ป้ายความปลอดภัยในโรงงาน “Safety Sign”

“ป้ายความปลอดภัย” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการสร้างความปลอดภัย เราจะพบสัญลักษณ์ความปลอดภัยได้ในพื้นที่ที่มีอันตรายโดยส่วนมาก เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล บนท้องถนน เขตก่อสร้าง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตราย จำพวกห้องเก็บสารเคมี ห้องควบคุมไฟฟ้า พื้นที่อับอากาศ เป็นต้น ป้ายความปลอดภัยใช้ในการเตือนผู้ปฏิบัติงานถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์นิรภัยและทางออก รวมไปถึงการให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยที่สำคัญอื่นๆ ป้ายความปลอดภัยนั้นจะมีรูปร่าง ขนาด และสีที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามสิ่งที่ป้ายต้องการจะสื่อ อีกทั้งยังอาจจะมีสัญลักษณ์หรือคำต่างๆ ในป้าย แต่หลักๆ แล้วจะมีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ต้องใช้เป็นประจำจำนวน 4 ประเภท ได้แก่

– เครื่องหมายห้าม (Prohibition sign)

เครื่องหมายบังคับ (Mandatory sign)

– เครื่องหมายเตือน (Warning sign)

– เครื่องหมายแสดงภาวะปลอดภัย (No danger sign)

สีเพื่อความปลอดภัยและสีตัด

คือ สีที่ถูกกำหนดไว้เพื่อแสดงว่าบริเวณหรือพื้นที่ หรือวัตถุสิ่งของเหล่านั้นห้ามไม่ให้กระทำหรือสามารถกระทำการได้ ซึ่งมีข้อกำหนดไว้ทั้งหมด 4 สี ได้แก่

สีแดง หมายถึง ป้ายห้ามหรือหยุดกระทำการใด ๆ อย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืนอาจเกิดอันตรายได้

สีเหลือง หมายถึง ป้ายเตือน ให้ผู้รับสารมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

สีน้ำเงิน หมายถึง ป้ายบังคับ ให้ต้องปฏิบัติตาม เช่น การสวมใส่ชุดหรืออุปกรณ์ก่อนเข้าทำงาน

สีเขียว หมายถึง ป้ายแสดงสภาวะหรือบริเวณพื้นที่ปลอดภัย

ส่วนเรื่องของสีตัด คือสีที่จำเป็นต้องใช้แสดงร่วมบนป้ายหรือสัญลักษณ์นั้น เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนไม่สับสน โดยกำหนดให้ป้ายสีแดง, น้ำเงิน และเขียว ให้ใช้สีขาวเป็นสีตัด และส่วนป้ายสีเหลืองให้ใช้สีดำเป็นสีตัด

ประเภทของ ป้ายความปลอดภัย ในโรงงานอุตสาหกรรม

ป้ายเตือน

ภาพที่ 1 : ตัวอย่างป้ายเตือนความปลอดภัย

ป้ายที่ใช้เตือนคนงานถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สถานที่อันตราย สภาวะอันตราย หรืออุปกรณ์อันตราย สัญลักษณ์ที่พบเห็นได้บ่อยมักจะเป็น สามเหลี่ยมที่มีเครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือหัวกะโหลกไขว้ 

ป้ายห้าม

ภาพที่ 2 : ตัวอย่างป้ายห้าม / หยุด / ต้องไม่ทำ

ป้ายห้ามใช้เพื่อระบุว่าการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างเป็นสิ่งต้องห้าม หากละเมิดอาจจะมีบทลงโทษหรือเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้กระทำ สัญลักษณ์ที่พบเห็นได้บ่อยมักจะเป็น วงกลมที่มีเครื่องหมายทำ หรือวงกลมสีแดงที่มีเส้นทแยงมุม

ป้ายบังคับ

ภาพที่ 3 : ตัวอย่างป้ายบังคับ / ต้องทำ / ให้ปฏิบัติ

ป้ายบังคับใช้เพื่อระบุว่าต้องมีการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นในบริเวณนั้น เช่น ต้องใส่ถุงมือ ต้องใส่แว่นตา ฯลฯ สัญลักษณ์ที่พบเห็นได้บ่อยมักจะเป็น สัญลักษณ์เฉพาะทางเพื่อระบุสิ่งที่ต้องการจะสื่อ

ป้ายฉุกเฉิน

ภาพที่ 4 : ตัวอย่างป้ายฉุกเฉิน แสดงเกี่ยวกับอัคคีภัย

ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น อุปกรณ์ปฐมพยาบาล PPE บางชนิด อุปกรณ์ดับเพลิง รวมไปถึงใช้เพื่อระบุทางออก สัญลักษณ์ที่พบเห็นได้บ่อยมักจะเป็น สามเหลี่ยมสีแดงพร้อมเครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือรูปคนกำลังวิ่งสีเขียวสำหรับระบุทางออกฉุกเฉิน 

ป้ายความปลอดภัย / ปฐมพยาบาล

ภาพที่ 5 : ตัวอย่างป้ายความปลอดภัย แสดงสภาวะการไปสู่ความปลอดภัย

ใช้สำหรับการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ปฐมพยาบาลหรือบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการปฐมพยาบาลมาแล้วและสามารถเข้ารับการปฐมพยาบาลในบริเวณที่มีป้ายนี้ได้ หรือป้ายแสดงถึงสภาวะความปลอดภัย สัญลักษณ์มักจะเป็นกากบาทสีขาวบนพื้นสีเขียว หรือกากบาทสีแดงบนพื้นสีขาว

ป้ายความปลอดภัยที่ดีต้องเป็นอย่างไร ?

1. เลือกป้ายความปลอดภัยที่เหมาะสมกับอันตราย หรือสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ เช่น ป้ายเตือนรูปกะโหลกและกระดูกไขว้ จะสามารถเตือนพนักงานถึงสารเคมีอันตรายได้ดีกว่าการแค่แปะป้ายเตือนว่าสารเคมีอันตราย สี สัญลักษณ์ รูปร่าง จะมีผลที่เห็นได้ชัดอย่างมากในเชิงจิตวิทยา 

2. ใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุม หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคหรือคำที่ซับซ้อนซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตีความผิดๆ ได้ จึงแนะนำให้ใช้สี สัญลักษณ์ แทน 

3. ดึงดูดสายตา อ่านง่าย แนะนำให้ใช้สีที่ตัดกัน ตัวอักษรหนา ชัดเจน 

4. วางป้ายไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับป้ายความปลอดภัยในที่ทำงาน

1. มอก.635-2554 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สี และ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสีที่ใช้ในการชี้บ่งความปลอดภัยและหลักการออกแบบเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยที่ใช้ในสถานที่ทำงานและพื้นที่สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนภัย หรือให้ข้อมูลในการป้องกันอุบัติเหตุ อัคคีภัย อันตรายที่เกี่ยวกับสุขภาพ และอพยพฉุกเฉิน รวมถึงใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการจัดทำมาตรฐานที่มีเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย แต่ไม่รวมเครื่องหมายทางการจราจร ซึ่งในส่วนของ มอก.635-2554 ได้กำหนดประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยเป็น 5 ประเภท ดังนี้

– เครื่องหมายห้าม

– เครื่องหมายบังคับ

– เครื่องหมายเตือน

– เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย

– เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย

2. ANSI Z535 เป็นมาตรฐานจาก American National Standards Institute กำหนดแนวทางสำหรับการออกแบบ สี และเค้าโครงของป้ายความปลอดภัย รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการใช้สัญลักษณ์ ข้อความ และองค์ประกอบภาพอื่น ๆ บนป้ายความปลอดภัย ถึงแม้ว่า ANSI จะไม่ได้บังคับใช้แต่บริษัทส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติตามมาตรฐานของ ANSI เนื่องจากว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับมาตรฐานการให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการทำงาน ANSI จะมีการอัพเดทมาตรฐานทุกๆ 5 ปี ซึ่งในปี 2017 ได้มีการอัพเดทมาตรฐานสำหรับสีเพื่อความปลอดภัย (Z535.1) ปัจจุบัน ANSI Z535.1-2017

3. ISO 7010 มาตรฐานสากลนี้เผยแพร่โดย International Organization for Standardization (ISO) กำหนดแนวทางสำหรับการออกแบบและการใช้ป้ายความปลอดภัยในสถานที่ต่างๆ ซึ่งรวมถึงในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้คนเห็นและต้องตระหนักถึงการเกิดอุบัติเหตุและความปลอดภัย ครอบคลุมถึงข้อกำหนดสำหรับการใช้สี รูปร่าง และองค์ประกอบภาพอื่นๆ บนป้ายความปลอดภัย 

ความสำคัญของการใช้ป้ายความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

การใช้ป้ายความปลอดภัยที่เหมาะสมและถูกต้องในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงานให้แก่คนงาน ทำให้คนงานสามารถระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ส่งผลให้คนงานสามารถระวังตัวพร้อมเลือกใช้มาตรการเพื่อป้องกันตัวเองได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยเตือนคนงานเกี่ยวกับขั้นตอนและระเบียบด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือความบาดเจ็บระหว่างทำงานได้อีกด้วย

 ดังนั้นไม่เพียงแต่จะมีการติดป้ายตามจุดต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องปฏิบัติตามป้ายความปลอดภัยที่กำหนดไว้ เช่น การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ก่อนเข้าพื้นที่ที่มีการจัดเก็บสารเคมี หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ห้ามเข้าในพื้นที่ที่มีการจัดเก็บสารเคมี ทั้งนี้ JorPor Plus มีตัวช่วยดีๆ อย่างระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) จาก JorPor Plus เพื่อให้พนักงานมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและดี ทาง JorPor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
[email protected]
061-546961

Website: https://factorium.tech/jorporplus/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8