การสอบเทียบ อุตสาหกรรมอาหาร
สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของคนเราที่จะดำรงชีวิตรอดแน่นอนว่าคงหลีกเลี่ยงไม่พ้นปัจจัย4 ที่ถือว่าเป็นสิ่งพื้นฐานของคนเรา “อาหาร” เป็นปัจจัย1 ใน 4 ที่คนเราจำเป็นต้องบริโภคเข้าไปในร่างกายตลอดจนนำเอาสารอาหารเหล่านั้นเหข้ามาใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งอัตราการบริโภคอาหารนั้นมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องด้วยปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางด้านอาหารที่มากขึ้นจนทำให้อัตราการส่งออกของประเทศนั้นมีความเจริญก้าวหน้าตลอดจนส่งผลทำให้เศรษฐกิจโดยรวมในปรเทศ GDP นั้นเพิ่มงสูงขึ้นเพราะเรื่อง “กิน” คือเรื่องใหญ่ของมนุษย์ ตลาดของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลกจึงมีมูลค่าสูงถึง 5,943,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้น 2.9% ในปีนี้จนมีมูลค่าแตะ 6,111,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปี 2564 นี้ มีการคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมอาหาร จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 12% และจะมีมูลค่าราว 1.08 -1.10 ล้านล้านบาท เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความต้องการเลือกสินค้าอาหาร หรือวัตถุดิบ เพื่อมาประกอบอาหารเองเพิ่มมากขึ้น เพราะเนื่องด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่มีการ Work form home และการที่กลัวการเสี่ยงการติดโรคระบาดจึงจำเป็นจะต้องทำอหารเพื่อรับประทานเอง เพื่อลดการสัมผัสจากการออกไปสถานที่ข้างนอก
การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ปรุงสุก สะอาด และปลอดภัย จึงเป็นปัจจัยเพิ่มเข้ามาในการเลือกซื้ออาหาร รวมถึงช่องทางในการเลือกซื้อ ผู้คนต่างหลีกเลี่ยงการเดินทาง ที่ต้องสัมผัสกับผู้คนและมลภาวะต่าง ๆ รอบตัว การสั่งอาหารรูปแบบ Delivery จึงกลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งแบรนด์ใหญ่และเล็ก ต่างปรับตัวเปิดรับวิถีการทำธุรกิจใหม่ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์กันอย่างเต็มกำลัง ส่งผลให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศ ยังมีแนวโน้มการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับต่อความต้องการของผู้บริโภคที่นับวันมีอัตรการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นและสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุดนั่นก็คือการที่จะต้องควบคุมคุณภาพของอาหาร
หลักการ 4 M 1 E ในการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
ในกระบวนการผลิตจะมีขั้นตอนควบคุมการผลิตที่เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณท์ให้เกิดกับลูกค้า ดังนั้นในกระบวนการผลิตจะเน้นเรื่องของความสามารถในการควบคุมการผลิต โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมให้การผลิตมีคุณภาพที่ดี มีมาตราฐาน สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย ในการจัดการกับปัจจัยหรือตัวแปรในการผลิต โดยทั่วไปแล้วมักจะให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยหลักที่สำคัญ 5 กลุ่มได้แก่ Man,Material,Method ,Machine และ Environment หรือที่มักนิยมเรียกว่า 4M 1E เพราะปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตได้ รายละเอียดปัจจัยในแต่ละกลุ่ม
1. ทรัพยากรมนุษย์ (Man) คือ คนงาน พนักงาน หรือผู้ปฎิบัติงานทั้งหมด เพราะการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคน ทั้งในดานความคิด การวางแผน การดำเนินการต่างๆหรือจัดการทำให้เกิดการผลิตหรือกิจกรรมทางธุรกิจทุกรูปแบบ การพัฒนาคนจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
2. วัสดุ (Material) คือ มีส่วนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เพราะทุกธุรกิจต้องอาศัยสิ่งที่ได้ในกลุ่มนี้มาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต ดังนั้นต้องรู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพสามารถมีเพียงพอในการผลิต บริหารจัดการให้ได้ต้นทุนที่ต่ำในการผลิต และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด
3. เครื่องจักร (Machine) คือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการผลิตหากขาดเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ อาจไม่สามารถทำการผลิตได้ในปริมาณที่มากหากขาดเครื่องมือเครื่องจักรมาช่วย เพราะปัจจัยในกลุ่มนี้จะเป็นส่วนที่มาช่วยเติมเต็มในส่วนที่ความสามารถของมนุษย์ไม่สามารถทำได้เช่น ระยะเวลาทำงานที่ต่อเนื่อง ความถูกต้องแม่นยำ ความเร็วในการผลิต ความสม่ำเสมอที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นจะเห็นว่าหลายครั้งที่ความสำเร็จในการผลิตจะตัดสินได้จากปัจจัยในกลุ่มนี้ หรือกล่าวได้ว่าใช้ปัจจัยในกลุ่มนี้เป็นตัวที่ใช้ชี้ขาดความสำเร็จของงานได้เลย
4. วิธีปฏิบัติงาน (Method) คือ วิธีการ ขั้นตอน หรือขบวนการในการทำงานหรือการผลิต ซึ่งปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต่อมา เพราะความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมที่มีนั้น จะต้องมาจากการปฏิบัติงานและขั้นตอนของการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจที่ดีต้องมีการจัดการวางแผน การติดตาม การตรวจสอบ และการควบคุมการผลิตหรือการดำเนินกิจกรรม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพ
5.สภาพแวดล้อม (Environment) ใช้กับสถานีงาน, อุณหภูมิ, (อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์), อุปกรณ์ที่ไวต่อความชื้น, เครื่องปรับอากาศ, ความชื้น, การสั่นสะเทือน, แรงดันอากาศ, สภาพแวดล้อมในห้องสะอาด, ความต้องการฝุ่นฟรีเป็นต้นนี่เป็นส่วนที่ค่อนข้างเล็ก แต่สิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจะอยู่ภายใต้หมวดหมู่นี้ ปัจจัยนี้เป็นส่วยสำคัญในการปฏิบัติงานของพนักงาน
การสอบเทียบ อุตสาหกรรมอาหาร
โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกระบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยท่อลำเลียงวัตถุดิบไปยังเครื่องจักรต่างๆ รวมถึงเครื่องมือวัดและระบบควบคุม เพื่อยืนยันความเครื่องมือวัดที่วัดอยู่นั้นสามารถวัดได้อย่างถูกต้อง จำเป็นที่จะต้องมีการสอบเทียบ (Calibration) โดยหลักการง่ายๆ คือการนำเครื่องมือวัดที่เราใช้งาน ไปวัดค่าเปรียบเทียบกับตัวเครื่องมือวัดที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำที่สูงกว่า เพื่อได้จะทราบว่า เครื่องมือวัดของเรานั้น ยังคงมีความเที่ยงตรงและแม่นยำ
การสอบเทียบเครื่องมือวัด (CALIBRATION) คืออะไร
การสอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นกระบวนการยืนยันความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องมือวัด ด้วยการทดสอบเครื่องมือในห้องปฏิบัติการโดยเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์สูง เมื่อเครื่องมือวัดผ่านการสอบเทียบจะได้หลักฐานเป็น “ใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด” ที่แสดงผลจากการสอบเทียบ และความไม่แน่นอนของการวัดที่สามารถสอบกลับสู่หน่วย SI Unit ซึ่งเป็นมาตรฐานการวัดโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้
อุตสาหกรรมอาหาร ภายในห้องครัวสำหรับจัดเลี้ยงหรือห้องครัวเชิงพาณิชย์ผลหากมีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่ไม่ได้รับการสอบเทียบอาจเป็นไปได้ว่าอุณหภูมิของอาหารซึ่งมีความสำคัญอาจไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลให้:
1) มีปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหาร
2) การละเมิด HACCP และลูกค้าป่วย
3) เจ้าหน้าที่อนามัยสิ่งแวดล้อมแจ้งปิด
4) การดำเนินการทางกฎหมาย
ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจ ค่าชื่อเสียงที่เป็นไปได้เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของการสอบเทียบแบบธรรมดาสองจุดต่อปีหมายความว่ามักไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่จะละเลยการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิอาหาร
ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม
ในการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิในกระบวนการผลิตอุปกรณ์ใดๆ ที่ใช้ควรได้รับการปรับเทียบในหลายๆ จุดตลอดช่วงการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าผลการวัดที่เชื่อถือได้ สำหรับสัญญาณเตือนภัยและระบบที่สำคัญ ความล้มเหลวในการสอบเทียบหรือการสอบเทียบที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บการเสียชีวิต
รายละเอียดเครื่องมือวัด
ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ระบุเครื่องมือวัด จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิง เช่น รหัสประจำตัวเครื่อง (Tag) ยี่ห้อ รุ่น รหัสเครื่อง ย่านการวัด หน่วยที่วัด ซึ่งตัวแอพ Factorium สามารถกำหนดข้อมูลได้ละเอียดเพียงพอต่อการใช้งาน และยังสามารถกำหนดระยะเวลา รอบการสอบเทียบ และระยะเวลาการแจ้งเตือนในระบบก่อนจะถึงวันสอบเทียบจริง ก่อนที่เลยระยะเวลา ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นรายละเอียดของเครื่องจักรหรือเครื่องมือวัดยังช่วยให้เราจัดเตรียมเรื่องอะไหล่สำรอง ทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ช่วยในการวางแผนการซ่อมบำรุงได้อีกด้วย
ขอบเขตการสอบเทียบ
การสอบเทียบเครื่องมือวัด คือการนำเครื่องมือวัดที่ใช้งาน (Instrument) นำมาวัดค่าเปรียบเทียบกับเครื่องมือวัดมาตรฐาน (Standard) เราจะต้องกำหนดขอบเขต หรือจุดที่จะสอบเทียบ เช่น ที่ 0% 25% 50% 75% 100% ของการวัด และตัวแอพ Factorium สามารถกำหนดค่า การตั้งค่าเกณฑ์การยอมรับ MPE (Maximum Permissible Error) ของแต่ละจุดที่ใช้สอบเทียบได้ โดยตัวระบบสามารถประเมินผลการสอบเทียบเบื้องต้นได้ว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน หากไม่ผ่าน ยังมีเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถหาค่าแก้ (Correction) หาต้องการใช้เครื่องมือวัดตัวนี้ต่อไปได้อีกด้วย
การตรวจรับรอง Audit
ในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีการตรวจรับรองระบบ ตามมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO จะมีหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญนั้นคือ การสอบเทียบเครื่องมือวัด โดยผู้ตรวจจะเรียกหาเอกสาร หรือหลักฐานการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ใช้ภายในโรงงาน ว่าเป็นไปตามกรอบระยะเวลาหรือไม่ และผลการสอบเทียบ นั้นจะบ่งบอกว่า ควรที่จะใช้เครื่องมือวัดนี้ต่อไปไหม ระบบการจัดเก็บเอกสารโดยทั่วไปเป็นกระดาษเข้าแฟ้ม เมื่อผู้ตรวจเรียกหาเอกสารที ก็เปิดหาเอกสารที แต่ด้วยระบบของ Factorium สามารถจัดเก็บเอกสารทั้งผลการสอบเทียบและใบรับรองผลการสอบเทียบได้ และการเรียกค้นหาข้อมูลทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่กรอกรหัสเครื่องจักรเท่านั้น ก็จะได้ข้อมูลที่ผู้ตรวจสอบต้องการในทันที ซึ่งตัวระบบของ Factorium นั้นสามารถใช้ในการตรวจรับรองระบบ ISO ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องใช้การเปิดแฟ้มเอกสารดังเช่นเดิม
ดังนั้นการสอบเทียบเครื่องมมือวัดในอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในอุตสหกรรมอาหาร เพราะเป็นการที่ช่วยให้เครื่องมือในอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีมาตรฐานในเครื่องของการควบคุมคุณภาพของการผลิตได้เป็นอย่างดีเนื่องจากในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคให้ความสำคัณเกี่ยวกับคุณภาพของการอาหารเป็นอย่างมากการที่อุตสาหกรรมที่นำเครื่องมือมาช่วยทำให้ประหยัดเวลาก็จะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมนั้นๆ เพราะจะช่วยให้ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารนั้นมีคุณภาพของสินค้าและประหยัดเวลาช่วยทำให้ผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผูบริโภค
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ได้เลย
Factorium CMMS Application ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงของคนรุ่นใหม่
Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw