อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนี้พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่นั้นมักจะ แสวงหาสิ่งที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบันนี้เราได้ใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรรมต่างๆ ที่นับวันก็ยิ่งจะเข้ามามีบทบาทกับเรามากยิ่งขึ้น เป็นที่รู้กันดีว่าการบริโภคเกี่ยวกับสินค้าด้านเทดโนโลยีนั้นมีเพิ่มมากขึ้นซึ่งสินค้าเหล้านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากขาดชิ้นส่วน ในการผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นก็มาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจนั้น ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ Smart Electronics นั้นได้มีผลต่อเราเพิ่มมาขึ้นจนกลายเป็นเมกกะเทรนด์เลยก็ว่าได้ วันนี้ทาง Factorium CMMS ขอพาทุกท่านมาอ่านบทความที่ ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะ(SMART ELECTRONICS)
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นเสาหลักสำคัญในภาคการส่งออกของประเทศไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตสำคัญระดับโลกในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์และวงจรรวม (Integrated Circuits) อีกด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีเครื่องรับรู้ (Sensors) และวงจรรวม (Integrated Circuits) ที่มีขนาดเล็กลงและมีความซับซ้อนมากขึ้น ในด้านความพร้อมของแรงงาน ที่มีความชำนาญ ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานกว่า 753,000 คนในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต
ฐานการผลิตและการส่งออกที่แข็งแกร่ง
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDDs) รายใหญ่ของโลก โดยนับเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ของตลาดโลก ด้วยความสามารถทางการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยเป็นที่ยอมรับ และอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก
สถานการณ์อุตสาหกรรมลิเล็กทรอกนิกส์ ในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของไทยในปี 2564-2566 คาดว่าจะกลับมาขยายตัว
เนื่องจากการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G รวมทั้งยานยนต์อัจฉริยะที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสินค้าไฮเทคเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ Internet of Things (IoT) ทำให้ความต้องการแผงวงจรไฟฟ้า (Integrated Circuit: IC) และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive: HDD) เติบโตดี โดยเฉพาะ HDD ที่มีความจุสูงเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน Cloud computing และ Data center ในการจัดการกับ Big data ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงความต้องการสินค้า อาทิ PCs Notebooks Tablets และ Smartphones โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความจำเป็นที่ต้องทำงานและศึกษาในระยะทางไกลท่ามกลางภาวะโรคระบาด ขณะที่ปัญหาการขาดแคลน IC
สถานการณ์ของปี 2563 เรียกได้ว่ามีความท้าทายต่อ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอย่างมากปี 2563
อุตสาหกรรม IC ของไทยซบเซา สะท้อนจากดัชนี MPI ที่ขยายตัวเพียง 1.0% ขณะที่มูลค่าส่งออกหดตัว 5.7% มีมูลค่า 7.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบซึ่งเป็นปัญหาด้าน Supply disruption จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายประเทศที่เป็นซัพพลายเออร์ เช่น จีนและเกาหลีใต้ รวมถึงประเทศคู่ค้าประกาศปิดประเทศชั่วคราว กระทบต่อการผลิตและการขนส่ง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4/2563 เซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต IC ประสบปัญหาการขาดแคลนรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์พุ่งสูงขึ้น โดยยอดจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกเติบโต 6.0% (เทียบกับปี 2562 ที่หดตัว 12.3%) ซึ่งเป็นผลจากวิกฤต COVID-19 ทำให้หลายประเทศใช้มาตรการ Lockdown ประชาชนต้องทำงานและเรียนที่บ้าน จึงทำให้สินค้าที่ต้องใช้ชิ้นส่วน electronics นั้นมีเพิ่มมากขึ้น
ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนแผงวงจรไฟฟ้า (IC) หรือ Chips ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 ซึ่งเป็นผลของอุปสงค์ในตลาดโลกที่เร่งตัวจาก ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องสื่อสารทางไกลจากการทำงานและเรียนที่บ้าน ท่ามกลางมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และ การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับเทคโนโลยี 5G และยานยนต์อัจฉริยะ ทำให้ความต้องการ IC เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งกำลังการผลิดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ และในกระบวนการผลิตเองยิ่งต้องคำนึงถึงผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ ในทุกภาคอุตสาหกรรมมีแผนกที่เรียกได้ว่ามีความสำคัญในกระบวนการผลิต นั่นก็คือ แผนกซ่อมบำรุง ที่ทำการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น เพราะฉะนั้นในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จึงจะต้องมีระบบการเพิ่มผลผลิต (Productivity) เข้ามาช่วยในการบริหารการทำงานซึ่งวันนี้จะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี(Just-in-time Production System: JIT)
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time Production System: JIT) คืออะไร?
JIT คือ ระบบวิธีการจัดการการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมทั้งลดการผลิตที่เกินความจำเป็น โดย JIT นั้นจะเป็นการผลิตให้กับลูกค้า โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดจำนวนการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิต โดยสิ่งของหรือบริการที่ผลิตในแต่ละขั้นตอนจะมีจำนวนพอดีสำหรับงานนั้น และไม่ต้องเสียเวลาหยุดชะงักจากการรอสิ่งของจากกระบวนการก่อนหน้า ซึ่งจะทำให้ไม่มีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ (Raw Material) งานระหว่างทำ (Work In Process) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) กลายเป็นศูนย์ โดยวัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ
1. ต้องการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)
2. ต้องการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Lead Time)
3. ต้องการขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Failures)
4. ต้องการขจัดความสูญเปล่าในการผลิต เช่น การผลิตมากเกินไป การรอคอย การขนส่งระยะทางที่มากเกินไป กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลังเก็บไว้มากเกินความจำเป็น การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน และผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
วิธีการปรับระบบ JIT นำมาใช้ในองค์กร
1.เครื่องจักร (Machine)
ในระบบการผลิตแบบ JIT จะเน้นไปที่การใช้เครื่องจักรขนาดเล็กๆ จำนวนมาก คุณภาพดีที่มีราคาไม่แพง เพื่อที่จะสามารถปรับไปตามความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งแตกต่างกับแบบดั้งเดิมที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เพราะต้องผลิตให้ทันกับสายพานการผลิตที่มีขนาดยาว
2. มีสมรรถนะสำรอง (Spare Capacity)
ในการผลิตแบบ JIT จะไม่ใช้เครื่องจักรเต็มกำลังการผลิต เพื่อสำรองไว้สำหรับการเปลี่ยนแปลง หากเกิดการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตในอนาคต เพราะในการผลิตแบบดั้งเดิมนั้น เราจะเน้นใช้เครื่องจักรที่ซื้อมาอย่างเต็มกำลังการผลิต โดยในบางครั้งหากเกิดการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ไม่สามารถดำเนินการผลิตใหม่ได้
3.ผลิตจำนวนน้อย (Small Batch Production)
ด้วยวิธีการผลิตแบบขึ้นกับความต้องการของลูกค้า ทำให้การผลิตแบบ JIT ไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าออกมาเกินความจำเป็น โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเปลี่ยนแปลงของลูกค้า และเนื่องจากผลิตออกมาเป็นจำนวนน้อย ทำให้ความเสี่ยงต่อการมีสินค้าคงเหลือจากการผลิตก็น้อยลงตามไปด้วย
4.มีความยืดหยุ่นทางด้านพนักงาน (Employee Flexibility)
ในการผลิตแบบ JIT พนักงานที่ปฏิบัติการในการผลิตแบบนี้ จะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูง โดยจะสามารถปรับเปลี่ยนไปทำงานได้หลากหลายรูปแบบงานตามสินค้าที่ลูกค้าต้องการ โดยการทำงานในลักษณะนี้ พนักงานจะต้องทำงานได้อย่างหลากหลายมากกว่าแบบดั้งเดิม แบบที่พนักงานคนเดิมจะสามารถทำงานได้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนไปทำงานอื่นได้
5.ผู้บริหารเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต (Managerial Involvement in Production)
ในวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ผู้บริหารมักจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการผลิต โดยปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการผลิตเดิม ซึ่งอาจจะแตกต่างกับวิธีการผลิตแบบ JIT เพราะในการผลิตแบบ JIT นั้นเน้นความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันที ทำให้ในกระบวนการผลิตอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจำเป็นเป็นอย่างมากที่ผู้บริหารจะต้องเข้าไปดูและกระบวนการผลิตอย่างใกล้ชิด
6.พนักงานต้องรับผิดชอบในการบำรุงรักษาระบบการผลิต (Employee Responsibility)
ในกระบวนการผลิตปัญหาหลักๆในการที่ทำให้ขั้นตอนล่าช้า หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ คือ เครื่องจักร เพราะเมื่อทำการผลิตอาจจะต้องมีการซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยตามขั้นตอนการผลิตแบบเดิม การซ่อมแซมเครื่องจักรนั้น จะต้องถูกส่งไปที่ส่วนกลางเพื่อแก้ไข ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ 80 % ของปัญหาเหล่านั้นเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ ที่สามารถแก้ไขได้ทันที ดังนั้นหากมีพนักงานที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างทันที จะช่วยลดเวลาไปได้เป็นจำนวนมาก
7.บำรุงรักษาแบบป้องกัน (Preventive Maintenance)
ในการผลิตแบบ JIT จะพยายามป้องกันงานที่เกี่ยวกับการบำรุงซ่อมแซม โดยวางแผนอย่างรอบคอบ ตั้งแต่การเลือกซื้อเครื่องจักรโดยเลือกถึงการใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดการเสียเวลากับการซ่อมบำรุงในอนาคต ซึ่งแตกต่างกับการผลิตแบบดั้งเดิมที่มองปัญหาเหล่านี้ว่าต้องเกิดอยู่ดี
8.ใช้ระบบป้อนวัตถุดิบแบบทันเวลา (Just-in-Time Supplier)
ระบบ JIT จะซื้อวัตถุดิบจากแหล่งเดียว โดยเลือกแหล่งที่มีคุณภาพดีที่สุดและพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้าในระยะยาว เช่น อาจมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ไม่มีวัตถุดิบเมื่อมีความต้องการของลูกค้าเข้ามา
ซึ่งในหลัก JIT นี้ จะเป็นการเข้าไปแก้ไขเครื่องจักรได้ทันเวลาโดยไม่รอ lead time หรือตัดขั้นตอนที่ทำให้เสียเวลาออกไปซึ่งการที่เราได้มีการวางแผนในการควบคุมชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่นำมาผลิตนั้นหากควบคุมได้ทันเวลา ก็จะทำให้เร่งการผลิตได้รวดเร็วและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นที่ต้องมีผู้ช่วยในการควบคุมเครื่องจักรให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปอย่างก้าวกระโดด จะดีกว่าหรือไม่ถ้าหาก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นี้ได้มีการเตรียมความพร้อมให้เครื่องจักรมีกำลังการผลิตที่สูงขึ้นจากหลักการ JIT จึงควรที่จะโฟกัสเรื่องการบำรุงรักษษแบบป้องกัน เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปกับการซ่อมบำรุง
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วย ระบบซ่อมบำรุง E-maintenance หรือ CMMS จาก Factorium CMMS
โปรแกรมซ่อมบำรุง ระบบ E-maintenance หรือ CMMS (computerized maintenance management system) ซึ่ง E-maintenance นี้เป็นซอฟต์แวร์การบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงแบบออนไลน์และทางเราได้พัฒนามาเป็น Factorium CMMS Application โดยสั่งการผ่าแอปพลิเคชัน ระบบ E-maintenance ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์จาก Factorium CMMS นี้จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นั้นได้เพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพราเรามีระบบการวางแผนงาน PM( Preventive maintenance) เพื่อให้เครื่องจัรมีกำลังการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลทำให้สามารถมีอัตราการเร่งการผลิตชิ้นส่วนมากขึ้น เพราะการที่ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นั้นเกิดการหยุดชะงักในการผลิต หรือ Machine breakdown ก็จะส่งผลกระทบกับในภาคเศรษฐกิจทั้งในประเทศและอาจจะแผ่ขยายไปทั่วโลก
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium
รายละเอียดเพิ่มเติมพี่ๆ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ
Factorium CMMS Application ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงของคนรุ่นใหม่
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw