อุตสาหกรรมสีเขียว การเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืนแบบรักษ์โลก

เครื่องจักรโรงงาน ระบบจัดการงานซ่อมบำรุง CMMS แอปซ่อมบำรุง โปรแกรมซ่อมบำรุง ซ่อมโรงงาน ซ่อมเครื่องจักร แผน PM Computerized Maintenance Management Systemระบบจัดการงานซ่อมบำรุง CMMSฟ แอปซ่อมบำรุง โปรแกรมซ่อมบำรุง ซ่อมโรงงาน ซ่อมเครื่องจักร แผน PM Computerized Maintenance Management System Green Industry

อุตสาหกรรมสีเขียว คืออะไร ? “อุตสาหกรรมสีเขียว คือ อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบัน Net Zero และความยั่งยืนเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น หลายๆ ธุรกิจและโรงงานต้องปรับตัวให้เข้ากับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

เพื่อให้สามารถอยู่รอดในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะมีความสอดคล้องกับแนวทาง Net Zero และการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

ความสำคัญของอุตสาหกรรมสีเขียว

อุตสาหกรรมสีเขียวมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศที่กำลังเกิดขึ้น การผลิตและใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นพิษ เป็นต้น เป็นตัวช่วยในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร

การใส่ใจเรื่องอุตสาหกรรมสีเขียว ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

อุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

ในประเทศไทย การใส่ใจเรื่องอุตสาหกรรมสีเขียวกำลังเป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น และความต้องการของผู้บริโภคที่มีความสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐได้มีการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวผ่านนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมให้กิจการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการส่งเสริมให้กิจการใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นพิษ

อีกทั้งยังมีการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่สำคัญ เพื่อให้พวกเขาเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมสีเขียว และส่งเสริมให้พวกเขาดำเนินกิจการอย่างยั่งยืนที่สนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนารด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

  • การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ

กระนั้นแล้ว.. จะพัฒนาองค์กรให้เข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ได้อย่างไรบ้าง?

การพัฒนา 5 ระดับสู่องค์กรสีเขียว

พุ่งตรงไปที่การพัฒนา 5 ระดับสู่อุตสาหกรรมสีเขียว

กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำข้อกำหนดอุตสาหกรรม “เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผลประกอบการอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” เพื่อเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวไว้ 5 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment)

ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ การแสดงความมุ่งมั่นในรูปแบบของนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 ต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

ข้อ.2 ต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ

ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity)

ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดำเนินกิจกรรมตามนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่กำหนดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและสำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้ โดยมีข้อกำหนด คือ

ข้อ.1 กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และการสื่อสารนโยบายด้าน สิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรรับทราบ

ข้อ.2 จัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอน การปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาแล้วเสร็จ

ข้อ.3 นำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดผล

ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) 

ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตาม ประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ.2 วางแผนด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ.3 นำไปปฏิบัติ

ข้อ.4 ติดตาม ประเมินผล

ข้อ.5 ทบทวน รักษาระบบ

ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) 

วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกร่วมกันในการสงวนและรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีและให้ความร่วมมือร่วมใจในทุกด้านของการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดำเนินการต่างๆจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระดับที่ 3 ทุกข้อ

ข้อ.2 สร้างวัฒนธรรมองค์กรตามแนวทาง SR (ISO 26000)

ข้อ.3 รายงานเผยแพร่ต่อสาธารณะ

ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network)

เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การขยายขอบเขตของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวจากภายในองค์กรเองออกสู่ภายนอก ตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย โดยมีข้อกำหนดดังนี้

ข้อ.1 ต้องจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและมีวัฒนธรรมสีเขียวตาม ระดับที่ 4 ทุกข้อ

ข้อ.2 ส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับ supply chain ชุมชน และบริโภค

ข้อ.3 รายงานความสำเร็จเผยแพร่ต่อสาธารณะ

(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ : นายช่างมาแชร์)

เป้าหมายของไทยอยู่ตรงไหน?

เป้าหมายของไทยคือการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมของมนุษย์ให้ถึงระดับที่ต่ำสุด โดยการใช้นโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่ง การเกษตร และกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

วิธีการในการบรรลุเป้าหมาย

เพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายอุตสาหกรรมสีเขียวจำเป็นต้องมีการดำเนินการในหลายด้าน เช่น

1. พลังงานสะอาด

การพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ ลม และน้ำ เพื่อลดการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

2. การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม

การพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง

3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในทุกๆ ส่วนของสังคม เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง การออกแบบตึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้พลังงานในการระบายอากาศเย็นหรือร้อน

ก้าวสู่อุตสาหกรรมสีเขียวไปพร้อมระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ FACTORIUM CMMS

เพราะเราคือระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ระบบนี้ช่วยให้โรงงานของคุณสามารถลดการใช้กระดาษได้มากถึง 100% โดยเปลี่ยนเป็นการบันทึกข้อมูลและรายละเอียดการซ่อมบำรุงบน Cloud ในรูปแบบออนไลน์แทนการใช้กระดาษ

ประโยชน์ของ FACTORIUM CMMS

ที่ช่วยการเริ่มต้นเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวภายในองค์กรของคุณดำเนินการต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้:

  • ลดการใช้กระดาษ: ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์จาก FACTORIUM CMMS ช่วยให้คุณไม่ต้องพิมพ์และบันทึกข้อมูลการซ่อมบำรุงบนกระดาษอีกต่อไป ทั้งนี้จะช่วยลดการใช้กระดาษและสิ่งพิมพ์ในโรงงานของคุณ

  • ประหยัดเวลา: FACTORIUM CMMS ช่วยลดเวลาในการจัดเก็บและค้นหาข้อมูลการซ่อมบำรุง คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้ทันทีและสามารถติดตามความคืบหน้าของงานได้อย่างรวดเร็ว

  • เพิ่มประสิทธิภาพ: การใช้ระบบซ่อมบำรุงออนไลน์ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการซ่อมบำรุงในโรงงานของคุณได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดในการดำเนินงาน

  • แก้ไขปัญหาทันที: FACTORIUM CMMS ช่วยให้คุณสามารถรายงานปัญหาและข้อขัดข้องในการซ่อมบำรุงได้อย่างรวดเร็ว ทีมงานสามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาทันทีเพื่อลดอันตรายและช่วยให้การผลิตสินค้าไม่หยุดชะงัก

  • สำรวจข้อมูล: คุณสามารถใช้ FACTORIUM CMMS เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการซ่อมบำรุง เพื่อค้นหาแนวโน้มและปรับปรุงกระบวนการซ่อมบำรุงล่วงหน้าได้อย่างครอบคลุม
สแกน Qr Code เพื่อใช้งานฟรี 3 เดือนได้ทันที

เรามีทีมออกแบบรวมถึงติดตามประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า โดยร่วมพัฒนาการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดทุกครั้งที่มีการใช้งาน  (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://factorium.tech/article-maintenance-develop/) เพราะ เป้าหมายของเรา คือ การได้เป็นหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าของเราสามารถวางแผนและทำงานด้าน Preventive Maintenance ได้ง่ายขึ้น ดีขึ้น 100% เครื่องจักรทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลด Downtime ของเครื่องจักร ช่วยให้ทีมซ่อมบำรุงทำงานได้ง่าย Happy มากขึ้น กดเพื่อทดลองใช้งานฟรี! 3 เดือนได้เลยค่ะ

ทดลองใช้งานฟรี! 3 เดือน

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw