“ฮีทสโตรก” จากการทำงาน

  “ฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือโรคลมแดด” คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีอุณหภูมิมากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป ฮีทสโตรกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆ มาจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อนจัด ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ผ่านทางเหงื่อมากขึ้น หากไม่ดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทน อาจทำให้เกิดภาวะฮีทสโตรกได้ ซึ่งในบางครั้ง ร่างกายของเราไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ส่งผลให้เกิดอาการ และส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติหรือล้มเหลว จนนำไปสู่การเกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต ปอด หรือกล้ามเนื้อ โดยฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดมักเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือในพื้นที่ที่มีความชื้นในอากาศสูง ถือเป็นโรคร้ายใกล้ตัวที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำการป้องกัน โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) สำหรับคนที่ทำงานกลางแจ้ง ควรเลี่ยงการสวมชุดที่มีสีเข้ม ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ เข้าพักในที่ร่มเป็นระยะ และหากสูญเสียเหงื่อมาก ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ เน้นย้ำโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด เป็นต้น อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมถึง เด็กและหญิงตั้งครรภ์ ต้องระมัดระวังเช่นกัน

ภาพที่ 1 : ฮีทสโตรกคืออะไร

ประเภทของฮีทสโตรก

ภาพที่ 2 : ปรเภทของฮีทสโตรก

1. โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลัง (Exertional heatstroke) เกิดจากการออกกําลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน โดยมีอาการคล้ายกับ Nonexertional แต่ต่างกันตรงที่จะมีเหงื่อออก พร้อมกับมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบินในปัสสาวะด้วย ซึ่งจะพบมากในหมู่กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มเหล้าจัด และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

    2. โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลัง (Nonexertional or classic heatstroke) เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นเป็นเวลานาน ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังมักจะไวต่อการเป็นโรคลมแดดประเภทนี้ โดยมีอาการที่สำคัญ คือ อุณหภูมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ

    ผลกระทบระยะยาวของ ฮีทสโตรก

    ฮีทสโตรก เป็นภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาหรือรักษาไม่ทันท่วงที ระบบภายในร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ตับทำงานผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อโครงร่างสลาย เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย เซลล์ประสาทถูกทำลายอย่างถาวร เสี่ยงต่อการทุพพลภาพในระยะยาวได้

    ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็น ฮีทสโตรก

    ภาพที่ 3 : ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยง

    1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ 

    2. ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว 

    3. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน

    4. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

    5. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน

    6. ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน

    7. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์

    อาการของ ฮีทสโตรก

    ภาพที่ 4 : อาการของฮีทสโตรก

    แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก

    1. เมื่ออุณหภูมิร่างกายที่วัดจากภายในร่างกาย สูงตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

    2. พฤติกรรมหรือสภาพจิตใจเปลี่ยนไป เช่น สับสนเฉียบพลัน หงุดหงิดฉุนเฉียว พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ ชัก หรือโคม่า

    3. หากเป็นโรคลมแดดจากอากาศร้อน ผิวจะแห้งและร้อนจัด

    4. หากเป็นโรคลมแดดจากการออกกําลังกายอย่างหนัก ผิวจะแห้งและชื้นเล็กน้อย

    5. คลื่นไส้และอาเจียน

    6. ผิวหนังแดงขึ้น

    7. หมดแรงอ่อนเพลีย

    8. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

    9. กระหายน้ำอย่างรุนแรง

    ระยะที่สอง

    1. ชักเกร็ง หมดสติ

    2. หัวใจล้มเหลว

    3. เสียชีวิต

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    ภาพที่ 5 : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรก สามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ดังนี้

    1. รีบนำผู้ป่วยเข้าร่มและต้องเป็นพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง

    2. จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น

    3. คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อช่วยร่างกายระบายความร้อน

    4. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณซอกคอ ลำตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย และใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน

    5. หากผู้ป่วยยังมีสติ ให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

    6. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการหายใจที่ผิดปกติ ต้องทำ CPR และโทร 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

    ทั้งนี้ ฮีทสโตรกนั้นจะนำมาซึ่งอาการที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง สิ่งที่เราควรจะทำเพื่อทำให้ตัวเรารอดพ้นจากอาการดังกล่าวนี้คือ การเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากโรคฮีทสโตรกนั่นเอง ซึ่งจะมีวิธีสามารถป้องกัน ฮีทสโตรก ได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน เป็นต้น รวมทั้งเด็ก และหญิงตั้งครรภ์ โดยควรปฏิบัติดังนี้

    1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแดดจัดต่อเนื่องนานเกินไป

    2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ เพื่อรักษาความชื้นในร่างกาย หากสูญเสียเหงื่อมากควรดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่

    3. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    4. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อน อับ และถ่ายเทไม่ดี

    5. สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงใส่เสื้อผ้าสีทึบดำ เพราะจะสะสมความร้อนได้ ควรเลือกเสื้อผ้าสีอ่อน และไม่รัดแน่นจนเกินไป

    6. ห้ามทิ้งใครไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแดด โดยเฉพาะเด็กเล็ก รถที่จอดตากแดดโดยไม่เปิดเครื่องปรับอากาศอาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้เร็วมากภายใน 10-20 นาที

    7. ไม่ควรอยู่ กลางแจ้ง คนเดียว ควรอยู่เป็นกลุ่ม เพราะหากมีอาการผิดปกติจะได้มีคนช่วยเหลือได้ทัน

    8. หากเป็นไปได้ ลดการทำงานหนัก หากคุณต้องทำงานนานๆ ควรมีการพักเพื่อลดฮีทสโตรก

    ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ฮีทสโตรก ถือว่าเป็นภัยร้ายแรงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนเราในปัจจุบันได้อย่างมากมาย อาจถึงขั้นเจ็บป่วยสะสมและเสียชีวิตได้เลย เพราะอาการของมันจะทำให้ผู้ที่มีลักษณะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ได้รับความทรมานจากอุณหภูมิในร่างกายที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในผู้ที่ปฎิบัติงานกับความร้อนร่วมกับอากาศที่ร้อน ควรที่จะมีการสลับเวลาทำงานกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ เพื่อป้องกันการทำงานกับความร้อนเป็นระยะเวลานาน และเสี่ยงต่อการเป็นฮีทสโตรกเป็นอย่างมาก

    เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาตนเอง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศร้อนเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาตนเอง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศร้อนเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่ควรปฎิบัติอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง นอกจากนี้ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) จาก JorPor Plus  เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญที่หัวหน้างานหรือเจ้าของงานจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงให้กับผู้ปฎิบัติงานก่อนเข้าทำงาน ว่าขณะนั้นอุณหภูมิความร้อนจากการทำงาน เกินจากที่มาตรฐานกำหนดหรือไม่  เพื่อประเมินความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานขณะทำงานนั้นเอง ทาง JorPor Plus พร้อมให้คำปรึกษาฟรี เพื่อพัฒนาให้องค์กรของคุณมีความปลอดภัยไปพร้อมกับเรา

    ให้คำปรึกษาฟรี!!!

    คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
    [email protected]
    061-5469615

    Website: https://factorium.tech/jorporplus/
    Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
    Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8