พฤติกรรมอาการเสียของมอเตอร์เครื่องจักร ในอุตสาหกรรม

แอปซ่อมบำรุง CMMS

ซ่อมบำรุง มอเตอร์ เครื่องจักรในอุตสาหกรรม

ภาพ พฤติกรรมอาการเสียของมอเตอร์เครื่องจักร ในอุตสาหกรรม

แรงขับเคลื่อนในการผลิตนั้นสิ่งที่สำคัญที่อุตสาหกรรม โรงงานเป็นอันดับแรกสิ่งที่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการผลิตนั้นก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเครื่องจักรมั้นเข้ามาทำให้การผลิตนั้นผลิตสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น จะเป็นอย่างได้ถ้าแรงขับเคลื่อนที่สำคัญนี้หยุดการทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าคงจะกระทบเป็นวงกว่างอย่างแน่นอน การที่เครื่องจักรจะทำงานได้นั้นย่อมมีสิ่งที่ตัวขับเคลื่อนให้เครื่องจักนั้นทำงาน สิ่งนั้นเองก็คือตัวมอเตอร์ ที่ประกอบอยู่ภายในเครื่องจักร ความสำคัญของมอเตอร์มอเตอร์ นั้นถือว่าเป็นหัวใจหลักของการทำงานของเครื่องจักร และในการทำการซ่อมบำรุงรักษา เชิงป้องกัน หรือการทำ PM (Preventive Maintenance) นั้น จะเป็นการตรวจเช็กอาการ  ก่อนที่เครื่องจักรจะเสียและทำให้เกิดความเสียหาย เรื่องมอเตอร์ซึ่งมอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่าเป็นต้นกำลังทุกสิ่งอย่างจะหมุนและทำงานต่อไปได้ก็เพราะว่ามีมอเตอร์ ซึ่งถ้ามอเตอร์ไม่หมุนก็จะเป็นปัญหาใหญ่ 

ประเภทของ มอเตอร์

ตัวมอเตอร์มีอยู่ 2 ชิ้นหลักๆด้วยกันนั่นก็คือมอเตอร์  AC , DC  

1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Motor) หรือเรียกว่าเอ.ซี มอเตอร์ (A.C. MOTOR)

2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Motor ) หรือเรียกว่าดี.ซี มอเอตร์ (D.C. MOTOR)

ซึ่ง2 ตัวนี้จะใช้ inverter กับ converter เป็นตัวขับเคลื่อนให้มอเตอร์หมุน

อาการเสียของมอเตอร์มีอยู่ 4 ปัจจัย และวิธีการซ่อมบำรุง มอเตอร์

ภาพ 4 ปัจจัยที่ทำให้มอร์เตอร์เสีย

1. สาเหตุแรกเป็นสาเหตุที่น้อยที่สุดนั่นก็คือขั้วของสายไฟเปอร์เซ็นต์ที่มอเตอร์จะเสียจากสาเหตุนี้พบได้ 10% ซึ่งพบจากสาเหตุดังกล่าวน้อยที่สุด ในบางครั้งเรามีการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าต้องมีการขัน terminal ทุก1ปีซึ่งในบางครั้งในการขัน terminalนี้อาจจะทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากการขันไม่แน่นเกิดการ Arc ขึ้นที่ขั้วต่อสายไฟได้ฉะนั้นแล้วการขัน aut ที่เป็นการแก้ปัญหาอาจจะกลายเป็นปัญหาทำให้เกิดการ Phase loss หรือทำให้ไฟมาไม่ถึง ซึ่งทำให้มอเตอร์ไม่หมุนหรือหมุนช้าถ้ามี inverter และ converter ก็จะเป็นตัว pole ว่าตอนนี้ เฟส ไม่ครบ หรือ ไฟมาไม่ครบแม้กระทั่งมาจากในส่วนที่เป็นการเปลี่ยนมอเตอร์ การสลับมอเตอร์ตัวสแปร์มาใช้อาจจะเกิดปัญหานี้ได้เช่นกันแล้วในขันอัดนี้จำเป็นจะต้องมีวิศวกรเข้ามาตรวจสอบซึ่งจะเป็นการ checklist ว่าขันแน่นหรือเปล่าซึ่งถ้าตัวมอเตอร์ใหญ่ๆจำเป็นจะต้องใช้ประแจทอร์ค ในการขัน

2. สาเหตุที่ 2 คือ พัดลมระบายความร้อน ซึ่งสาเหตุนี้เป็นตัวการทำให้มอร์เตอร์เสียและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 15% ซึ่งพัดลมระบายความร้อนหลายๆคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญซึ่งอาจจะเกิดการละเลยโดยไปถึงการไม่ทำ PM ความจริงคือมอเตอร์นั้นอยู่ได้เพราะมีพัดลม ถ้าเกิดว่าพัดลมระบายความร้อนนั้นมีเส้นใย หรือมีสิ่งที่ไปพันมอเตอร์ก็อาจจะทำให้มอเตอร์ร้อนเนื่องจากใบพัดไม่ทำงาน ถ้ามีไดร์ฟหรือinverterและconverterก็ POLE ก่อนแต่ถ้าไม่มี มอเตอร์ก็จะไหม้ เนื่องจากมอเตอร์ร้อนจัดฉะนั้นแล้วการที่มอเตอร์ร้อนจัดนั้นซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดี ถึงแม้ว่าเราจะนำไปซ่อมหรือว่าเราจะนำไป DIY แล้วก็ตามแต่ว่าตัวขดลวดอาจจะเสื่อมสภาพไปแล้วก็ได้เพราะฉะนั้นจึงไม่แนะนำให้ DIY บ่อยๆซึ่งอาจจะทำให้สเตเตอร์นั้น เสื่อมสภาพเราจึงจำเป็นจะต้องดูแลใบพัดให้ดีสาเหตุนี้มี 15 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถเกิดอาการเสียขึ้นได้  อาการเสียของใบพัด จะมีการบ่งบอกอาการเสีย อะไรบ้าง ซึ่งโดยปกติแล้วเสียงจะเป็นการบอกว่ามอร์เตอร์นั้นปกติดีก็ซึ่งจะรันนิ่งๆ ยกตัวอย่างจากคอมพิวเตอร์ของเราก็มีพัดลมแรกมันก็จะนิ่งมากมันจะไม่ค่อยมีเสียงแต่พออยู่นานๆไปมันก็จะเริ่มมีเสียงแหลมขึ้นมา  ถ้าใบพัดเสียสมดุลคือใบพัดอาจจะหักซื้อใบพัดอาจจะแตกอาจจะทำให้เสียงที่เกิดขึ้นมานั้นไม่ปกติทำนองเดียวกันเสียงก็จะมาก่อนซึ่งถ้าได้ยินเสียงที่ไม่ปกติมาก่อนแล้วและถ้ายังไม่เริ่มการแก้ไขมันก็จะหยุดแบบทันทีทันใดซึ่งเราก็จะเรียกว่าการเกิดอาการBreakdownเกิดขึ้น

วิธีการแก้ไขเบื้องต้นซึ่งถ้ามีวันที่ทำ PM (Preventive Maintenance) หรือ ว่าวัน overhaul ต้องหยุดและทำการเป่าดูใบพัดว่ามีเส้นใยหรือว่ามีอะไรไป เกี่ยวไปพันอยู่หรือเปล่า

3. สาเหตุที่ 3 ก็คือในส่วนของขดลวดซึ่งการมีปัจจัยอยู่ 25% ที่จะทำให้มอเตอร์เสียได้ โดยขดลวดเสียเองได้เหมือนกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากตัววานิชที่เคลือบมอเตอร์นั้นเสื่อมสภาพทำให้เกิดการช็อตกันระหว่างเส้นขดลวดต่อเส้นขดลวดก็เป็นไปได้แต่ว่า เสื่อมสภาพของวานิช ค่อนข้างนานอาจจะมีโอกาสเสียอยู่ที่ 5 ปีเป็นอย่างน้อยฉะนั้นแล้วจึงไม่ค่อยพบว่าตัวขดลวดนั้นเสื่อมสภาพบ่อยนักไม่ค่อยพบก่อน 5 ปีจะไม่ค่อยพบอาการนี้จึงถูกได้ขึ้นแค่ 25% เช่นกัน การบำรุงรักษาขดลวดนี้เรียกว่าเป็นการทำ overhaul เราก็จะนำมอเตอร์ไปoverhaulซึ่งก่อนที่เราจะoverhaulเราจึงต้องมีการตรวจเชคสภาพ เมื่อมันเกิดการเสื่อมสภาพในทุกๆเดือนหรือทุกๆ 3 เดือนเราจะมีการวัดตัวที่เรียกว่าเมคโอมห์ คือการวัดฉนวนของมอเตอร์อยู่แล้วถ้าค่าความต้านทานของมอเตอร์น้อยลงนั้นก็แสดงว่าขดลวดเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ถ้าทำการเมกโอห์มแล้วเราก็จะนำมอเตอร์นี้ไปชุบวานิชใหม่และทำการ overhaul ซึ่งในการoverhaul นี้ก็จะเป็นการเคลือบฉนวนแล้วก็เปลี่ยนแบริ่งหัวท้ายคือ non drive กับ driveก็คือส่วนของการ overhaul 

4. ต่อมาในปัจจัยที่ 4 คือในเรื่องของแบริ่งเราพบอาการเสียของแบริ่ง(Bearing)นี้บ่อยมากโดยมีอัตราการเสียอยู่ที่ 50%ซึ่งมอเตอร์ส่วนใหญ่เสียมาจากแบริ่งแตกแบริ่งแตกเกิดจากอะไรได้บ้าง แบริ่งแตกนั้นเกิดขึ้นมาได้จากหลายปัจจัยซึ่งหนึ่งในนั้นก็คืออายุการใช้งานของแบริ่ง ซึ่งอายุการใช้งานของแบริ่ง (Bearing)โดยเฉลี่ยแล้วหลังจากที่เราได้มาใหม่ๆ ไม่ว่าจะมาจากการเปลี่ยนของช่าง อายุของแบริ่ง (Bearing)ไม่ว่าจะเป็นตัวเก่าหรือตัวใหม่ตามคู่มือการรักษามอเตอร์ระบุไว้ว่ามีอายุการทำงานอยู่ที่ 30,000 ชั่วโมง จะตกอยู่ที่ประมาณ 3 ปี 4 เดือนฉะนั้นแล้วทุก 3 ปี 4 เดือนจะต้องทำการเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่หรือว่าจะเป็นการนำมอเตอร์สแปร์ มาใช้ก็แล้วแต่แล้วก็นำมอเตอร์ที่เราใช้งานแล้วนำไปทำการยกเครื่องใหม่ หรือ overhaul  ใหม่ นั่นคือการเปลี่ยนแบริ่ง (Bearing)ใหม่แล้วนำกลับเข้ามาใช้และถ้าหากว่าอยากจะป้องกันไม่ให้ตัวแบริ่ง เกิดการเสีหายหรือว่าชำรุดสามารถทำการเปลี่ยนในทุกๆ 3 ปีได้เลย เพราะในตัวแบริ่งนั้นจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่  3 ปีแต่ถ้าหากในระหว่างนั้นเกิดอาการผิดแปลกขึ้นมาก็จะเป็นการซ่อมบำรุงไว้สำหรับตัวแบริ่งเช่นเดียวกัน

การซ่อมบำรุงแบริ่ง นั้นนั้นก็จะมีอุปกรณ์วัดที่เรียกว่าvibration และ Acoustic

ภาพ การวัดการสั่นสะเทือนของ Bearing

vibration  ก็คือการวัดสั่นสะเทือน ส่วน Acoustic จะเป็นการวัดค่าด้วยเสียง

ซึ่งในทั้งอุปกรณ์วัดทั้ง2 แบบนี้จะแนะนำให้วัดทุกเดือนและจำป็นที่จะต้องมีการจดบันทึก หรือจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลถ้าไม่มีจัดการจัดเก็บข้อมูลก็จะเกิดการสูญหายของข้อมูลเนื่องจากไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ดีพอ จึงจำเป็นจะต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดี เพื่อให้ข้อมูลนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสามารถ monitor วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นช่วงช่วงๆไปคือการวิเคราะห์ vibration กับacousticเพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ แต่ทั้งนี้ฃการวัดด้วย vibration และ acousticเป็นแค่การพยากรณ์ซึ่งหมายความว่าถ้าเราวัดวันนี้แล้วพรุ่งนี้มอเตอร์อาจจะเกิดความผิดปกติอย่างทันทีทันใดก็ได้แต่ควรจะวัดดีกว่าไม่วัดซึ่งการวัดความแม่นยำก็จะอยู่ที่ 80%พอเราไม่วัดเลยก็ลำบากเรียกได้ว่าเป็นการทำงานแบบหลับหูหลับตา อย่างน้อยเราควรวัด vibration หรือว่า acoustic ทุกเดือนเพื่อเก็บ records ของพฤติกรรมการทำงานของมอเตอร์

และนี่คือ4อาการหลักๆที่เราต้องเจอสำหรับเครื่องมอเตอร์ สำหรับช่างมือใหม่ควรที่จะทำงานด้วยจิตวิญญาณโดยเป็นการการพยายามสังเกตด้วยการฟังและต้องฟังในระยะที่ปลอดภัยเดินสังเกตดูเครื่องจักรบ่อยๆและหมั่นทำ PM (Preventive Maintenance) อย่างเคร่งครัดอาจจะรี ในทุก 3 เดือน หรือว่าถ้ามี auto kid ก็สามารถติดตั้งได้เลยเมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วต้องดูว่ามันอัดเข้าไปได้พอดีไม่ใช่ว่าอัดแล้วปลิ้นเยิ้มอยู่ข้างๆซึ่งขั้นตอนนี้ก็ต้องสังเกตด้วยตาอีกเช่นกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพในส่วนนี้ก็คือการบำรุงรักษามอเตอร์แบบทั่วไปๆ

ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีเครื่องมือ ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการวัดค่า เครื่องจักรโดยจะเป็นในเรื่องของการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อให้เครื่องจักรนั้นส่งข้อมูลให้กับระบบคอมพิวเตอร์

ภาพ ยุคอุตสาหกรรม4.0 ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น

ในปัจจุบันมักจะมีการใช้ไอโอทีหรือ internet of  thingsเข้ามาช่วยapplication ต่างๆ ก็จะมาต่ออุปกรณ์ vibration มาเข้าData logger มาโชว์ที่ SMI หรือมาโชว์ที่สกาน่าก็แล้วแต่ซึ่งจะเป็นการแสดงข้อมูลแบบreal time ทุก sec หรือทุกวินาที โรงงานที่เป็นโรงงานระดับใหญ่ๆหรือระดับเวิลด์คลาส ก็มักจะนิยมใช้วิธีนี้โดยจะนำเซ็นเซอร์ไปยึดติดกับตัวมอเตอร์ซึ่งตัวเซ็นเซอร์ที่นำมายึดติดกับมอเตอร์นี้ก็จะเป็นสำหรับมอเตอร์รุ่นนั้นโดยเฉพาะ อย่างตัวมอเตอร์ที่มีไลน์การผลิตตั้งแต่ 10 ปีก่อนหน้านั้นเราก็สามารถเจาะยึดได้เหมือนกันแล้วก็มีเซ็นเซอร์ขายเพื่อทำการยึดกับตัวมอเตอร์ได้หรือว่ายึดกับเกียร์ได้ ซึ่งในตอนนี้Factorium ของเราได้ร่วมมือกับ บริษัทมิตซู ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน และล่าสุด Factorium ของเราได้ผลิตสินค้า และบริการใหม่ที่ชื่อว่า machine link ซึ่งเป็นตัวกลางโดยการเชื่อมต่อข้อมูลของเครื่องจักรเข้ามาในระบบซึ่งในกรณีที่เครื่องจักรมีปัญหา สามารถมีการแจ้งเตือน alert ผ่านระบบได้ และสามารถเปิดใบงานซ่อมได้เลย

ผู้ช่วยงานซ่อมบำรุง Factorium CMMS

ภาพ ผู้ช่วยงานซ่อมบำรุง Factorium CMMS

โปรแกรมซ่อมบำรุง Factorium CMMS (computerized maintenance management system) หรือ E-Maintenance คือ งานระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงแบบออนไลน์ที่นำระบบซอฟต์แวร์มาพัฒนาเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องจักร/เครื่องมือ อุปกรณ์การใช้งานต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือจัดการ ควบคุม วัดผล และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบโดย E-Maintenanceนี้เหมาะสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม ท่าศยานอากาศ ฯลฯ โปรแกรมซ่อมบำรุง Factorium CMMS นี้ได้พัฒนาระบบ E-Maintenance และ CMMS ซึ่งเราได้ออกแบบเพื่อเป็นแอปพลิเคชันการแจ้งซ่อม ในงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร งานซ่อมแซมอาคาร สำนักงาน และมีโปรแกรมบริหารงานซ่อมบำรุง งานซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM (Preventive Maintenance) ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยได้นำหลักการของ TPM (Total Productive Maintenance) เข้ามาใช้ในการเพิ่ม OEE (Overall Equipment Effectivness) หรือเพิ่มประสิทธิผลให้การทำงานของเครื่องจักรมีประสิทธิภาพในการผลิต Factoriumเราเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้มากขึ้นถึง 20%  พร้อมกับฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้กับงานของคุณ โดยมีฟังก์ชันการแจ้งเตือนแบบ realtime เรามีจุม่งเน้นในการพัฒนาเพื่อให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมได้มีแรงขับเคลื่อนและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ข้งล่างนี้ได้เลย

Factorium CMMS Application ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงของคนรุ่นใหม่

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw