenance Management System

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีแนวโน้มน้ำมันราคาสูงขึ้นในยุคปัจจุบัน วันนี้ Factorium จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักกันว่า “จาก Petrolium สู่พลังงานอุตสาหกรรม” ให้เราใช้มีกระบวนการเกิด การค้นพบ และทำงานอย่างไรบ้าง..

ภาพ : Petroleum คืออะไร?

Petroleum ปิโตรเลียม คืออะไร ? มารู้จักเบื้องต้นไปพร้อมๆกันค่ะ

Petrolium คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการทับถม และแปรสภาพของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในชั้นหินภายใต้ความร้อนและความดันมหาศาล ที่ในปัจจุบันความต้องการของพลังงานยิ่งทวีคูณขึ้น สูงขึ้น กิจวัตรประจำวันต่างๆ รวมทั้งภาคอุตสากรรมใหญ่ๆ หรือโรงงานผลิตไฟฟ้า ก็ต้องพึ่งพาพลังงานเหล่านี้เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน

รู้ไหมว่าสถานะตามธรรมชาติของ Petroleum แบ่งได้กี่ชนิด ?

Petrolium แบ่งตามสถานะในธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ (Crude Oil) และก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) 

ภาพ : Petrolium ธรรมชาติแบ่งได้ 2 ชนิด

น้ำมันดิบ (Crude Oil) มีสถานะตามธรรมชาติเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่าย แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามคุณสมบัติ และชนิดของไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบอยู่ คือ
1. น้ำมันดิบชนิดที่ไม่มีไขมาก (Paraffin base)
2. น้ำมันดิบชนิดที่มียางมะตอยมาก (Asphalt/naphthenic base)
3. น้ำมันดิบชนิดผสม (Mixed base) เป็นน้ำมันดิบพื้นฐานชนิดผสมกันระหว่างชนิดมีไขมากและชนิดที่มียางมะตอยมาก

ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) มี 2 ชนิดคือ
1. ก๊าซแห้ง (Dry gas) มีน้ำหนักเบาสุด มีองค์ประกอบเป็นมีเทนซะส่วนมาก
2. ก๊าซเปียก (Wet gas) มีองค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติเหลว เช่น อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน

มีเชื้อเพลิงอะไรบ้างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน..

ภาพ : เชื้อเพลิงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

น้ำมันเบนซิน (Gasoline)เชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์
น้ำมันก๊าด (Kerosene) เชื้อเพลิงสำหรับรถแทรกเตอร์ และงานเคลือบเครื่องปั้นดินเผา
น้ำมันดีเซล (Diesel) เชื้อเพลิงที่ใช้กับรถแทรกเตอร์ หัวจักรรถไฟ รถบรรทุก รถโดยสาร เรือประมง
น้ำมันเตา (Fuel oils) เชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์เรือเดินสมุทร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่
แก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้ม (LPG) เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการหุงต้ม และเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้

มาดูเส้นทางการค้นหาพลังงานที่เราใช้ในปัจจุบันกันดีกว่าค่ะ ว่ามีการสำรวจหา Petroleum อย่างไรบ้าง

การสำรวจปิโตรเลียมนั้นจะเป็นไปด้วยความยาก และหลากหลายขั้นตอนกว่าจะได้พื้นที่สำหรับการสำรวจนั้นต้องมีการหาข้อมูลมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับขนาด รูปทรง ระดับความลึกจากพื้นผิวโลก ที่สำคัญคือต้องมีการประเมินคุณภาพของปิโตรเลียมด้วยนะคะ ว่ามีความเหมาะสมในการดำเนินการต่อไปหรือไม่

ภาพ : เส้นทางการสำรวจหา Petrolium

วันนี้เราจะพามารู้จักกับ 3 ขั้นตอนการสำรวจแบบง่ายๆ แต่ลงลึกไปที่ขั้นตอนสุดท้ายหรือที่เรียกว่า “ขั้นตอนการเจาะสำรวจ” ขั้นตอนที่มั่นใจได้ว่าเจอปิโตรเลียมแน่นอน! มาดูพร้อมๆกันนะคะว่าขั้นตอนดังกล่าวจะมีการทำงานอย่างไร และอุปกรณ์ใดบ้างในการค้นหา

มาเริ่มกันที่ ขั้นที่ 1 การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Explorations) เป็นการสำรวจเบื้องต้น ด้านธรณีวิทยาปิโตรเลียม เพื่อหาลักษณะรูปแบบการวางตัวของชั้นหิน ชนิดของหิน อาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์

ส่วนขั้นที่ 2 การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysics Explorations) เป็นการสำรวจเพื่อหาข้อมูลรูปแบบการวางตัวของชั้นหินใต้ผิวโลก โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกันของชั้นหินการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ มีหลายวิธี ดังนี้
– การวัดความเข้มสนามแม่เหล็กโลก
– การวัดค่าความโน้มถ่วงของโลก
– การวัดค่าความไหวสะเทือน

ขั้นตอนสุดท้ายคือ ขั้นที่ 3 การเจาะสำรวจ (Drilling) ที่บอกให้รู้ถึงความยากง่ายของการขุดเจาะเพื่อนำปิโตรเลียมมาใช้ และบอกให้รู้ว่าสิ่งที่กักเก็บอยู่เป็นแก๊สธรรมชาติหรือน้ำมันดิบมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หากยืนยันได้ว่ามีปริมาณเพียงพอก็เริ่มทำการขุดเจาะในขั้นต่อไป

ทั้งนี้อุปกรณ์ในการขุดเจาะล้วนแล้วแต่ต้องการการบำรุงรักษาที่ดีอยู่เสมอ หากเครื่องมือที่ใช้เกิดการเสียหาย เก่าแก่ อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ เช่น เศษหินที่กลายเป็นฝุ่นลอยในอากาศ การรั่วไหลของก๊าซ หรือปิโตรเลียมที่ถูกดันขึ้นมาระหว่างที่เครื่องมือการเจาะสำรวจชำรุดได้

โดยอุปกรณ์และเครื่องมือในขั้นตอนที่ 3 นั้นจะเป็นกลไกของเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความแม่นยำและง่ายต่อการสำรวจค่ะ มาดูกันว่าประกอบไปด้วยเครื่องมืออะไรบ้าง

เครื่องมือที่ 1 แท่นเจาะ (Drilling Rig)ความยากง่ายของกระบวนการเจาะจะเป็นตัวกําหนดระดับของความซับซ้อนของแท่นเจาะเอง โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ 
บนบก (Onshore) และในทะเล (Offshore) ได้แก่ แท่นขุดเจาะแบบน้ำตื้น (SwamBarge), แท่นขุดเจาะแบบยกขาตั้ง (Jack-up), แท่นขุดเจาะแบบเทนเดอร์ (Tender Rig), แท่นขุดเจาะแบบลอยตัวกึ่งจม (Semi-Submersible), เรือขุดเจาะน้ำลึก (Drill Ship)

2.เครื่องมือที่ 2 เครื่องขุดเจาะ (Drill String) เพื่อการสํารวจปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล มีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน คือเป็นสว่านหมุน โดยมีอุปกรณ์สำคัญหลักๆ อยู่ 2 ชิ้น  เป็น หัวเจาะ (Drill bit) และก้านเจาะ (Drill pipe)

ครื่องมือที่ 2 ในการสำรวจ Petroleum นั้นมีการใช้หัวเจาะถึง 2 แบบ

Roller cone bit มี 3 Cone ซี่บน Cone ทำด้วย Tungsten Carbine มีการทำงานด้วยการหมุนก้านเจาะ หัวเจาะจะหมุนขบกันไปเรื่อยๆ กลไกในการขุดจะเป็นแบบ Crunching หรือ Hammering ซี่บนหัวเจาะจะทำให้หินแตกออกมา ยิ่งน้ำหนักกดมาก หินยิ่งแตกง่าย

Fixed-cutter bit หรือ PDC (Polycryterized Diamond Compact) หัวเจาะแบบ PDC ใช้หลักการเฉือน หรือ Shear ตัว Cutter จะปาดหินออกเป็นชิ้นๆ 

ภาพ : หัวขุดเจาะ

ส่วนก้านเจาะ (Drill pipe) ที่เหมือนท่อธรรมดาแต่การทำงานไม่ธรรมดา

พื้นฐานส่วนใหญ่ของก้านเจาะจะใช้กันอยู่ที่ขนาด 3.5 นิ้ว 4 นิ้ว หรือ 5 นิ้ว เป็นท่อนตรงกลาง ยาวท่อนละประมาณ 10 เมตร และเพื่อให้เจาะได้ลึกตามต้องการ จึงต้องนำก้านเจาะแต่ละท่อนมาขันเกลียวต่อกันให้ยาวยิ่งขึ้น

ท่อที่ต่อกันแล้วจะปั๊มน้ำโคลนลงไปผ่านทางก้านขุดไปออกทางรูจมูก (nozzle) ของหัวขุด ปั่นหมุนก้านขุดที่ปลายด้านบนแท่นลงบนชั้นหิน

ภาพ : ก้านเจาะคืออะไร

โดยการสำรวจปิโตรเลียม ต้องมีการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล (Oil Spill) ลงสู่พื้นที่ชุมชน และทะเล ต้องหมั่นตรวจสอบให้ระบบการทำงานของเครื่องจักร หัวจักรที่ทำการขุดเจาะสมบูรณ์ 100% อยู่เสมอ

แน่นอนว่าเครื่องจักรเองก็มีระยะเวลาการใช้งานที่มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน หากใช้งานโดยขาดการสังเกตุ ถูกละเลยหรือลืมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และขาดการบำรุงรักษาที่ดี การทำงานของเครื่องจักรอาจหยุดชะงักจนทำให้เกิดปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้

การหมั่นตรวจ Check ระบบการทำงานของเครื่องจักร หัวจักร และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก 

เห็นไหมคะว่า..กว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากปิโตรเลียมสู่พลังงานให้เราใช้กันในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยค่ะ ต้องมีการลงแรง ลงทุนอุปกรณ์เครื่องจักร และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้สมบูรณ์และมีความพร้อมในการทำงานอยู่เสมอ

ป้องกันข้อผิดพลาดในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วย Factorium CMMS

ภาพ : Factorium CMMS

จะดีกว่าไหมหากเปลี่ยนงานซ่อมบำรุงให้เป็นเรื่องง่ายด้วย Factorium CMMS บริหารงานซ่อม ให้มีประสิทธิภาพด้วยการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ พร้อมฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้กับงานด้วยการแจ้งเตือนแบบ Realtime เพิ่มความสะดวกให้ทุกการทำงาน

คลิก!เพื่อทดลองใช้งานฟรี 3 เดือน

หากสนใจสามารถทดลองใช้ Freemium Factorium CMMS ได้ฟรีผ่านทาง IOS และ Android หรือกดที่ Link https://free.systemstone.com ได้เลยค่ะ เรายังมีโปรโมชันพิเศษจาก Factorium CMMS และบางจาก สำหรับเพื่อนๆทุกโรงงาน แค่เปลี่ยนมาใช้น้ำมันบางจาก รับส่วนลดเน้นๆ สูงสุด 100% (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด)

แอปซ่อมบำรุง Factorium CMMS promotion
ภาพ : โปรโมชั่นบางจากและFactorium CMMS

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และวิชาการธรณีไทย

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw