การเพิ่มประสิทธิผลการผลิตในภาค อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรม ยานยนต์

เพิ่มประสิทธิผลการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์

ภาพ อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

ความสำคัญของ อุตสาหกรรมยายนต์

เรียกได้ว่า อุตสาหกรรมยานยต์ นั้นได้ว่ามีความสำคัญใหการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้มีความก้าวหน้า ในขณะเดียวกันในปี 2563 ที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีที่มีความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์เนื่องจากเกิดผลกระทบจากโควิด-19 นั้นได้ส่งผลกระทบในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในผลกระทบเหล่านี้ภาคอุตสาหกรรมยายนต์นั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ในปี 2564 นี้ทางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งมีการคาดการณ์แนวโน้ม ตลาดรถยนต์ปีนี้โดย คุณ โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย คาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14%การจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศ ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2563

ภาพ การคาดการณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์

ซึ่งจากข้อมูลการวิเคราะห์แล้ว แต่ก็ยังถือว่าเป็นผลกระทบที่ไม่มาก เพราะในการผลิตชิ้นส่วนนั้นมีความต้องการสูงเนื่องจากพฤติกรรมในการซื้อรถยนต์นนั้นมีเพิ่มมากขึ้นและประกอบกับการที่อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์นั้นต้องมีการหยุดการผลิตในชั่วคราว โดยมีแนวโน้มของความต้องการในชิ้นส่วนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงทำให้การผลิตนั้นจำเป็นต้องเร่งการผลิตเมื่อการผลิตที่มากขึ้นอาจจะส่งผลทำให้ประสิทธิผลการผลิตลดลง ดังนั้นการซ่อมบำรุงรักษาจึงเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ดังนั้นเราจึงขอพาท่านไปศึกษาถึงความเป็นมาของการเพิ่มประสิทธิผลการผลิต ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ว่าจากที่เมื่อก่อนนั้นยังไม่มีแผนการเพิ่มประสิทธิผลนั้นเกิดอะไรขึ้น ปัญหาเหล่านั้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์นั้นอย่างไรบ้าง?

ความเป็นมาของการเพิ่มประสิทธิผลของ อุตสาหกรรมยานยนต์

การที่เราจะมาคุยกันเรื่องการเพิ่มประสิทธิผล เราควรทำความเข้าใจความเป็นมาของการเพิ่มประสิทธิผลกันก่อน

อุตสาหกรรมการผลิตในยุคแรกจะเน้นใช้แรงงานของคนเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ ซึ่งยังไม่มีแผนการเพิ่มผลผลิตแต่อย่างใด ทำให้คนงานทำงานโดยไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะ และไม่มีความถนัดหรือความสามารถเฉพาะทางในงานที่ทำ ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำ หรือมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพ อุตสาหกรรมยุคแรกที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก

          

ความเป็นมาและแนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตนั้น เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2454 โดย เฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ (Federick W.Taylor) ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้ทําการศึกษาเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสิ้นเปลืองวัตถุดิบและพลังงานในกระบวนการผลิตที่มีสาเหตุมาจากการที่คนงานปฏิบัติงานไม่ตรงกับความรู้ความสามารถและความถนัด ตลอดจนขาดขวัญกําลังใจในการทํางาน รวมถึงการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ ทําให้ผลผลิตตกต่ำ Federick W.Taylor เน้นหลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของพนักงานและฝ่ายบริหาร ให้มองเห็นความจำเป็นในการนําหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารงาน ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหวในการทํางานของคนงาน และได้ประกาศแนวทางการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในหนังสื่อที่ชื่อว่า

ภาพ หลักการทำงาน 4 ประการ

Principles of Scientific Management สรุปเป็นหลักการทํางานได้ 4 ประการ คือ

1. พัฒนาระบบการผลิตด้วยการหาวิธีที่ดีที่สุด

2. คัดเลือกและจัดคนเข้าทํางานให้เหมาะสมกับงาน

3. จัดหาสิ่งจูงใจในการทำงาน

4. เน้นความชำนาญเฉพาะอย่างและแบ่งงานกันทำ

          ดังนั้น Federick W.Taylor ได้ให้แนวคิดด้านปริมาณงานเอาไว้ว่า ถ้ากําหนดปริมาณงานที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่มอบหมายก็จะส่งผลให้คนงานปฏิบัติงานได้เต็มความสามารถ ฝ่ายบริหารก็ไม่ต้องมีปัญหา เรื่องการทํางานของคนงานอีก ผลการศึกษาของ Taylor นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มผลผลิต

ซึ่งวันนี้เราจะมาผู้ถึงการเพิ่มประสิทธิผลการผลิตจากข้อที่ 1 กันนั้นก็คือ พัฒนาระบบการผลิตด้วยการหาวิธีที่ดีที่สุด สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์ คือหนึ่งในอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีความสำคัญในภาคธุรกิจ 

ความต้องการในอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นจากเดิม นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2564 ดังต่อไปนี้

ภาพ จำนวนการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคมปี 64


การผลิตรถยนต์ใน อุตสาหกรรมยานยนต์
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2564 มีทั้งสิ้น 122,852 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2563 ร้อยละ 37.52 เพราะฐานต่ำในปีที่แล้ว แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2564 ร้อยละ 8.49 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนใหญ่พบกับปัญหาขาดแคลนชิพที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญและชิ้นส่วนรถยนต์บางชิ้นในการผลิต จึงต้องชะลอการผลิตรถยนต์บางรุ่น(ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ซึ่งเรียกได้ว่าภาคอุสาหกรมมยานยนต์นั้นเป็นตัวแปรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและทั่วโลก

ความจำเป็นของการเพิ่มประสิทธิภาพผลการผลิตโดยรวม (OEE)

ยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพชัดเจน เช่น รถยนต์มีการแบ่งระดับชั้นที่มากขึ้นและลึกลงไปถึงรายละเอียด ตั้งแต่น้ำหนักไปจนถึงความปลอดภัยและความทนทาน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ผลิตยานยนต์และผู้จัดส่งวัตถุดิบยังต้องตอบสนองต่อความต้องการที่มากขึ้นเหล่านั้น ภายใต้อุปกรณ์อำนวยการผลิตที่มีอยู่เช่นเครื่องจักร ให้มีความปลอดภัยและสามารถทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการที่เราจะสามารถใช้สิ่งอำนวยการผลิตอย่างเครื่องจักรนั้นได้เต็มประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยนั้น สิ่งสำคัญคือการบำรุงรักษาเครื่องจักร เมื่อเครื่องจักรได้รับการรักษาที่ดีจะสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะเป็น จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเพิ่มประสิทธิการผลิต ตามคลิปด้านล่างนี้เลยครับ

วิดีโอ เพิ่มประสิทธิผลโดยรวม – OEE

จะเห็นได้ว่าคนเรามีการวัดประสิทธิภาพในการทำงานด้วยหลัก KPI เครื่องจักก็มีการวัดประสิทธิภาพในการทำงานเช่นเดียวกันนั้นก็คือการวัดประสิทธิผลของการผลิต หรือ Overall Equipment Effectiveness (OEE)

Overall Equipment Effectiveness (OEE): ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรที่มีความสามารถในการทำงาน หรือ ความสามารถของเครื่องจักรที่มีความสามารถในการผลิต คือวิธีการคำนวณความสามารถในการทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรภายในโรงงาน สรุปออกมาเป็นตัวเลข
โดยการคำนวณ OEE จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ

  1. อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability)
  2. ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency)
  3. อัตราคุณภาพ (Quality Rate)

ซึ่งอัตราการเดินเครื่อง นั้นจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากที่เกิดจากการที่เครื่องจักรหยุดการทำงานชั่วคราว หรือ Machine breakdown และจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้อุตสาหกรรมผลิตได้ไม่ตรงตามแผนที่วางไว้ จะดีกว่าหรือไม่ถ้าทางภาคอุตสาหกรรมนั้นมีผู้ช่วยที่เข้ามาช่วยวางแผนงานซ่อมบำรุง และแจ้งเตือนก่อนการที่เครื่องจักรจะหยุดทำงานชั่วคราวหรือทำให้เกิด Machine breakdown น้อยที่สุดเพื่อเพิ่มค่า OEE ให้เครื่องจักรทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลิตสินค้านั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ดังนั้นจะขอพาทุกท่าไปดูผู้ช่วยที่สำคัญในงานวางแผนงานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) หรือ งาน PMที่สามารถแจ้งเตือนข้อมูลแบบ Real time ช่วยเพิ่มค่า OEE ให้เครื่องจักร ดังนั้นเราจะขออธิบายการทำงานที่สำคัญของ Factorium CMMS กันว่าทำไมถึงต้องมีความจำเป็นกับทุกภาคอุตสาหกรรม

หลักการทำงานสำคัญของ Factorium CMMS ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลของเครื่องจักรในอุตสาหกรรม

หนึ่งในเครื่องมือในระบบงานซ่อมบำรุงที่ดีคือโปรแกรม CMMS ในส่วนนี้อธิบายให้เข้าใจง่ายก่อนเลยนะครับ ระบบ CMMS หรือ Computerized Maintenance Management System ซึ่งถ้าแปลตรงตัวเลยคือ ระบบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ งานซ่อมบำรุง เป็นงานที่มีความสำคัญในธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งต้องมีการใช้งานและบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรและเครื่องมือมีประสิทธิภาพอยู่ตลอด โปรแกรมซ่อมบำรุง Factorium CMMS คือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องจักร/เครื่องมือ อุปกรณ์การใช้งานต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือจัดการ ควบคุม วัดผล และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เมื่อเราได้เตรีมความพร้อมของงานซ่อมบำรุงไว้ก่อนแล้วก็จะทำให้อัตราการทำงานของเครื่องจักรมีประสิทธิภาพดีขึ้นไปด้วย ส่งผลทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีการหยุดชะงักการทำงานของการเครื่องจักร ส่งผลทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น เราจึงได้พัฒนาให้อยู่ในรูปแบบการทำงานของ Factorium CMMS Application ‘ที่ทำงานได้อย่างสะดวกโดยทำงานผ่านมือถือและครอบคลุมการทำงานของเครื่องจักรได้ทั้งโรงงาน

ภาพ ประสิทธิภาพการทำงานของ Factorium CMMS Application


ดังนั้นการมีโปรแกรมซ่อมบำรุง Factorium CMMS Application จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทำให้ อุตสาหกรรมยานยนต์สามารถขับเคลื่อนกำลังการผลิตสามารถผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้มากขึ้น และช่วยให้ลด Machine breakdown เพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เพราะการที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นเกิดการหยุดชะงักในการผลิต ก็จะส่งผลกระทบกับในภาคเศรษฐกิจทั้งในประเทศและอาจจะแผ่ขยายไปทั่วโลก ซึ่งแนวโน้มของอุตสาหกรรมยายนต์นั้นมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจึงจำเป็นที่ต้องเร่งการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่ที่อุตสาหกรรมยานยนต์จะมีผู้ช่วยที่ทำให้ค่า OEE ของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเพื่อเข้าไปแก้ไขได้ทันเวลา คุณพร้อมที่จะเปลี่ยนเพื่อผลลัพทธ์ที่ดีขึ้นแล้วหรือยัง?
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

รายละเอียดเพิ่มเติมพี่ๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ

Factorium CMMS Application ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงของคนรุ่นใหม่

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw